วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ชัชชาติ เร่งแก้ปัญหารถสาธารณะ สั่งรถเมล์-รถไฟ เน้นกฎระเบียบ เพิ่มประสิทธิภาพบริการ
วันที่ 19 สิงหาคม 2556 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์รายการ “คิดตามข่าว” ช่วงข่าวค่ำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ (ช่อง 11 ) ถึงการลงพื้นที่ทดลองใช้บริการระบบโดยสารสาธารณะในช่วงที่ผ่านมาว่า ได้ลงทดลองขึ้นรถเมล์สาย 8 ที่ได้ข้อมูลมาจากเฟซบุ๊กว่ารถเมล์สาย 8 เป็นสายที่ควรปรับปรุงมากที่สุด ซึ่งก็ได้พูดคุยสอบถามประชาชนถึงการให้บริการ เพราะรถเมล์นั้นนับได้ว่าเป็นคำตอบสุดท้ายของประชาชน ซึ่งก็พบว่าในส่วนของรถเมล์ร่วมบริการนั้นต้องเน้นเรื่องกฎระเบียบต่างๆมากขึ้น ซึ่งถ้ายังไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดก็จะมีบทลงโทษ ตั้งแต่ปรับ จนกระทั่งยึดใบอนุญาต เพื่อให้รู้ซึ้งถึงกฎระเบียบที่ต้องดำเนินการ
ส่วนการทดลองโดยสารรถไฟก็พบว่ารถไฟนั้นยังมีการเสียเวลามาก ได้พบภาพคนเมาบนรถ ความสะอาด และห้องน้ำที่ชำรุด ซึ่งทั้งหมดก็คือคุณภาพของการบริการ ได้พบแม้กระทั่งการจำหน่ายสุราบนรถไฟ โดยเบื้องต้นก็ได้ดำเนินการกำชับในเรื่องเหล่านี้ว่าทางรถไฟจะต้องดำเนินการให้เรียบร้อยและต้องทำให้ดี เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้ผู้โดยสารปกติได้รับความเดือดร้อน และได้พูดคุยกับบุคลากร ซึ่งงานบริการนั้นบุคลากรถือว่ามีความสำคัญก็พบว่าพบปัญหาเรื่องบุคลากรไม่เพียงพออยู่ด้วย
สำหรับร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... หรือ พ.ร.บ.โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเรามีโครงการทั้งสิ้น 53 โครงการ ซึ่งจะเป็นตัวในการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งของประเทศทั้งหมดต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม - See more at: http://www.insidethaigov.com/index.php?r=content/view&id=825#sthash.ZYQ1KbU6.dpuf
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
นายกฯเชิญชวนประชาชนร่วมชมขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค
นายกฯ กล่าวถึง การจัดซ้อมขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคในงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ว่า ทางกองทัพเรือทำการซ้อมมาแล้ว 8 รอบตั้งแต่ต้นปี วันนี้มาชมก็เป็นการซ้อมใหญ่ ถือโอกาสนี้เชิญชวนพี่น้องประชาชน มาชมการซ้อมใหญ่ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ที่จะมีอีกครั้งในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งสามารถชมได้ตลอดเส้นทางเจ้าพระยา โดยมีพระราชพิธีจริงในวันที่ 9 พฤศจิกายน
นายกฯ กล่าวว่า ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ยิ่งใหญ่มาก มีเรือทั้งหมด 51 ลำ ขณะที่ทางผู้บัญชาการทหารเรือก็เตรียมพร้อมทุกอย่างเช่น เรื่องความปลอดภัย ผู้ที่ไม่สามารถมาชมได้ ก็สามารถรับชมทางโทรทัศน์ได้ แต่ถ้าอยากได้ชมบรรยากาศจริงก็จะรู้สึกประทับใจ ได้บรรยากาศมากกว่า ดิฉันเองได้มีโอกาสมาชมวันซ้อมใหญ่ ก็ยังรู้สึกตื่นเต้นมาก
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.473388476038946.114901.105044319540032&type=1
วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555
รัฐบาลไทย จับมือเวียดนาม หนุน ข้าว-ยางพารา สู่ตลาดโลก
27 ตุลาคม 2555 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ประจำวันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม 2555 เป็นการสัมภาษณ์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในเรื่องของผลการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ที่จ.สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช การประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และการเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-เวียดนาม โดยมี ธีรัตน์ รัตนเสวี ดำเนินรายการ
นายกฯกล่าวถึง การเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตีรร่วมไทย-เวียดนามว่า เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมระหว่างไทยกับเวียดนามอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 การหารือเป็นการประชุมภาพรวมทั้งนายกฯไทยและเวียดนามกล่าวเปิด หลังจากนั้นก็มีประชุม 3 กลุ่ม กลุ่มการเมืองและความมั่นคง กลุ่มเศรษฐกิจ และกลุ่มสังคมและวัฒนธรรม เป็น 3 กลุ่มตามเสาหลักของอาเซียน
ส่วนคณะรัฐมนตรีก็จะคุยกันในแต่ละกลุ่ม แล้วกลับมาปรุะชุมในกลุ่มใหญ่อีกครั้ง ในส่วนของความมั่งคงก็จะพูดถึงความร่วมมือในการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหา ยาเสพติด ปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะไปร่วมประชุมด้วย นอกจากนั้น ก็จะพูดต่อเรื่องของเรือประมง เราก็จะพูดถึงว่าจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อลดข้อพิพาทระหว่างกัน ก็จะมาตกลงแนวทางกัน ในเรื่องของเศรษฐกิจมีข้อหารือทวิภาคี ที่ผ่านมาเห็นชอบในการเพิ่มเป้าหมายการค้าระหว่างกัน 20% ระหว่างปี 55-58 เราก็จะดูว่าจะร่วมมือกันอย่างไร ครั้งนี้จะพูดถึงเรื่องข้าวที่เป็นรูปธรรม มีประเทศที่เป็นผู้ผลิตข้าวลงนามจัดตั้งสมาพันธ์โรงสีข้าวและผู้ค้าข้าวอาเซียน
ในเรื่องของการเชื่อมต่อ ส่วนของเวียดนามก็จะมีการเชื่อมฝั่งตะวันออกไปตะวันตก หรือที่เรียกกัน R9 เชื่อมต่อในการอำนวยความสะดวกระหว่างประเทศไทยและเวียดนาม ด้านสังคมวัฒนธรรมดูเรื่องการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมเวียดนามในประเทศไทย และตั้งศูนย์ไทยศึกษาในเวียดนามเพิ่มเติม การแลกเปลี่ยน การให้ทุนเวียดนามมาเรียนในไทย และแนวทางการช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์ นอกเหนือจากการประชุมร่วมก็จะหารือทวิภาคีของนายกฯไทยกับนายกฯเวียดนาม เป็นการหารือต่อเนื่องจากที่ท่านมาไทย ก็จะคุยต่อเรื่องการค้าเรื่องข้าว ยางพารา ก็จะมีความร่วมมือด้านยางพารา ความร่วมมือด้านอาหารที่จะร่วมกันเป็นแหล่งอาหารโลก รวมทั้งปัญหายาเสพติดและการค้ามนุษย์
นายกฯกล่าวว่า ครั้งนี้มีเอกสาระหว่างความมั่นคงระหว่างไทยและเวียดนาม และเอ็มโอยูจัดตั้งสภาธุรกิจไทยเวียดนาม ร่วมกับ 3 สถาบันของภาคเอกชนด้วย
วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555
"ยิ่งลักษณ์" ประชุมปลัดกระทรวง กำหนดกรอบกลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการภาครัฐ
นายกรัฐมนตรีประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง กำหนดกรอบกลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการภาครัฐร่วมกันในปีงบฯ 56 ระบุขอให้ทำงานเป็นทีมมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนงานในเชิงบูรณาการ สั่งการทุกกระทรวงทำฐานข้อมูลภารกิจหลัก-รอง ลดความซับซ้อนงานแต่ละกระทรวง ให้ยึดรูปแบบ 3M เน้นบริหารจัดการ-บุคลากร-งบประมาณ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและประสิทธิภาพของงาน
วันนี้ (13 ต.ค.55) เวลา 09.30 น. ณ โรงแรมเชอราตัน พัทยา จังหวัดชลบุรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงวาระพิเศษ เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และกำหนดกรอบกลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการภาครัฐร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง โดยมีนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมด้วย
นายนนทิกร กาญจนจิตรา เลขาธิการ ก.พ. กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์และรูปแบบวิธีการจัดประชุมสัมมนาในภาพรวมโดยสรุปว่า สำนักงาน ก.พ. ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงเป็นวาระพิเศษนอกสถานที่ในครั้งนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา และหารือเกี่ยวกับการกำหนดแผนยุทธศาสตร์และแนวทางในการทำงานร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยรูปแบบการประชุมสัมมนาวันนี้ในช่วงเช้า คณะหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ร่วมอภิปรายให้ความเห็น เรื่องความสำเร็จ ข้อปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัด ของการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินการต่อไป สำหรับในช่วงบ่าย จะมีกิจกรรมการระดมความเห็น เรื่อง ยุทธศาสตร์และแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐในเชิงบูรณาการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยเลขาธิการ สศช. จะนำเสนอประเด็นการประชุม เกี่ยวกับ บริบทและความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจสังคมของประเทศ และที่ประชุมจะระดมความเห็นร่วมกันในเรื่องการกำหนดกรอบกลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการภาครัฐในเชิงบูรณาการ
ต่อจากนั้น เป็นกิจกรรม “เปิดใจ” โดยนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวนำประเด็นการประชุมสัมมนา พร้อมกล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับภาพรวมของการทำงานร่วมกันในรอบปีที่ผ่านมา และความคาดหวังของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลต่อการทำงานร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวต้อนรับและกล่าวแสดงความยินดีต่อปลัดกระทรวงที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ทั้ง 11 คน ที่ล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ในการทำงาน โดยการประชุมในวันนี้เพื่อเตรียมความพร้อมถึงแผนการทำงานในปีงบประมาณ 2556 ที่ต้องการเห็นการทำงานเป็นทีมซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ วันนี้จึงขอให้ทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็นท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นกันเอง ให้ช่วยกันนำเสนอแผนการทำงานที่รวมถึงแผนต่อไปในอนาคต พร้อมร่วมกันกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมาย ทิศทาง ร่วมผลักดันนโยบาย และวาระสำคัญของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติแบบเชื่อมโยงอย่างบูรณาการ ระหว่างกระทรวง ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง
จากนั้น หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงทุกคนได้กล่าวเปิดใจพร้อมแสดงความเห็นต่อภาพรวมของการทำงาน และปัญหา อุปสรรค ในการทำงานของรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งภายหลังการรับฟังการแสดงความเห็นของหัวหน้าส่วนราชการฯ แล้ว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าภาพรวมของปัญหาคือการขาดการบูรณาการทำงานร่วมกัน พร้อมกล่าวว่า ตั้งแต่วันแรกที่นายกรัฐมนตรีเข้ามาทำงานก็ประสบกับปัญหาอุทกภัย ซึ่งถือเป็นบทเรียนแรกที่สะท้อนให้เห็นปัญหาโครงสร้างของระบบราชการที่ไม่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาในภาวะวิกฤตได้ รวมไปถึงเรื่องของงบประมาณภาครัฐที่ไม่สามารถเอื้อต่อการใช้จ่ายเงินในภาวะฉุกเฉินได้ โดยรูปแบบการทำงานของภาครัฐยังเป็นแบบแท่งซึ่งมีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ในวันนี้จึงต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยต้องทำงานเป็นแนวนอน ทำงานเป็นทีมมากขึ้น เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนงานในเชิงบูรณาการ
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้แต่ละกระทรวงจัดทำฐานข้อมูลถึงภารกิจหลัก ภารกิจรอง เพื่อแสดงให้เห็นรูปแบบการทำงานและผู้รับผิดชอบ เพื่อลดความซับซ้อนของการทำงานในแต่ละกระทรวง โดยให้ยึดรูปแบบ 3M โดยให้เน้น M แรก คือ Management เน้นการจัดการบริหาร M ที่สองคือ Man บุคลากร และ M ที่สามคือ Money งบประมาณ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและประสิทธิภาพของการทำงาน พร้อมนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวเสนอแนวทางการทำงานแบบ Analysis ที่ให้มีการวิเคราะห์ปัญหาภายในองค์กรและภาคนอกองค์กรว่ามีปัญหาอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ช่วยกันแก้ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกันว่าจะแก้ปัญหาตรงจุดไหนก่อน และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาอย่างสัมพันธ์กัน ให้มีการประเมินผล โดยไม่ต้องการเห็นการกล่าวโทษกัน แต่เพื่อให้มีการทบทวน ยอมรับในสิ่งที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวยอมรับว่าตนเองเป็นคนจริงจังกับงาน หลายกระทรวงอาจจะโดนตำหนิบ้าง แต่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของงาน พร้อมกับเพื่อให้มีการปรับรูปแบบการทำงาน โดยถ้ามีอะไรขอให้เปิดใจคุยกัน ตนยืนยันพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคณะหัวหน้าส่วนราชการและไม่ทอดทิ้งกัน เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือประเทศชาติและประชาชน
โดยการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงในวันนี้ มีหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงเข้าร่วมการประชุมรวมจำนวน 31 คน ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่จำนวน 11 คน
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555
"ยิ่งลักษณ์" เปิดใจ1ปีรัฐบาล นำทัพ 31ปลัดกระทรวง วางยุทธศาสตร์ประเทศไทยก้าวทันโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานจากโรงแรมเชอราตัน พัทยา จ.ชลบุรีว่า เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 ตุลาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมและมอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงและเทียบเท่า ภายใต้การอบรมหลักสูตร "ผู้บริหารระดับสูงอาเซียนระยะที่ 1 การหาความจำเป็นในการฝึกอบรม เพื่อจัดทำหลักสูตรในการอบรมผู้บริหารระดับสูงอาเซียน" จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียงกัน
ก่อนเข้าร่วมการประชุมนายกรัฐมนตรีได้ถ่ายรูปร่วมกับปลัดกระทรวงต่างๆ พร้อมมอบของที่ระลึกให้กับปลัดใหม่ทั้ง 10 คน อาทิ นายวิบูลย์ สงวนพงษ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัด กทม. นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ พล.ท.ภราดร พัฒนาถาบุตร เลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) เป็นต้น ขาดเพียง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่ติดภารกิจเนื่องในวันตำรวจแห่งชาติ โดยการประชุมครั้งนี้ มีปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 31 คนจากทั้งหมด 38 คน
น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยก่อนเริ่มประชุมว่า การสัมมนาในครั้งนี้ มีปลัดกระทรวงเข้าร่วมงานทั้งสิ้น 31 คน ขาดปลัดที่ติดภารกิจสำคัญ 7 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องการใช้โอกาสที่รัฐบาลทำงานมาครบ 1 ปี มาเปิดใจพูดคุยอย่างเป็นกันเองกับปลัดกระทรวงทั้งหมดอย่างเต็มที่ เพราะที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีโอกาสร่วมประชุมบ่อยครั้ง แต่ไม่เคยได้พูดคุยกันแบบเปิดใจ โดยนายกรัฐมนตรีคาดหวังให้ปลัดทุกคนได้พูดในสิ่งที่มีความต้องการจะนำเสนอ จากนั้นก็จะร่วมกันหารือวางยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ใน 3 เรื่องใหญ่ ได้แก่ ความสามารถในการแข่งขันทางด้านสังคม การกระจายรายได้เป็นพิเศษ และจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการประชุมในลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงถือเป็นโอกาสพิเศษที่นายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสนี้วางยุทธศาสตร์ของประเทศไทยร่วมกับปลัดกระทรวง โดยหลังจากการประชุมครั้งนี้แล้วจะจัดทำเป็นหลักสูตร เพื่อให้ส่วนราชการได้เข้ามาทำงานตามหลักสูตร เพื่อให้ประเทศไทยได้ปรับตัวพัฒนาก้าวทันโลกต่อไป
"บุญทรง" มั่นใจ "จำนำข้าว" ยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนา พร้อมลุยจีทูจี
13 ต.ค. 2555 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว 5 ราย เข้าร่วมชี้แจงผ่าน "รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน" ได้แก่นายบุญทรง เตริยาภิรมย์รมว.พาณิชย์ นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบาย เศรษฐกิจการคลัง (สวค.) นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และ นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย
นายบุญทรงกล่าวว่า การระบายสต็อคข้าวตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงขณะนี้ระบายไปแล้วเกือบ 1.5 ล้านตัน จนถึงปลายปีจะระบายเพิ่มได้อีก 3-4 แสนตัน รวมแล้วถึงสิ้นปีน่าจะทำได้ 1.7-1.8 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจะเป็นการระบายในปี2556 เพราะมีสัญญาและปริมาณส่งมอบแตกต่างกันไป ถ้าปริมาณมากก็ต้องใช้เวลาส่งมอบนาน แต่ทั้งหมดมีระยะเวลาในการส่งมอบไม่เกิน 12เดือน ประเมินว่าไม่เกินปลายปี 2556 การส่งมอบจะจบสิ้นทั้งหมด
ทั้งนี้สำหรับสต็อกข้าวที่เหลือจะยังยึดแนวปฏิบัติตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.)ให้ไว้คือ การระบายแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และระบายขายในประเทศ โดยในส่วนของจีทูจีขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจา โดยกระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าสต็อกที่มีอยู่จะไม่สร้างปัญหา เพราะประเทศไทยต้องมีความมั่นคงทางอาหาร เซฟตี้สต็อกยังมีอยู่ บางส่วนเก็บไว้ เพราะในอดีตแต่ละปีก็มีสต็อกคงเหลือ กรณีเกิดภัยพิบัติก็ต้องเอาข้าวไปช่วยประชาชน บางส่วนก็ไประบายเพิ่มเติม แต่ก็ต้องดูสถานการณ์ตลาดข้าว
"เราติดตามดูราคาข้าวโลกขณะนี้ มีการรกดดันราคาพอสมควร เพราะเกิดความวุ่นวาย มีการทะเลาะกัน ซึ่งภายใต้โครงการรับจำนำเราก็มั่นใจว่า ข้าวที่มีอยู่ในมือสามารถระบายออกไปได้ และข้าวที่มาใหม่จะได้เข้าสู่โครงการได้ด้วย"นายบุญทรงกล่าว
นายบุญทรงกล่าวอีกว่า ครม.ได้ให้ความเห็นชอบในการระบายสต็อคข้าวในโครงการรับจำนำข้าว 4 วิธี คือ 1.ระบายแบบรัฐต่อรัฐหรือจีทูจีที่กำลังทำอยู่ 2.เปิดประมูลให้ผู้สนใจทั่วไป ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ค้าข้าว ระบายผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ซึ่งยังไม่ได้ดำเนินการ 3.ระบายผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น หน่วยงานของรัฐที่จำเป็นต้องใข้ข้าว เช่น กรมราชทัณฑ์ ที่นำไปใช้กับผู้ต้องขัง หรือกระทรวงกลาโหม นำไปใช้ชายแดน หรือหน่วยงานต่างๆนำไปช่วยผู้ประสบอุทกภัย
"ทั้ง 4 วิธีการเป็นวิธีการที่กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการมาตลอด แต่ปีนี้เราเน้นเรื่องทำระบบจีทูจีเป็นพิเศษเพราะพยายามดึงราคาข้าวให้สูงขึ้น ดังนั้นเมื่อประมูลไปแต่ละรอบมีผู้สู้ราคาไม่มาก แต่ไม่ได้หมายความว่าเราประมูลไม่ออก ขณะนี้ก็มีที่ทำในลักษณะจีทูจีไปค่อนข้างสูง"นายบุญทรงกล่าว
ส่วนนางวัชรี วิมุกตายน กล่าวว่า การตรวจสอบโครงการจำนำข้าวนั้น ได้มีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ ตั้งแต่ก่อนรับ รับ และจำนำ เพื่อให้หลายฝ่ายมีความมั่นใจในมาตราการที่รัดกุมที่กำนหดขึ้นมา และพร้อมปราบปรามผู้ที่ทำการทุจรติ ซึ่งที่ตรวจสอบทางหน่วยงานพบเจอและส่งให้กับทางตำรวจดำเนินคดี
วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555
"สุรพงษ์-ปลอดประสพ" แจงนาซ่ามาอู่ตะเภาได้ประโยชน์
6 ต.ค.55 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี งดจัดรายการ"รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน"มอบหมายให้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แจงโครงการนาซ่ามาอู่ตะเภา ย้ำได้ประโยชน์ ดำเนินรายการโดย นายธีรัตถ์ รัตนเสวี
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า โครงการนาซ่าของสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่ 28 กันยายน 2553 รัฐบาลชุดที่แล้วได้ลงนามระหว่างองค์กรมหาชนด้านอวกาศของประเทศไทย หรือ จิสด้า ซึ่งได้ลงนามกับองค์การนาซ่า เพื่อทำความร่วมมือมีข้อตกลงระหว่างกัน โดยมีการติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง กระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ และได้ประชุมร่วมกัน นำนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อตัวของเมฆจากนาซ่ามาพบกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศไทย
"กระทรวงต่างประเทศและกระทรวงวิทยาศาสตร์ได้รู้เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด และมีหน่วยงานเข้าร่วมทั้งหมด 18 หน่วยงาน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง" นายสุรพงษ์ กล่าว
นายสุรพงศ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณทูตสหรัฐที่เข้าใจ เหตุไม่ได้สำรวจเมฆ พร้อมยืนยันที่สหรัฐเลือกประเทศไทย เพราะไทยตั้งอยู่ใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมีความสัมพันธ์ ระหว่าง 2 ประเทศ ที่ยาวนาน และไทยมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ พร้อมมองว่า สนามบินอู่ตะเภา เหมาะสมที่สุดในการใช้ดำเนินการ รวมถึงเป็นที่ตั้ง ขณะเดียวกันก็ได้แจงเหตุผลที่ นาซ่า ไม่ใช้สนามบินสุราษฎร์ธานี เพราะสนามบินดังกล่าวมีขนาดเล็กด้วย
ด้านนายปลอดประสพ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวทำให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับบรรยากาศ เมฆ รู้ว่าฝนจะมามากหรือน้อย ซึ่งกลัวมามากก็หวั่นเกิดน้ำท่วม กลัวมาน้อยก็หวั่นเกิดความแห้งแล้ง ตรงนี้จะสร้างให้เกิดประโยชน์ในแง่การพยากรณ์ที่แม่นยำมากขึ้น โครงการนี้หลายประเทศก็ทำมาแล้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)