วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

นายกฯยิ่งลักษณ์ เผยผลประชุมUN-ดูผังเมืองนิวยอร์กปรับใช้ในไทย

รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ที่ออกอากาศวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2555 เป็นการบันทึกเทปสัมภาษณ์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากนครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ในโอกาสเดินทางร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ โดยมีน.ส.ศันสนีย์ นาคพงษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้สัมภาษณ์
         
น.ส.ศันสนีย์ ได้สอบถามนายกฯถึงการเดินทางมาในครั้งนี้ว่าเหนื่อยหรือไม่ เพราะมีภารกิจเต็มทั้ง 4 วัน  นายกฯตอบว่า เหนื่อย ภารกิจหลายอย่าง เต็มเหยียด4 วัน ไหนๆมาแล้วก็อาศัยช่วงว่างไปดูงานให้เป็นประโยชน์ จะได้มาใช้กับคนไทย

ในการเดินทางมาประชุมสมัชชาฯ ครั้งนี้ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมสถานศึกษาเด็กเล็กอยู่ย่านฮาเล็ม ที่รัฐบาลร่วมกับภาคเอกชนและท้องถิ่นในการสอน ดูแลตั้งแต่ในครรภ์ 0-4 ปี ที่นี่ท้องถิ่นทำงานร่วมกับรัฐบาล ดูแลพัฒนาการของเด็ก สัดสวนครูเขาใช้ 1:5 นอกจากนี้มีการดูแลติดตามพัฒนาการของเด็ก เด็กที่จบแล้วก็ให้มาดูแลที่จะสอนน้องๆต่อไป เราก็จะดูมาใช้กับประเทศไทย ซึ่งดิฉันเป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาเด็กปฐมวัย ดูตั้งแต่ช่วงชีวิตของเด็กก็จะนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็ก ควรได้รับวัคซีนอะไร ต้องมีการบันทึกไม่ให้ตกหล่นในเรื่องพัฒนาการเบื้องต้น เพราะเด็กก็จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต
          
นอกจากนี้มีแถม เพราะนครนิวยอร์คเป็นเมืองเศรษฐกิจมีโครงสร้างผังเมือง ในการดูแลของท้องถิ่นก็มีโอกาสคุยกับนายกเทศมนตรีของนิวยอร์ก ก็จะนำไปประยุกต์ใช้กับกทม. และที่อื่นๆ และดูในเรื่อง ไฮ ไลน์ พาร์ค คือเอาเส้นรถไฟเก่ามาปรับใช้ในสวนสาธารณะ เราก็จะไปดูแลประยุกต์ใช้ สุดท้ายก็ไปดูสถานีรถไฟว่าเขาเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้สถานีรถไฟอย่างไร เพื่อประยุกต์เอาสินค้ามาขายให้ได้ประโยชน์

นายกฯกล่าวต่อว่า ในส่วนเวทีสหประชาชาติ เราก็มีบทบาทในการพูดในเวทีสหประชาชาติ พูดในเรื่องความร่วมมือของไทยในการรว่มมือกับนานาประเทศแก้ปัญหาความมั่นคง ความสงบ และสวัสดิภาพของเด็กและสตรี นอกจากนี้ ในการประชุมมีการลงนามอนุสัญญาสิทธิเด็ก กรณีเด็กถูกละเมิดหรือรังแกก็มาร้องเรียนได้ เป็นวิวัฒนาการของหลายประเทศที่หันมาดูแลเด็กและสตรี เป็นระดับเวทีโลก ที่ทุกประเทศมาร่วมลงนาม มีผู้นำมา 190 ประเทศก็อาศัยเวทีนี้พูดคุยกัน ทักทาย สุดท้ายถ้าสิ่งไหนเป็นประโยชน์ก็จะนัดหารือทวิภาคีเพิ่มเติม ซึ่งการที่มีความสัมพันธ์ที่ดีก็จะเป็นประโยชน์มาก

เมื่อถามว่ามีการหารือทวิภาคีกับประเทศใดบ้าง นายกฯตอบว่า มีการรหารีอรมต.ตปท.ยูเออีก็มาขอหารือ และก็มีเมียนมาร์ด้วย ก็หารือกับประธานาธิบดีเมียนมาร์ และก็อาศัยโอกาสนี้ต่อยอดการหารือการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย ส่วนที่พบกับอียู ก็เจรจาเรื่องเจรจาเปิดการค้าเสรี เพราะวันนี้เรื่องการค้าการลงทุนหลายประเทศ ก็เริ่มมาดูว่าเศรษฐกิจผันผวน เขาก็มองว่ากลไกเอฟทีเอเป็นกลไกกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ เราก็ต้องรีบดูว่าอันไหนเป็นประโยชน์เพื่อบอกให้เอกชนเตรียมตัว
          
เมื่อถามถึงความสนใจของต่างประเทศต่อประเทศไทย  นายกฯกล่าวว่า ในประเทศไทยเองเขาก็สนใจ เพราะถือว่าโอกาสนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทยและอาเซียนด้วย ที่เราจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หลายประเทศก็สนใจลงทุน เพราะเรามีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุน ที่สำคัญด้านการท่องเที่ยว ทุกคนเห็นประเทศไทยก็ชื่นชม เมืองไทยอาหารอร่อย มีสถานที่ เราก็ดีใจมาก

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

เผยแนวทาง "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ดับไฟใต้ เน้นความมั่นคง-เร่งพัฒนา-ผลักดันการศึกษา

22 กันยายน 2555 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นแห่งชาติหรือ สมช. จัดรายรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน"โดยชี้แจงถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

พล.อ.ยุทธศักดิ์  กล่าวว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ ให้ สมช.ร่างแผนบริหารและพัฒนา ประจำปี 2555 ถึง 2557  ซึ่งเป็นแผนสืบเนื่องจากรัฐบาลที่แล้ว มาสำเร็จในปีนี้ โดยเสนอวุฒิสภาและผ่านเรียบร้อยแล้ว โดยมีออกมาเป็น 9 ยุทธศาสตร์ และได้ถูกแปลงโดย กอรมน.มาเป็น 6 ข้อ ศอ.บต ออกมาเป็น 9 ข้อ ซึ่งทาง สมช.เห็นว่า เมื่อแต่ล่ะหน่วยแปลงยุทธศาสตร์ ไม่เหมือนกัน จึงสร้างเป็นยุทธศาสตร์ 6 ข้อ เพื่อให้ทุกหน่วยได้นำมาใช้ร่วมกันออกมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

"ในส่วนของรัฐบาล ได้จัดตั้งหน่วยคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กปต.เพื่อขับเคลื่อน ประเมินผล ผลักดันการทำงานของหน่วยต่าง ๆ แต่เมื่อดำเนินการไปแล้ว ยังมีช่องว่าง ก็จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศปก.กปต. ขึ้นมา" พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าว

พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการหารือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ สส.ภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องปัญหาภาคใต้  ได้ให้ข้อคิดเห็น 9 ข้อ ซึ่งบางเรื่องกำลังทำอยู่ บางเครื่องกำลังเตรียมการ หลายเรื่องรับไปพิจารณาแก้ไข การหารือครั้งนี้ ได้ข้อคิดอย่างมาก รวมทั้ง ความคิดเห็นของ สส ภาคใต้ ที่ชี้แจงให้เห็นว่าแต่ละพื้นที่ มีปัญหาอะไร ที่จะขอให้รัฐบาลเข้าไปแก้ไข ทั้งนี้ กอ.รมน.และ ศอ.บต.รับจะประสานกับ สส.ฝ่ายค้าน และพร้อมที่จะพบปะประสานงานตอลดเวลาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

พล.ท.ภรดา กล่าวว่า การตั้ง ศปก.กปต.ไม่ซ้ำซ้อนกับ กปต.แต่จะทำงานควบคู่กันและสนับสุนน กปต.ให้มีประสิทธิภาพ หน่วยงานนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี

สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557 ประกอบด้วย 9 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้

ประเด็นที่ 1. การ พัฒนาการบริหารด้วยการมีส่วนร่วมและบูรณาการแก้ไขปัญหาพื้นที่พิเศษ
ประเด็นที่ 2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน ชุมชน ในการร่วมสร้างสันติสุข 
ประเด็นที่ 3. คือการสร้างพื้นที่และสภาพแวดล้อมเพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี ประเด็นที่ 4. การส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ภาษา ศิลปะพหุวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 
ประเด็นที่ 5. การ เพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ สิทธิมนุษยชน การอำนวยความเป็นธรรม การบังคับใช้กฎหมาย การส่งเสริมนำหลักศาสนาหรือความยุติธรรมในชุมชน ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรง
ประเด็นที่ 6. การเสริมสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มประสิทธิในการพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้อง กับศักยภาพของพื้นที่ วิถีชีวิตและความต้องการของประชาชน
ประเด็นที่ 7. การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต การท่องเที่ยว กีฬาและผู้ด้อยโอกาส
ประเด็นที่ 8. การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน
ประเด็นที่ 9. การเสริมสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

สำหรับเป้าหมายยุทธศาสตร์ร่วมของกอ.รมน. และศอ.บต. มีจำนวน 29 ข้อ คือ

1.พื้นที่เศรษฐกิจในเมืองสำคัญ และสถานที่สถานที่ชุมนุมสาธารณะ ปลอดพ้นจากความเสี่ยงของเหตุการณ์รุนแรงขนาดใหญ่เช่น เหตุระเบิดขนาดใหญ่ หรือพร้อมกันหลายจุด 
2.หมู่บ้าน/ชุมชนที่เป็นพื้นที่เขตอิทธิพลของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ลดจำนวนลงในพื้นที่เดิมและไม่ขยายเพิ่มในพื้นที่ใหม่
 3.ศาสนสถาน ศาสนบุคคล และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการคุ้มครอง/เฝ้าระวังให้ปลอดภัยจากเหตุรุนแรง 
4.เจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนประเพณี และผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมและรวดเร็ว 
5.คดีหรือเหตุการณ์ที่เป็นข้อสงสัยของประชาชนและต่างประเทศได้รับการเร่งรัดและนำ ไปสู่กระบวนการตรวจสอบโดยทันที เพื่อค้นหาความจริงให้ได้ข้อยุติและชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบอย่างต่อ เนื่องและทั่วถึง 
6.การดำเนินคดีความมั่นคงมีประสิทธิภาพ ทั้งกระบวนการรวบรวมพยานหลักฐานที่รัดกุมและโปร่งใสผู้ต้องหาได้รับการคุ้ม ครองสิทธิตามกฎหมาย และสามารถนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว 
7.กระบวน การยุติธรรมทางเลือกได้รับการสนับสนุน โดยให้ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา และชุมชน สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งและการระงับข้อพิพาท ผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบได้รับการเยียวยาที่เป็นธรรม 
8.ผู้ ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ได้รับการเยียวยาด้วยกระบวนการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งระดับปัจเจกครอบครัว และชุมชนที่ได้รับ รวมทั้ง ลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรง ตลอดจนสร้างความไว้วางใจ 
9.ประชาชนมีความเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นจริงในพื้นที่ผ่านเวทีการสื่อสารที่ส่งเสริมการพูดคุย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
10.จำนวน กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทาง และทักษะการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีด้วยวิธีการต่างๆเช่นการจัดหลัก สูตรอบรม หรือการสัมมนาเพิ่มมากขึ้นและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม
 11.การ ลงทุน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องมั่นคง สอดคล้องศักยภาพของพื้นที่ วิถีชีวิต ตรงกับความต้องการของประชาชน และมีผลต่อการสร้างอาชีพ และการกระจายรายได้ที่ทั่วถึงให้กับประชาชน ส่งผลให้อัตราการว่างงานในระดับหมู่บ้านลดลงอย่างต่อเนื่อง 
12.การ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ เทคโนโลยี ศักยภาพแรงงาน ทั้งต้นน้ำปลายน้ำ ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ในประเทศและรอต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 
13.สถาบัน การศึกษาของรัฐและเอกชนได้รับการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรการศึกษาและครูทั้ง สายสามัญและศาสนาอย่างครบถ้วน และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานกลางของประเทศ
 14.เด็ก เยาวชน และผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษา ได้รับความรู้ การเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ โดยการพัฒนา สร้างแหล่งเรียนรู้ และสนับสนุนระบบการศึกษานอกโรงเรียน 
15.ประชาชน ในพื้นที่เสี่ยนงได้รับหลักประกันของการมีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อการดำรงชีพและสร้างรายได้ที่พอเพียง ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย 
16.ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขและการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเต็มประสิทธิภาพ 
17.ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติตามประเพณีและศาสนา เป็นพลังสร้างสรรค์สังคมพหุวัฒนธรรมและเป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งภายนอกและภายในรวมทั้งเกิดความรู้สึกและความภาคภูมิใจในการเป็นพลเมืองไทย 
18.การฟื้นฟูอนุรักษ์ รักษาอัตลักษณ์ทางภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนมนพื้นที่เพิ่มขึ้น 
19.เด็กและเยาวชนมีความรู้ภาษาไทย ภาษามลายูและภาษามลายูถิ่นและภาษาต่างประเทศที่สำคัญในทุกระดับการศึกษา 
20.ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนนักการศึกษาสื่อมวลชน สตรีเด็กและเยาวชน มีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชนเพิ่มขึ้น 
21.ประชาชนได้รับข้อมูลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านและเป็นจริง และตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาในเชิงสร้างสรรค์ 
22.ประเด็นปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ถูกหยิบยกเป็นวาระระหว่างประเทศ อาทิ เวทีขององค์การความร่วมมืออิสลาม(OIC)และสหประชาชาติ 
23.ประชาชนในโลกมุสลิมและต่างประเทศมีความเข้าใจและสนับสนุนการพัฒนารวมทั้งแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือของประชาคมอาเซียนและกิจการฮัจญ์ 
24.หน่วยงานของรัฐมีประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกการจัดพื้นที่และกระบวนการสื่อสาร พุดคุย เพื่อลดและป้องกันการขยายตัวของความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนและระหว่างประชาชนกับประชาชนเพิ่มขึ้น 
25.จำนวนเวทีส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพูดคุยระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการแสวงหารูปแบบการกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีบทบาทและส่วนร่วมที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีมากขึ้น
26.ผู้มีความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ต่างจากรัฐ มีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลได้รับหลักประกันความปลอดภัยจากรัฐอย่างทั่วถึง 
27.กลไกขับเคลื่อนการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
28.ประชาชนมีส่วนร่วมในการนำนโยบายยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล 
29.เจ้าหน้าที่ทุกระดับต้องมีความเข้าใจนโยบายและยุทธศาสตร์ไปในทิศทางเดียวกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม
รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน 22 กันยายน 2555

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

นายกฯ ยิ่งลักษณ์ พอใจแผนบริหารจัดการน้ำปีนี้ดีกว่าปีก่อน

รายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” เช้าวันนี้ (15 ก.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จัดรายการสดที่จ.กระบี่ พร้อมด้วย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ และนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เพื่อชี้แจงแผนการดำเนินการ มาตราการบริหารจัดการน้ำท่วม ดำเนินรายการโดย น.ส.ตวงพร อัศววิไล
     
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าจากการลงพื้นที่พอใจในการป้องกันแก้ปัญหาน้ำท่วม เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ก็ถือว่าปรับปรุงขึ้นเยอะ ยกตัวอย่างกรณีสุโขทัยที่ใช้เวลาไม่กี่วันในการดูแลและเยียวยาพี่น้องประชาชน รวมทั้งเราก็ดูว่าพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่เสี่ยงประสบอุทกภัย ก็จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลย ให้ทางจังหวัดเข้าในพื้นที่เลย หรือเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลเลย หรือกรณีกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ยังเป็นปัญหา ก็จะดูให้สามารถเบิกงบประมาณในการป้องกันในจังหวัดเสี่ยงก่อน หรือกรณีสุโขทัยก็ให้ตรวจพนังกั้นน้ำทั้งของราชการ จังหวัด ท้องถิ่นลงไปให้ทั่วถึง เป็นการดูแลอย่างละเอียด
     
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมที่ อ.บางบาล จ.อยุธยา นั้น จะเห็นได้ว่า อ.บางบาล ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี จึงสั่งการให้หน่อยงานติดตั้งเครื่องวัดน้ำเสริม อีกจุดหลัก คือ จ.นครสวรรค์ เพราะพื้นที่นี้มีแม่น้ำ 4 สาย มารวมกัน จึงต้องเฝ้าระวังเพื่อให้ประชาชนติดตาม ซึ่งในจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในภาวะควบคุมได้
     
ส่วนการระบาย ต่างๆเราก็เฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เกินประสิทธิภาพของลำน้ำเจ้าพระยาและระบบ ก็จะมีการติดตั้งเครื่องวัดไว้แต่ละจุด ก่อนถึงกรุงเทพมหานคร ระบบระบายน้ำปกติจะไม่ให้เกินประสิทธิภาพของคูคลอง แต่ถ้าฝนตกมากอาจมีบ้างน้ำไหลล้นตลิ่ง แต่ระบายจะทำได้เร็วขึ้น เพราะมีการพร่องน้ำ รักษาระดับน้ำในเขื่อนให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ บางพื้นที่ที่ระบายช้าอาจมีท่วมขังแต่ก็เชื่อว่าไม่กี่วันก็จะระบายได้
     
ทางกรมชลประทานไปติดจุดวัดระดับน้ำในสายหลักที่สำคัญเพื่อประชาชนจะได้ดู เรามีสัญลักษณ์เป็นสีเขียว เหลือง แดง ในจังหวัดอื่นก็ดูผ่านเว็บไซด์ ไอโฟน หรือสมาร์ทโฟนได้ ดูว่าจุดไหนเป็นจุดเฝ้าระวัง
     
สำหรับที่สุโขทัย ตั้งแต่วันแรกที่ทราบข่าวได้สั่งการบริหารจัดการไปหมดแล้ว การทำงานเป็นศูนย์ซิงเกิล คอมมานด์ เมื่อเกิดอุทกภัยศูนย์ส่วนหน้าก็เข้ามาทำงานทันที กรณีสุโขทัยเกินขีดความสามารถจัดการได้ ก็ยกระดับเป็นระดับ 3 ท่านรองยงยุทธก็เข้าไปทันที ในด้านเทคนิคเดิมจะเห็นข่าวว่าใช้บิ๊กแบ็คพอทำไป 1 วันก็ส่งเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน โยธาธิการ และกองทัพมาปรับเป็นวางเกเบรียลก่อนถึงวางบิ๊กแบ็คทำให้คุมสถานการณ์ได้ภายใน 3 วัน ขณะที่ปภ.ตั้งหน่วยช่วยประชาชน วันนี้ก็ถือว่ากลับสู่สถานการณ์ปกติ การชดเชยเยียวยาก็มีอยู่แล้ว
     
ส่วนที่พิษณุโลกที่เป็นข่าวคือพรหมพิราม และบางระกำ ที่พรหมพิรามมีสะพานหักก็ขอกำลังกองทัพไปท้องถิ่นไม่น่าเกิน 10 วันทำเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กให้เลย
     
นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การจัดการน้ำ รัฐบาลอยากดูแลพี่น้องประชาชน อยากให้พี่น้องประชาชนสบายใจ หากเทียบปีที่แล้ว ปีนี้มีการปรับปรุงแก้ไขบริหารจัดการน้ำได้อย่างดี และลงพื้นที่แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่น่าพอใจ
     
ขณะที่ นายเลิศวิโรจน์ กล่าวว่า ขณะนี้เร่งระบายน้ำในภาคเหนือให้ลงทะเลโดยเร็ว เพราะอยู่ในช่วงหน้าฝนเตรียมพื้นไว้ โดยเฉพาะแม่น้ำสายหลักเมื่อฝนลงมาจะไม่ล้นตลิ่้ง ส่วน จ.นครสวรรค์ ยังสามารควบคุมได้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
นายกฯยิ่งลักษณ์จัดรายการรบ.ยิ่งลักษณ์พบปชช.จากกระบี่
นายกฯยิ่งลักษณ์ตรวจดูจุดน้ำลอดใต้พนังกั้นน้ำ จ. สุโขทัย

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

A Year flew, It is show time for Yingluck by Nausica



Prime Minister Yingluck Shinawatra hopped on helicopter to see flooded areas by her own eyes. She flew over to see Ayutthaya, Nakorn Sawan and Sukhothai provinces where the government has planned parts of these provinces to be flood receiving areas in order to protect economic and public areas.

Sukhothai, one of Thailand’s famous ancient cities, its busy city area was partially covered by water. Water level is receding gradually as Thai authorities have quickly applied flood relieving techniques they have learnt well from last year.

According to Arjit Suwanichwong, an officer from Irrigation Department said that the situation is now under control, temporary flood barriers were put up, and authorities should be able to start pumping water out today and to continue fixing leakages on water levees.

Pictures of influx of water rushed into Sukhothai’s river side area through leakages on under -maintained water levees, have triggered Thai public concern of last year disaster. Even though the causes of flood in Sukhothai were accidental and different from last year, Yingluck can not avoid public anxiety.

Thai first female premier has started her tours to inspect areas, as an attempt to put off public panic. She has ordered authorities along downstream provinces to prepare for seasonal floods while her Water and Flood Management Commission’s plan has been fully kicked off and ministries concerned are now on alert mode, after an annual monsoon arrived.



She said “I have ordered other (down stream) provinces to be ready for volume of water that will be coming down from Phrae and Sukhothai provinces. I am here today to follow up on flood preparation, which I have to say, we have done our best. As I said the floods which happened presently are seasonal and natural, we can not dictate nature.”

The Thai administration recently launched an exhibition on Flood Prevention Plan, it was aimed to boost confidence among investors and educate Thai public. Yingluck said her government has done its best on manly manageable elements and in terms of preparation for this year flood. Level of water and amount released from major dams are closely controlled and monitored. Additionally there are flood receiving areas designated and prepared. Water drainage system has been fully implemented to allow water rundown to the sea at the possible fastest rate. But there are 2 naturally uncontrollable factors, sea level and amount of rains that could hamper an effectiveness of her flood management task, she said.

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระกิจ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประชุมสุดยอดผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ 20

ภาระกิจ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประชุมสุดยอดผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ 20 รายงานโดย โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

นายกฯยิ่งลักษณ์ หารือทวิภาคีปาปัวนิวกินี

วันนี้ เวลา 10.00 น ตามเวลาท้องถิ่น นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีกับนายปีเตอร์  โอนีล นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี ก่อนเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปค ในวันที่สอง ดังนี้

นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี ต่างเห็นพ้องที่จะพัฒนาและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ พร้อมส่งเสริมความร่วมมือระว่างกันในสาขาที่ไทยและปาปัวนิวกินีสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ โดยปัจจุบันปาปัวนิวกินีถือเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยในกลุ่มประเทศเกาะแปซิฟิก และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามูลค่าการค้ามีการเติบโตถึงร้อยละ 15 ซึ่งไทยเป็นคู้ค้าสำคัญของปาปัวฯด้านสินค้าเกษตร ประมง และผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ทั้งนี้ ไทยและปาปัวฯกำลังศึกษาจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ( Investment and Promotion and Protection Agreement ) ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน

นอกจากนี้ ไทยและปาปัวฯจะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมทั้งไทยซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขาเกษตรกรรม สาธารณสุข ความมั่นคงด้านอาหารและการประมง ยินดีให้ความร่วมมือในการออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการของปาปัวฯในด้านดังกล่าว รวมทั้ง การพัฒนาพลังงาน ที่ปาปัวฯมีแหล่งพลังงานธรรมชาติ ที่ไทยจะช่วยพัฒนาได้

ภาพถ่ายเพิ่มเติม Facebook - Yingluck Shinawatra

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เนชั่น - นายกฯ หารือ ทวิภาคี ปาปัวนิวกินี
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=649167
สำนักข่าวไทย - นายกฯ หารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/410798.html
ข่าวสด - ไทย-ปาปัวนิวกินีร่วมพัฒนาสัมพันธ์ ทำข้อตกลงขยายลงทุน
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME56RTNNVFl6Tmc9PQ

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

รัฐบาลดัน OTOP PLUS รับประชาคมอาเซียน


นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผู้อำนวยการ ในฐานะรักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยว่า โครงการยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ หรือ OTOP PLUS เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือ ของ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กับ องค์การตลาด บริษัทไปรษณีย์ จำกัด บริษัทห้องปฎิบัติการกลาง ประเทศไทยจำกัด หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ บมจ. อสมท เพื่อขยายโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ โอทอป สู่เวทีการค้าทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้ โครงการ OTOP PLUS จะมุ่งพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ระดับ 4-5 ดาว ที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ให้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และการขยายโอกาสทางการตลาด โดยรัฐบาล ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องที่ให้ประชาชนในชุมชนได้มีอาชีพรวมถึงรองรับการที่ไทยเตรียมเข้าสู่เวทีประชาคมอาเซียนด้วย 

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

นายกฯ "ยิ่งลักษณ์" เผยผลการหารือทวิภาคี "มาเลเซีย"

8 กันยายน 2555 - ในช่วงเช้าที่ผ่านมา (เวลาประเทศไทย) ก่อนเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 20  นายกรัฐมนตรี นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบหารือทวิภาคีกับ 3 ผู้นำเขตเศรษฐกิจ ได้แก่ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประธานาธิบดีชิลี และ ประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทางการถึงผลการหารือ ดังนี้  
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการพบหารือกับนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัคแห่งมาเลเซียว่า ในการหารือนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ต่างยืนยันความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของสองประเทศ โดยมีการหารือถึงแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจตามแนวชายแดน ซึ่งในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ มาเลเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม หรือ Joint Commissionและจะได้มีการหยิบยกเรื่องความมั่นคง โดยเฉพาะตามแนวชายแดน ซึ่งจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจตราการข้ามแดนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว และเพิ่มพูนการค้าการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น นอกจากนี้ จะมีการแก้ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ ซึ่งต้องเร่งรัดแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้เร็วที่สุด รวมทั้งการพัฒนาเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่  

นอกจากนี้ ได้หารือเพื่อเร่งรัดการสร้างเสถียรภาพราคายางพารา เพราะเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาร่วมกันของไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยไทยจะเร่งรัดให้มีการหารือให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะเห็นว่าการรักษาราคายางให้มีเสถียรภาพถือเป็นเรื่องเร่งด่วน นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรมีความร่วมมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ยางพาราในระยะยาวเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนไปควบคู่กัน  

ทั้งนี้ กรณีที่กลุ่มก่อความไม่สงบนำธงชาติมาเลเซียไปติดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยและมาเลเซียต่างยืนยันความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นไปด้วยดี แม้ว่าจะมีความพยายามสร้างสถานการณ์ก็ตาม ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ให้ความมั่นใจพร้อมกับย้ำว่าสองประเทศจะทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาและสร้างความสงบให้เกิดขึ้น ทั้งนี้มาเลเซียเห็นด้วย และสนับสนุนแนวทางของไทยในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีควบคู่ไปกับการพัฒนา ซึ่งไทยได้แจ้งให้มาเลเซียทราบถึงความคืบหน้าในการเพิ่มบุคลากรและงบประมาณทั้งด้านการศึกษาและการสร้างอาชีพในพื้นที่  มาเลเซียในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน การได้พบหารืออย่างสม่ำเสมอถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแสวงหาความร่วมมือด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่บริเวณด่านสะเดา เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ ที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของอาเซียนอีกทางหนึ่ง

"ยิ่งลักษณ์" เล็งเพิ่มศักยภาพสตรี เสริมเศรษฐกิจไทยมั่นคง

8 กันายน 2555 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีโทรทัศน์ช่องเอ็นบีที โดยระบุว่า รัฐบาลเชื่อว่าการเพิ่มศักยภาพสตรีจะเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างเศรษฐกิจไทยให้มั่นคงและแข็งแรง โดยมีเนื้อความดังนี้

ภาพ "รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ขณะออกอากาศผ่านทาง NBT
พิธีกร : เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เห็นการประชุมครั้งแรกของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนนี้อย่างไรมีความคืบหน้าบ้างครับท่านนายกฯ

นายกรัฐมนตรี : เมื่อวันพุธที่ 5 กันยายน ได้มีการประชุมเรียกว่าคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งกรรมการนี้ได้ประกอบไปด้วยคณะกรรมการทั้งหมด 37 ท่าน ซึ่งจะเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 17 ท่าน และบวกกรรมการเรียกว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการที่มาจากพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย 20 ท่าน รวมเป็น 37 ท่านมาประชุมเป็นครั้งแรก

พิธีกร :  ครับ ซึ่งถ้าเกิดเราดูเฉพาะบทบาทผู้หญิงในประเทศไทยในปัจจุบันนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ ประชาชนประชากรเป็นอย่างไร

นายกรัฐมนตรี : จริง ๆ ต้องบอกว่าที่มาของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีนี้มาจากว่า สิ่งที่เราเห็นวันนี้จำนวนสตรีไทยมีประมาณ 32,550,000 คนทั่วประเทศ ถือว่าเป็นสัดส่วนมากกว่าผู้ชายเล็กน้อยหรือว่าครึ่ง ๆ แล้วก็สิ่งที่เราเห็นคือว่าผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้นนะค่ะคุณธีรัตถ์ ก็อยู่ประมาณร้อยละ 45 ถือว่าเป็นผู้หญิงที่มีความสามารถและเป็นถึงระดับผู้บริหาร

พิธีกร : เห็นว่าผู้หญิงไทยได้รับความยอมรับจากฟอร์บส์ จากหลาย ๆ ประเทศว่า เป็นประเทศผู้หญิงในระดับ CEO มากที่สุดของโลกอีกด้วย

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ เป็นที่น่าภาคภูมิใจว่าประเทศไทยก็มีผู้หญิงมากและเก่ง และมีศักยภาพในความเป็นผู้นำ แต่อย่างไรก็ตามเราก็จะเห็นว่าในร้อยละ 55 ยังมีสตรีอีกหลายกลุ่ม ภายใต้กลุ่มนี้ยังมีสตรีที่มีความต้องการในการที่จะพัฒนาหรือว่าโอกาสในการที่จะเพิ่มศักยภาพอีกถ้าเรามาร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพของสตรีในหลาย ๆ กลุ่มนี้ก็จะทำให้เชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างเศรษฐกิจไทยให้มั่นคงและแข็งแรง จึงเป็นที่มาของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ได้มีการตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ที่รัฐบาลได้มีการแถลงนโยบายไว้ถือว่าเป็นนโยบายเร่งด่วนค่ะ

พิธีกร : ถือว่าเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการเห็นความเสมอภาคของผู้หญิงและผู้ชายในสังคม ผู้หญิงมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนเข้าถึงการร่วมกลุ่มกันในการที่จะสร้างโอกาสให้กับตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

นายกรัฐมนตรี : อย่างแรกเราคาดหวังว่าอยากเสริมสร้างให้สังคมไทย โดยเฉพาะสตรีไทยให้มีความเสมอภาคและจากนั้นจากความเสมอภาคแล้วเราก็สามารถที่จะต่อยอดในการพัฒนาสตรีให้มีบทบาทในสังคมหรือทางด้านของคุณภาพชีวิตที่ดีมีคุณภาพที่ดีขึ้น เราก็ได้นำเอาแผนพัฒนาสตรีแห่งชาติฉบับที่ 11 ซึ่งทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้นำเสนอผ่านคณะรัฐมนตรีไปแล้ว คือเป็นแผนพัฒนาสตรีแห่งชาติที่ครอบคลุมสตรีทั้งประเทศ เรียกว่าสิ่งที่เราเอามาเป็นโครงหลักแต่ในส่วนของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเราจะเน้นเพิ่มเติมในส่วนของการต่อยอดของกลุ่มสตรีที่ต้องการที่จะดูแลใน 3 ประการด้วยกัน อย่างแรกคือ กองทุนนี้จะเป็นกองทุนที่เรียกว่าแหล่งทุนของดอกเบี้ยต่ำในการที่จะสร้างอาชีพให้กับกลุ่มสตรีที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงสตรีผู้ที่ขาดโอกาส และความเสมอภาค และในการรับโอกาสในการช่วยเหลือต่าง ๆ กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่เป็นสตรีที่มีบทบาทเป็นผู้นำอยู่แล้วเราจะทำอย่างไรให้เสริมสร้างสตรีกลุ่มนี้ได้มีโอกาสในการแสดงออก และอยู่บนเวทีโลกได้มากขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นสิ่งที่เราได้เตรียมตัวคือการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนด้วยเช่นกัน รวมถึงการที่กองทุนที่จะบูรณาการกับทุกมูลนิธิหรือทุกหน่วยองค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับสตรีอย่างไรให้เกิดศักยภาพและเสริมสร้างกัน ถ้าถามว่าวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่เราต้องการคือว่า เราอยากเห็นเรื่องของการรวมพลังในการสร้างสรรค์พลังสตรีเพราะถือว่าพลังสตรีนั้นเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศเช่นกัน

พิธีกร : คือว่าเป็นการเพิ่มศักยภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับสตรีด้วย ซึ่งอย่างที่ท่านนายกฯ กล่าวตั้งแต่ตอนต้น แม้ว่าสตรีไทยจะเป็นผู้นำธุรกิจมากแต่ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกละเลยในสังคม เฉพาะฉะนั้นบทบาทของกองทุนนี้ก็จะทำให้สตรีเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ ในการสร้างอาชีพ มีการรวมกลุ่มกันพัฒนา หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากสตรีเหล่านี้ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมได้อย่างไร

นายกรัฐมนตรี : เราจะมีทั้งรูปแบบของการที่เรียกว่าให้สตรี โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ในชุมชนที่ต้องการที่จะสร้างอาชีพหรือรายได้ สร้างงานเกิดขึ้นมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในลักษณะทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ หรืออาจจะเป็นทุนอุดหนุนซึ่งต้องแล้วแต่คณะกรรมการในจังหวัดที่จะนำพิจารณาว่าโครงการไหนที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน แต่สำหรับบทบาทของคณะกรรมการพัฒนากองทุนพัฒนาสตรีแห่งชาตินี้ก็จะช่วยในการวางยุทธศาสตร์ภาพรวมและกิจกรรมในการขับเคลื่อนร่วมกัน เพื่อประโยชน์ของสตรีใน 4 เรื่องด้วยกัน ยุทธศาสตร์แรกคือ ยุทธศาสตร์ในการที่ทำอย่างไรในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับสตรี อันที่ 2 คือ ยุทธศาสตร์ในการที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตของสตรีผู้ที่ต้องการโอกาส หรือต้องการได้รับความเป็นธรรมและความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกัน กลุ่มที่ 3 คือ การพัฒนาศักยภาพของผู้นำสตรีให้ก้าวจากเวทีชุมชนไปเป็นระดับประเทศ และรวมไปถึงระดับชาติ ที่จะเป็นความภูมิใจของคนไทยและสังคมไทยต่อไป สุดท้ายคือการรวมกันในการพัฒนาศักยภาพร่วมกับกองทุนหรือองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสตรีค่ะ

พิธีกร : ได้ยินกองทุนนี้มาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาขณะนี้โครงการนี้มีสมาชิกกี่คน และเริ่มมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง

นายกรัฐมนตรี : ตั้งแต่เริ่มประชาสัมพันธ์ไปให้ทางด้านของการรับรู้เรื่องของงานและภาระกิจของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ขณะวันนี้เรามีจำนวนสมาชิกปัจจุบันที่เข้าชื่อมาเพื่อที่จะช่วยกันร่วมในการทำงานกรรมการด้วยประมาณ 8 ล้านคน ไม่ได้หมายความว่าสมาชิกที่ไม่ได้สมัครจะไม่ได้รับสิทธิ์ในส่วนของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

พิธีกร : สมัครได้เรื่อย ๆ

นายกรัฐมนตรี : สมัครได้เรื่อย ๆ และจำนวนการรับสิทธิ์คือจะรับสิทธิ์ได้จะเป็นสมาชิกหรือไม่เป็นสมาชิกก็ตาม สามารถที่จะปรึกษาและขอในการรับสิทธิ์ต่าง ๆ ได้ในจังหวัด

พิธีกร : มีส่วนร่วมในโครงการได้ เพราะฉะนั้นต้องพูดคุยกันว่าในแต่ละจังหวัดมีการดำเนินการอย่างไรและสามารถที่จะดูว่าโครงการของแต่ละท่านจะดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

นายกรัฐมนตรี : แต่การเป็นสมาชิกจะทำให้เราได้เข้าใจความต้องการของสมาชิกได้ดีขึ้นและการติดต่อสื่อสารอาจจะเป็นไปในในทางตรงมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามท่านอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเราคงต้องใช้สื่ออื่น ๆ ในการประชาสัมพันธ์เพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งวันนี้ในส่วนของจังหวัดเราได้มีการคัดเลือกคณะกรรมการในระดับจังหวัดแล้ว มีคนทำงานแล้วแต่อยู่ในขั้นตอนอีกขั้นตอนหนึ่งคือขั้นตอนของการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัด เมื่อแต่งตั้งทั้งหมดแล้วคณะกรรมการสามารถที่จะคับเคลื่อนตามวงเงินที่รัฐบาลได้มีการโอนเงินไว้อยู่ที่จังหวัด


พิธีกร : มีการกำหนดไหมว่าแต่ละจังหวัดจะโอนเงินเท่าไร อย่างไร

นายกรัฐมนตรี : ภาพรวมเราโอนไป ณ วันนี้ทุกจังหวัดประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้นในส่วนของจังหวัดเองก็คงจะไปวางในเรื่องของวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำงานทั้งหมดและมีแผนการใช้งานซึ่งในจังหวัดไหนมีการใช้งบประมาณหมดแล้ว เราสามารถที่จะติดต่อในส่วนของคณะกรรมการที่จะโอนเงินไปเพิ่ม ซึ่งเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท

พิธีกร : การดำเนินของโครงการถือว่ามีการดำเนินการไปบางส่วนแล้ว ซึ่งคนที่มากำหนดทิศทางหรือว่าโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นสตรีด้วยกันทั้งสิ้น ส่วนใหญ่

นายกรัฐมนตรี : เป็นสตรีส่วนใหญ่แต่ก็มีสุภาพบุรุษที่ทำงานเพื่อสตรีมาได้ คณะกรรมการแห่งชาติได้มีตั้งคณะอนุกรรมการทั้งหมด 5 คณะ เพื่อที่จะเข้าไปทำการจัดกิจกรรมโดยการระดมความคิดและการมีส่วนในการร่างเนื้อหาในกรอบยุทธศาสตร์ใหญ่ และรวมถึงแผนกิจกรรมเพื่อให้แน่ใจว่าคณะกรรมการนี้หรือกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้มีการเข้าถึงและการที่ได้รับฟังปัญหาและการมีส่วนร่วมทั้งภาคประชาชน หน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องสตรีทั้งหมด

พิธีกร : คือเป็นการดูแลว่ากิจกรรมที่จะเกิดขึ้น โครงการ ยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนต่อไปนั้นเป็นอย่างไร

นายกรัฐมนตรี : และในอนาคตก็จะรวมถึงในเรื่องของกฎระเบียบต่าง ๆ ปัญหา อุปสรรค หรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียบกัน

พิธีกร : ท่านนายกฯ ได้กล่าวว่าสมาชิกกองทุนมีมากกว่า 8 ล้านคน ถ้าลงไปดูในรายละเอียดกลุ่มคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกเป็นอย่างไรกันบ้าง

สมาชิกกองทุนฯสตรี ต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพมากที่สุด
นายกรัฐมนตรี : เรียนว่าตรงกับสิ่งที่เราได้สำรวจมาเบื้องต้นว่าจำนวนสมาชิกในกลุ่ม 8 ล้านคน มีความหลากหลายในระดับภูมิภาค อายุ การศึกษา อาชีพต่าง ๆ สิ่งที่เราพบคือว่าร้อยละ 61 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท แปลว่ากองทุนนี้สามารถที่จะตอบโจทย์ว่าที่จะต้องการที่จะสร้างรายได้คุณภาพชีวิตเรื่องของการมีอาชีพมีรายได้เข้ามาในครอบครัว แต่ในกลุ่มนี้ประมาณ 67% พูดตรงกันว่ารายได้ที่ต่ำกว่า 5,000 บาท ไม่เพียงพอในการดำรงชีพ

พิธีกร : กองทุนฯ จะมาตอบโจทย์ตรงนี้ ถ้ามีการรวมตัวกัน มีการคิดโครงการก็สามารถจะสร้างรายได้ให้กลุ่มสตรีกว่า 60%

นายกรัฐมนตรี : สร้างรายได้นั้นก็แปลว่าสร้างเศรษฐกิจในครอบครัวและในชุมชนให้แข็งแรง

พิธีกร : และเศรษฐกิจที่เป็นฐานรากจะหมุนเวียนต่อได้ด้วย และปัญหาหรือสิ่งที่เขาอยากได้รับการช่วยเหลือมากที่สุดในช่วงนี้ ที่เราเป็นสมาชิกของกองทุนฯ คืออะไร

นายกรัฐมนตรี : ปัญหาเรื่องแรกคือเรื่องของรายได้ไม่เพียงพอ ประการที่ 2 คือเรื่องสุขภาพ ซึ่งกลายเป็นว่ากลุ่มนี้ เพราะจริง ๆ เราจะเข้าสู่สังคมที่เรียกว่าสังคมผู้สูงอายุ อันนี้เป็นปัญหาสุขภาพก็สะท้อนอยู่ในกลุ่มของกองทุนสมาชิกพัฒนาบทบาทสตรีนี้ สุดท้ายคือเรื่องการที่มีความต้องการทางด้านของโอกาสทางด้านของการศึกษา อาชีพ คือการที่ผู้ที่ขาดโอกาสมีอยู่ร้อยละ 16%

พิธีกร :  เพราะฉะนั้นเท่ากับว่ากองทุนฯนี้เกิดขึ้นอย่างกรรมการขับเคลื่อนมีบทบาทมากขึ้น คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาเรียบร้อยแล้ว การขับเคลื่อนโดยกลุ่มสตรีในชุมชนจะเดินหน้าไปรวมทั้งด้านมีปัญหาทางด้านรายได้ สุขภาพ การศึกษา จะมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนและมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีมากขึ้น

นายกรัฐมนตรี : โดยหลักเราอยากให้กองทุนนี้เป็นของสตรีทุกคนและเป็นกองทุนฯที่สตรีด้วยกันหรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสตรีได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรัฐบาลพร้อมในการที่จะอาศัยกองทุนฯ นี้ บูรณาการทุกกระทรวงที่ทำงานเกี่ยวกับสตรีในการที่จะผลักดันเพื่อให้สตรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีสุขภาพที่ดีและมีสิทธิเสรีภาพ และมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน

พิธีกร : ขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีมาก ท่านผู้ชมได้รับทราบแล้วว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้นั้นรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข ไม่มีสูตรสำเร็จใด ๆ ในการแก้ไขปัญหาได้ ท่านนายกฯได้มีการลงพื้นที่ และช่วยกันในการดูแลความต้องการของคนในพื้นที่ว่าขาดอะไรบ้างและเสริมอะไรบ้างเพื่อจะทำให้การใช้ชีวิตของพื้นที่นั้นอยู่ได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ยังมีการให้โอกาสกับสตรีของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อที่จะทำให้หญิงไทยนั้นมีความเท่าเทียมกันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ช่วงนี้พักคนสักครู่ ช่วงหน้าติดตามการทดสอบการระบายว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง


"นายกฯยิ่งลักษณ์" เล็งใช้กฎหมายอย่างสันติ รับมือสถานการณ์ใต้

8 กันายน 2555 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีโทรทัศน์ช่องเอ็นบีที ดำเนินรายการโดย นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โดยระบุว่า การลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อแก้ปัญหาประชาชน ได้ยึดหลักกฎหมายอย่างเป็นธรรม เพื่อรับมือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยได้ทำตามแนวทางที่น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือการเข้าใจ เข้าถึง และการพัฒนา 
รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ออกอากาศทาง NBT
โดยมีเนื้อความดังนี้ 

นายธีรัตถ์ รัตนเสวี (พิธีกร) : สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน วันนี้ผมธีรัตถ์ รัตนเสวี รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในภาคใต้รัฐบาลไม่เคยละเลยและล่าสุดนั้นเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาท่านนายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ภารกิจของท่านที่ลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง เรามาสอบถามกับท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ท่านนายกฯ สวัสดีครับ

นายกรัฐมนตรี : สวัสดีค่ะ

พิธีกร เรียนถามถึงมุมมองของท่านนายกรัฐมนตรีถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ รัฐบาลจะมีแนวทางในการรับมือและแก้ไขอย่างไรบ้าง

นายกรัฐมนตรี : ก่อนจะเล่าถึงรัฐบาลมีนโยบายอย่างไร ต้องเรียนว่าปัญหาภาคใต้จริง ๆ ต้องพูดว่าเป็นปัญหาระยะยาวต้องมีการแก้ไขและต้องใช้เวลาในการแก้ไข เป็นปัญหาที่เรียกว่าละเอียดอ่อนและซับซ้อน ดังนั้นการทำงานจริง ๆ คือว่าต้องทำความเข้าใจไปแก้ปัญหาไป ซึ่งเราต้องบอกว่าไม่มีสูตรใดสำเร็จแต่ต้องลงไปเข้าใจในพื้นที่ตามแนวที่เราน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือการเข้าใจเข้าถึงการพัฒนาและอาศัยการลงไปทำงานและค่อย ๆ แก้ไขไป ดังนั้นการลงไปภาคใต้ครั้งนี้ที่จังหวัดนราธิวาสได้มีโอกาสได้ลงไปพร้อมกับท่านรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 คน และอีก 5 กระทรวง ที่ลงไปในครั้งนี้และผู้บัญชาการกองทัพบกในฐานะที่เป็นรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และว่าที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่ลงไปพื้นที่ อย่างแรกที่เราลงไปคืออยากลงไปเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจพี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีโอกาสได้พบกับพระสงฆ์ ผู้นำศาสนา และไทยพุทธ ไทยมุสลิม ที่ได้มีโอกาสได้ไปให้กำลังใจพี่น้องประชาชนและดิฉันเองถือโอกาสลงไปฟังปัญหาในพื้นที่จริง ๆ ซึ่งปัญหาก็จะฟังจากภาคประชาชน ผู้นำองค์กร และผู้นำศาสนาด้วย ว่าปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ขวัญกำลังใจประชาชนเป็นอย่างไร สุดท้ายเรากลับมาในการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ที่ทางด้านของพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งในส่วนของแม่ทัพภาค 4 ในฐานะที่ดูแลกำกับในพื้นที่ส่วนหน้าของ กอ.รมน. และทางเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

พิธีกร : ได้มีการฟังสรุปรายงานต่าง ๆ จากคนในพื้นที่อย่างไรบ้างครับ

นายกรัฐมนตรี : ฟังการรายงานการสรุป ซึ่งจริง ๆ แล้ววัตถุประสงค์ที่เรามาคือ หนึ่งเราฟังรายงานการสรุปแล้ว เราก็ต้องการที่จะรับทราบปัญหาแล้วทำอย่างไรในพื้นที่ส่วนกลางหลายคนอาจจะบอกว่าเราอยู่พื้นที่กรุงเทพมหานครส่วนกลาง จะลงไปสั่งงานอย่างไรในเมื่อเราไม่เข้าใจปัญหาของพื้นที่แต่จริง ๆ แล้ววิธีการทำงานของเรานั้น มองว่าพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นศูนย์ส่วนหน้าเป็นผู้ที่เข้าถึงและเข้าใจปัญหามากกว่า ก็จะให้ส่วนนี้เป็นคนที่จะหารือเป็นคนหารือกันซึ่งหลัก ๆ จะเป็น ศอ.บต. และ กอ.รมน. ที่จะหารือกันรวมกับผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วมีอะไรที่ส่วนกลางที่เราจะร่วมสนับสนุน ซึ่งวันนี้สิ่งที่ได้คุยกันคือว่าจากภาพรวมโดยยุทธศาสตร์รวมที่ได้มีการเสนอไว้ต่อรัฐสภาก็ยังเป็นยุทธศาสตร์เดิม แต่ในทางปฏิบัติก็ยังเป็นแนวทางเดิม แต่ว่าเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเพื่อให้เราบูรณาการของกระทรวงอื่น ๆ ซึ่งหลาย ๆ กลุ่มอาจจะมองไม่เห็นในเรื่องของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน ซึ่งเราเองอยากจะเห็นความขับเคลื่อนที่ไม่ใช่เรียกว่าชัดเจน เรียกว่าความขับเคลื่อนที่รวมพลังกันในการที่จะช่วยเสริมกำลังในส่วนพื้นที่

พิธีกร : ผมว่าไม่ใช่แค่ทหาร ตำรวจในพื้นที่ หรือว่าชุมชนอย่างเดียวจะเห็นว่าท่านนายกฯ พยายามที่จะเน้นหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เรียกว่าหน่วยงานอื่น ๆ ที่ก่อนหน้านี้อาจจะไม่ได้ถูกดึงโยงลงมาในการแก้ไขปัญหาภาคใต้

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ ได้พาผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและเลขาธิการสภาพัฒน์ไปด้วยในพื้นที่ เราจะทำทั้งงานเรียกว่าดูแลความปลอดภัย ความมั่นคง และรวมถึงงานพัฒนาที่ควบคู่กันไป อันนี้จริง ๆ เราก็ทำอยู่แล้วและเจ้าหน้าที่ทุกท่านก็ทำอย่างเต็มที่ เราลงไปดูว่าในส่วนของรายละเอียดนั้นต้องการการสนับสนุนอย่างไรบ้าง อย่างเช่นสิ่งที่เราคุยกันว่าในส่วนเร่งด่วนพื้นที่บางพื้นที่ที่ต้องการอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเรื่องของการอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือประชาชนด้านชีวิต ทรัพย์สินต่าง ๆ มีความพร้อมแค่ไหน ต้องการกำลังสิ่งไหนที่เราจะช่วยในลักษณะของการบูรณาการ อันนี้ก็เป็นอย่างแรกซึ่งในการพูดคุยกันได้มีการหารือกันโดยข้อสรุปพูดถึงแนวทางในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน อย่างเรื่องแรกเรื่องของการป้องกันดูแลความปลอดภัย สิ่งที่เราพูดถึงคือว่าจะดูในแผนของการป้องกันหรือว่าเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการที่จะตรวจสอบหรือจุดตรวจต่าง ๆ ในเรื่องของการดูแลความปลอดภัยนั้น ในส่วนของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงต้องการอะไรบ้างก็ขอให้มีการสรุปในเรื่องของงบประมาณ

พิธีกร : อย่างเช่นว่าในบางพื้นที่ขาดกล้อง CCTV เหล่านี้ก็จะมีการคุยกันและหาทางที่จะซื้อให้เขาให้ได้

นายกรัฐมนตรี : ค่ะ ซึ่งต้องลงไปในรายพื้นที่ไม่ใช่บอกว่าจะติดตั้งกล้อง CCTV แต่จริง ๆ แล้วต้องบูรณาการว่ากล้องนี้จะติดจุดไหน แล้วเวลาดูแลใครจะเข้ามาดูแลรับผิดชอบในส่วนนี้ และจะเชื่อมต่ออย่างเช่นสถานที่ของเอกชนหรือบ้านเรือนที่มีความเป็นห่วงอย่างไร นี่ก็คือเรื่องแรกที่คุยกันและได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปสำรวจและเรื่องของการเตรียมพร้อมอย่างเช่น เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นรถพยาบาลทางกระทรวงสาธารณสุขเตรียมแพทย์พยาบาลพร้อมหรือไม่ในการดูแลชีวิตผู้คน หรือเรื่องของเครื่องดับเพลิงหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยในการกู้ภัยทั้งชีวิตคนและทรัพย์สิน รวมถึงกิจการร้านค้าด้วย อันนี้ก็คือให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ มีความเตรียมพร้อม

พิธีกร : คือเป็นการเน้นการดูแลความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ และรวมถึงมาตรการในเชิงรุกอย่างเช่น สิ่งที่เราต้องค่อยติดตามข้อมูลข่าวสารแต่ติดตามอย่างไรให้รวดเร็ว และได้มีการสะท้อนในเรื่องของการทำงานแต่ละพื้นที่เพื่อให้เข้าไปช่วยเหลือดูแลประชาชนได้เร็ว ดังนั้นการช่วยเหลือจะมีการดูทั้งในระดับที่เรียกว่าให้มวลชนมาช่วยกันดูแลพื้นที่ของตัวเองในชุมชนอย่างไร การที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกเสริมเพิ่มเติมขึ้นมา นอกเหนือจากส่วนของทาง กอ.รมน. ดูแล้วเพื่อที่จะให้ประชาชนมีความรู้สึกสบายใจ โดยเฉพาะพื้นที่ที่สามารถที่จะสัญจรไปมาได้จะมีการดูแลโดยประชาชนด้วยกัน

ประชาชนสามจังหวัดชายแดนใต้ ให้การต้อนรับนายกฯยิ่งลักษณ์ ด้วยความอบอุ่น
พิธีกร : ส่วนแนวทางในการสร้างความเข้าใจของคนในชุมชนดำเนินการอย่างไร

นายกรัฐมนตรี : อันนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าการสร้างความเข้าใจเมื่อก่อนเกิดเหตุหรือหลังเกิดเหตุก็ตาม การที่ให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงมาตรการการดูแลความปลอดภัยจากภาครัฐ และการสร้างความเข้าใจว่าจริง ๆ แล้ววันนี้ปัญหาทางภาคใต้ก็เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของการสร้างความเข้าใจสอดคล้องกัน และการที่ประสานให้ประชาชนมีส่วนร่วมและสร้างความเชื่อมั่น คงจะไม่ใช่แค่การความเชื่อมั่นในส่วนของพื้นที่เท่านั้นการเชื่อมั่นของนักลงทุน นักท่องเที่ยว แขกต่างประเทศ หรือว่าสิ่งต่าง ๆ นี้ก็ต้องมีกระบวนการกลไกในการสร้างความเข้าใจให้เกิดความเชื่อมั่นด้วย

พิธีกร : ส่วนผู้ที่สูญเสียกระบวนการในการเยียวยามีแนวทางช่วยไหมครับ

นายกรัฐมนตรี : กระบวนการการเยียวยาทางหน่วยมหาดไทยและ ศอ.บต. เป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแล ซึ่งเราเองก็มีในส่วนของงบประมาณในการที่จะเข้าไปดูแลเยียวยาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินต่าง ๆ อันนี้ก็ให้กระบวนการเยียวยานั้นให้แน่ใจว่ากลไกต่าง ๆ นั้นทำงานได้ดี ดิฉันเองได้มีโอกาสพบผู้ที่ได้รับการเยียวยาไปแล้วหลายท่านก็มีความรู้สึกดีขึ้นอันนี้ก็สิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะวันนี้เราจะพบว่ากระบวนการเยียวยาหลาย ๆ เรื่องก็ผูกพันกันต่อว่า ไม่ใช่แค่เยียวยาระยะสั้นแต่สิ่งที่ต้องดูแลอย่างเช่น สุภาพสตรีที่สามีอาจจะเสียชีวิตเป็นหญิงหม้ายจะดูแลอย่างไรในการดำรงชีวิตอยู่ การให้อาชีพ และวิธีการสร้างอาชีพต้องไปดูอีกว่าบางครั้งบางพื้นที่ไม่สะดวกในการเดินทางจะทำอย่างไรให้อยู่ที่บ้านและมีรายได้ สร้างรายได้ขึ้นมา และเพิ่มพูนความรู้ รวมถึงคุณภาพชีวิตเรื่องของการดูแลสาธารณูปโภคต่าง ๆ และอาจจะนำในเรื่องของการศึกษา กีฬา และในเรื่องของดนตรีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้คุณชีวิตผู้ที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีความรู้สึกที่ดีขึ้น

พิธีกร : คือไม่ใช่ว่าอยู่ในความหวาดกลัวแต่ว่าอยากจะให้คนที่อยู่ในพื้นที่ที่อาจจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และรัฐบาลเอาหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องลงไปใช้ในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตขึ้นมา

นายกรัฐมนตรี : เป็นการเรียนยืนยันว่ารัฐบาลให้ความสำคัญทั้งในส่วนของการดูแลด้านความมั่นคง และการพัฒนา สิ่งที่เราดูนอกเหนือจากนั้นในการที่ได้เชิญเจ้าหน้าสภาพัฒน์ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานอื่น ๆ นั้น เพื่อที่จะมาคุยกันว่าในส่วนของการวางแผนระยะยาวเรื่องของการที่จะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจในส่วนของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีการพัฒนาที่ดีขึ้น ทั้งเรื่องของถนน โลจิสติกส์ต่าง ๆ ซึ่งก็พบว่าในหลาย ๆ ที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและยังเป็นสถานที่ที่สามารถมีผู้คนมาท่องเที่ยว แต่กลับไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์ให้คนรับรู้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีปัญหาแต่อาจจะมีบางพื้นที่เท่านั้นที่เราต้องเข้าไป ในบางพื้นที่ที่ปลอดภัยอยากให้ได้มีโอกาสใช้ชีวิตเป็นปกติบ้าง

พิธีกร : คือมีการสร้างได้ให้กับชุมชนมีการเชิญนักท่องเที่ยวจากจังหวัดต่าง ๆ ไปเที่ยวดูว่าพื้นที่ภาคใต้ไม่ได้น่ากลัวหรือมีความรุนแรงแบบที่หลายคนคิด

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ ต้องดูในเรื่องของสถานที่บางสถานที่เราคิดว่าดูแล้วนั้นสามารถไปได้ต้องประสานงานกับฝ่ายความมั่นคงในการดูแลความปลอดภัยต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะทำให้คนที่เดินทางมารู้สึกสบายใจขึ้น

พิธีกร : กว่าครึ่งเรื่องของปากท้องของประชาชนในพื้นที่ บางชุมชนจะรู้สึกว่ามีความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไปประกอบอาชีพมีการแก้ปัญหาอย่างไรบ้างไหมครับ

นายกรัฐมนตรี : บางส่วนคงต้องไปสำรวจเส้นทางว่าเส้นทางไหนเป็นเส้นทางที่อาจจะเปลี่ยวหรืออันตราย คงต้องดูเรื่องไฟ สาธารณูปโภคในการตัดเส้นถนนต่าง ๆ ให้เดินทางได้ปลอดภัยขึ้นหรือบางที่ที่ในชุมชนมีโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ คงต้องไปช่วยดูในเรื่องของการปลอดภัยเพื่อให้คนมาทำงานและสามารถกลับบ้านได้ หรือว่ามีที่พักอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยคงต้องไปดูในรายละเอียด ซึ่งเบื้องต้นดิฉันได้มอบหมายให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัด แม่ทัพภาค 4 และ กอ.รมน. ลงไปทำงานในรายละเอียดพื้นที่และเราคงจะเข้าไปทำความเข้าใจและแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ว่าจะต้องใช้ส่วนไหนบ้าง กระทรวงไหนบ้างที่เข้าไปเสริมในการทำงาน

พิธีกร : คือ มีการดูแลเชิงมนุษยธรรม ให้ความเป็นอยู่เขาที่ดีขึ้น ทรัพย์สินปลอดภัยมากขึ้น แต่เรื่องของการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ในพื้นที่มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง

นายกรัฐมนตรี : การบังคับใช้กฎหมายมีหลายส่วนคือเรื่องของคดีความต้องมีหน่วยงานภายใต้กระทรวงยุติธรรมในการติดตามเรื่องคดีความ แต่ที่สำคัญต้องให้ความยุติธรรมและความเป็นธรรม และการบังคับใช้กฎหมายนี้ก็ต้องเป็นไปอย่างละมุนละม่อมด้วยวิธีทางกฎหมายและสันติวิธี อันนี้เป็นสิ่งที่ดิฉันเน้นย้ำว่าการดูแลพี่น้องประชาชนต้องดูแลให้เกิดความเป็นธรรมและมีความสงบ เชื่อว่าถ้าเราช่วยกันในการที่จะร่วมกันให้กำลังใจ สร้างพลังต่าง ๆ ให้กับคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งวันนี้กำลังใจพี่น้องประชาชนค่อนข้างดี ดิฉันเชื่อว่าพลังตรงนี้จะนำสันติสุขกลับคืนมา

พิธีกร : ซึ่งก็เป็นแนวทางที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบเอาไว้และพยายามปรับใช้ให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ เพราะอย่างที่ท่านบอกในตอนต้นว่าปัญหาภาคใต้คงไม่มีสูตรสำเร็จที่เบ็ดเสร็จในการแก้ปัญหาแต่ว่าเป็นปัญหาระยะยาวและละเอียดอ่อน แต่ถ้าทุกภาคส่วนร่วมมือกันช่วยเหลือกันน่าจะทำให้พี่น้องอยู่ได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ

อ้างอิงเพิ่มเติม นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตรวจเยี่ยมและติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ 
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.449601628417631.108576.105044319540032&type=3

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

"ยิ่งลักษณ์" หนุน OTOP พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน รับประชาคมอาเซียน

นายกฯ ยิ่งลักษณ์ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
และการแถลงข่าวโครงการยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ (OTOP PLUS)
Photo by Jay Redall Thailand
6 กันยายน 2555 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ ที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ว่า ในส่วนของสินค้าโอท็อปวันนี้ถ้าเราไปดูในรายละเอียด สินค้าโอท็อปมีความพร้อม หลายบริษัทมีศักยภาพในการส่งออก รวมถึงการขยายกำลังในการผลิตในประเทศด้วย ซึ่งสิ่งที่โอท็อปต้องการในการต่อยอดมีหลายประการ ประการแรกการร่วมกันในการทำวิจัย เพื่อค้นหาการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้รัฐบาลได้บูรณาการในส่วนของงงานวิจัย เพื่อนำเอาวัตถุดิบต่างๆ ในการคิดค้นรูปแบบให้เกิดความหลายหลายของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะทำให้สินค้าโอท็อปขายได้ในราคาที่มีคุณภาพ ให้สมกับฝีมือของการผลิต

สุดท้ายที่เรามองว่าสำคัญ คือเรื่องการตลาด ที่จะเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่าย ซึ่งช่องทางนี้รัฐบาลได้บูรณาการกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ และกระทรวงการคลัง ที่จะช่วยเพิ่มช่องทางในการตลาดและแหล่งเงินทุนให้กับสินค้าโอท็อป ทั้งในเรื่องของหน้าร้าน เว็ปไซด์ ส่วนกระทรวงการต่างประเทศได้มีการประสานกับท่านทูตให้ช่วยโปรโมทสินค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นอีกก้าวหนึ่งในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของไทย ให้เป็นที่รับทราบและรับรู้ ร่วมถึงการก้าวสู่ในเวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน