8 กันายน 2555 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีโทรทัศน์ช่องเอ็นบีที ดำเนินรายการโดย นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โดยระบุว่า การลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อแก้ปัญหาประชาชน ได้ยึดหลักกฎหมายอย่างเป็นธรรม เพื่อรับมือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยได้ทำตามแนวทางที่น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือการเข้าใจ เข้าถึง และการพัฒนา
โดยมีเนื้อความดังนี้
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี (พิธีกร) : สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน วันนี้ผมธีรัตถ์ รัตนเสวี รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในภาคใต้รัฐบาลไม่เคยละเลยและล่าสุดนั้นเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาท่านนายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ภารกิจของท่านที่ลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง เรามาสอบถามกับท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ท่านนายกฯ สวัสดีครับ
รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ออกอากาศทาง NBT |
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี (พิธีกร) : สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน วันนี้ผมธีรัตถ์ รัตนเสวี รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในภาคใต้รัฐบาลไม่เคยละเลยและล่าสุดนั้นเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาท่านนายกรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ภารกิจของท่านที่ลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง เรามาสอบถามกับท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ท่านนายกฯ สวัสดีครับ
นายกรัฐมนตรี : สวัสดีค่ะ
พิธีกร : เรียนถามถึงมุมมองของท่านนายกรัฐมนตรีถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้
รัฐบาลจะมีแนวทางในการรับมือและแก้ไขอย่างไรบ้าง
นายกรัฐมนตรี : ก่อนจะเล่าถึงรัฐบาลมีนโยบายอย่างไร
ต้องเรียนว่าปัญหาภาคใต้จริง ๆ
ต้องพูดว่าเป็นปัญหาระยะยาวต้องมีการแก้ไขและต้องใช้เวลาในการแก้ไข
เป็นปัญหาที่เรียกว่าละเอียดอ่อนและซับซ้อน ดังนั้นการทำงานจริง ๆ คือว่าต้องทำความเข้าใจไปแก้ปัญหาไป
ซึ่งเราต้องบอกว่าไม่มีสูตรใดสำเร็จแต่ต้องลงไปเข้าใจในพื้นที่ตามแนวที่เราน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คือการเข้าใจเข้าถึงการพัฒนาและอาศัยการลงไปทำงานและค่อย ๆ แก้ไขไป
ดังนั้นการลงไปภาคใต้ครั้งนี้ที่จังหวัดนราธิวาสได้มีโอกาสได้ลงไปพร้อมกับท่านรองนายกรัฐมนตรีทั้ง
2 คน และอีก 5 กระทรวง ที่ลงไปในครั้งนี้และผู้บัญชาการกองทัพบกในฐานะที่เป็นรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(กอ.รมน.) และว่าที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่ลงไปพื้นที่
อย่างแรกที่เราลงไปคืออยากลงไปเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจพี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
มีโอกาสได้พบกับพระสงฆ์ ผู้นำศาสนา และไทยพุทธ ไทยมุสลิม
ที่ได้มีโอกาสได้ไปให้กำลังใจพี่น้องประชาชนและดิฉันเองถือโอกาสลงไปฟังปัญหาในพื้นที่จริง
ๆ ซึ่งปัญหาก็จะฟังจากภาคประชาชน ผู้นำองค์กร และผู้นำศาสนาด้วย
ว่าปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ขวัญกำลังใจประชาชนเป็นอย่างไร
สุดท้ายเรากลับมาในการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ที่ทางด้านของพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งในส่วนของแม่ทัพภาค 4 ในฐานะที่ดูแลกำกับในพื้นที่ส่วนหน้าของ
กอ.รมน. และทางเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
และผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
พิธีกร :
ได้มีการฟังสรุปรายงานต่าง ๆ จากคนในพื้นที่อย่างไรบ้างครับ
นายกรัฐมนตรี :
ฟังการรายงานการสรุป ซึ่งจริง ๆ แล้ววัตถุประสงค์ที่เรามาคือ
หนึ่งเราฟังรายงานการสรุปแล้ว เราก็ต้องการที่จะรับทราบปัญหาแล้วทำอย่างไรในพื้นที่ส่วนกลางหลายคนอาจจะบอกว่าเราอยู่พื้นที่กรุงเทพมหานครส่วนกลาง
จะลงไปสั่งงานอย่างไรในเมื่อเราไม่เข้าใจปัญหาของพื้นที่แต่จริง ๆ
แล้ววิธีการทำงานของเรานั้น
มองว่าพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นศูนย์ส่วนหน้าเป็นผู้ที่เข้าถึงและเข้าใจปัญหามากกว่า
ก็จะให้ส่วนนี้เป็นคนที่จะหารือเป็นคนหารือกันซึ่งหลัก ๆ จะเป็น ศอ.บต. และ กอ.รมน.
ที่จะหารือกันรวมกับผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วมีอะไรที่ส่วนกลางที่เราจะร่วมสนับสนุน
ซึ่งวันนี้สิ่งที่ได้คุยกันคือว่าจากภาพรวมโดยยุทธศาสตร์รวมที่ได้มีการเสนอไว้ต่อรัฐสภาก็ยังเป็นยุทธศาสตร์เดิม
แต่ในทางปฏิบัติก็ยังเป็นแนวทางเดิม
แต่ว่าเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเพื่อให้เราบูรณาการของกระทรวงอื่น ๆ ซึ่งหลาย
ๆ กลุ่มอาจจะมองไม่เห็นในเรื่องของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน
ซึ่งเราเองอยากจะเห็นความขับเคลื่อนที่ไม่ใช่เรียกว่าชัดเจน
เรียกว่าความขับเคลื่อนที่รวมพลังกันในการที่จะช่วยเสริมกำลังในส่วนพื้นที่
พิธีกร : ผมว่าไม่ใช่แค่ทหาร
ตำรวจในพื้นที่ หรือว่าชุมชนอย่างเดียวจะเห็นว่าท่านนายกฯ พยายามที่จะเน้นหน่วยงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สภาพัฒน์) เรียกว่าหน่วยงานอื่น ๆ
ที่ก่อนหน้านี้อาจจะไม่ได้ถูกดึงโยงลงมาในการแก้ไขปัญหาภาคใต้
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ
ได้พาผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและเลขาธิการสภาพัฒน์ไปด้วยในพื้นที่
เราจะทำทั้งงานเรียกว่าดูแลความปลอดภัย ความมั่นคง
และรวมถึงงานพัฒนาที่ควบคู่กันไป อันนี้จริง ๆ
เราก็ทำอยู่แล้วและเจ้าหน้าที่ทุกท่านก็ทำอย่างเต็มที่
เราลงไปดูว่าในส่วนของรายละเอียดนั้นต้องการการสนับสนุนอย่างไรบ้าง อย่างเช่นสิ่งที่เราคุยกันว่าในส่วนเร่งด่วนพื้นที่บางพื้นที่ที่ต้องการอุปกรณ์ต่าง
ๆ ในเรื่องของการอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือประชาชนด้านชีวิต ทรัพย์สินต่าง ๆ
มีความพร้อมแค่ไหน ต้องการกำลังสิ่งไหนที่เราจะช่วยในลักษณะของการบูรณาการ
อันนี้ก็เป็นอย่างแรกซึ่งในการพูดคุยกันได้มีการหารือกันโดยข้อสรุปพูดถึงแนวทางในหลาย
ๆ ด้านด้วยกัน อย่างเรื่องแรกเรื่องของการป้องกันดูแลความปลอดภัย
สิ่งที่เราพูดถึงคือว่าจะดูในแผนของการป้องกันหรือว่าเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ
ในการที่จะตรวจสอบหรือจุดตรวจต่าง ๆ ในเรื่องของการดูแลความปลอดภัยนั้น ในส่วนของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงต้องการอะไรบ้างก็ขอให้มีการสรุปในเรื่องของงบประมาณ
พิธีกร :
อย่างเช่นว่าในบางพื้นที่ขาดกล้อง CCTV
เหล่านี้ก็จะมีการคุยกันและหาทางที่จะซื้อให้เขาให้ได้
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ
ซึ่งต้องลงไปในรายพื้นที่ไม่ใช่บอกว่าจะติดตั้งกล้อง CCTV แต่จริง ๆ แล้วต้องบูรณาการว่ากล้องนี้จะติดจุดไหน
แล้วเวลาดูแลใครจะเข้ามาดูแลรับผิดชอบในส่วนนี้
และจะเชื่อมต่ออย่างเช่นสถานที่ของเอกชนหรือบ้านเรือนที่มีความเป็นห่วงอย่างไร
นี่ก็คือเรื่องแรกที่คุยกันและได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปสำรวจและเรื่องของการเตรียมพร้อมอย่างเช่น
เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นรถพยาบาลทางกระทรวงสาธารณสุขเตรียมแพทย์พยาบาลพร้อมหรือไม่ในการดูแลชีวิตผู้คน
หรือเรื่องของเครื่องดับเพลิงหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่จะช่วยในการกู้ภัยทั้งชีวิตคนและทรัพย์สิน รวมถึงกิจการร้านค้าด้วย
อันนี้ก็คือให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ มีความเตรียมพร้อม
พิธีกร : คือเป็นการเน้นการดูแลความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ
และรวมถึงมาตรการในเชิงรุกอย่างเช่น
สิ่งที่เราต้องค่อยติดตามข้อมูลข่าวสารแต่ติดตามอย่างไรให้รวดเร็ว
และได้มีการสะท้อนในเรื่องของการทำงานแต่ละพื้นที่เพื่อให้เข้าไปช่วยเหลือดูแลประชาชนได้เร็ว
ดังนั้นการช่วยเหลือจะมีการดูทั้งในระดับที่เรียกว่าให้มวลชนมาช่วยกันดูแลพื้นที่ของตัวเองในชุมชนอย่างไร
การที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกเสริมเพิ่มเติมขึ้นมา
นอกเหนือจากส่วนของทาง กอ.รมน. ดูแล้วเพื่อที่จะให้ประชาชนมีความรู้สึกสบายใจ
โดยเฉพาะพื้นที่ที่สามารถที่จะสัญจรไปมาได้จะมีการดูแลโดยประชาชนด้วยกัน
ประชาชนสามจังหวัดชายแดนใต้ ให้การต้อนรับนายกฯยิ่งลักษณ์ ด้วยความอบอุ่น |
พิธีกร :
ส่วนแนวทางในการสร้างความเข้าใจของคนในชุมชนดำเนินการอย่างไร
นายกรัฐมนตรี :
อันนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าการสร้างความเข้าใจเมื่อก่อนเกิดเหตุหรือหลังเกิดเหตุก็ตาม
การที่ให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงมาตรการการดูแลความปลอดภัยจากภาครัฐ
และการสร้างความเข้าใจว่าจริง ๆ
แล้ววันนี้ปัญหาทางภาคใต้ก็เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของการสร้างความเข้าใจสอดคล้องกัน
และการที่ประสานให้ประชาชนมีส่วนร่วมและสร้างความเชื่อมั่น
คงจะไม่ใช่แค่การความเชื่อมั่นในส่วนของพื้นที่เท่านั้นการเชื่อมั่นของนักลงทุน
นักท่องเที่ยว แขกต่างประเทศ หรือว่าสิ่งต่าง ๆ นี้ก็ต้องมีกระบวนการกลไกในการสร้างความเข้าใจให้เกิดความเชื่อมั่นด้วย
พิธีกร :
ส่วนผู้ที่สูญเสียกระบวนการในการเยียวยามีแนวทางช่วยไหมครับ
นายกรัฐมนตรี :
กระบวนการการเยียวยาทางหน่วยมหาดไทยและ ศอ.บต. เป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแล
ซึ่งเราเองก็มีในส่วนของงบประมาณในการที่จะเข้าไปดูแลเยียวยาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวิต
ร่างกาย ทรัพย์สินต่าง ๆ อันนี้ก็ให้กระบวนการเยียวยานั้นให้แน่ใจว่ากลไกต่าง ๆ
นั้นทำงานได้ดี
ดิฉันเองได้มีโอกาสพบผู้ที่ได้รับการเยียวยาไปแล้วหลายท่านก็มีความรู้สึกดีขึ้นอันนี้ก็สิ่งหนึ่ง
โดยเฉพาะวันนี้เราจะพบว่ากระบวนการเยียวยาหลาย ๆ เรื่องก็ผูกพันกันต่อว่า
ไม่ใช่แค่เยียวยาระยะสั้นแต่สิ่งที่ต้องดูแลอย่างเช่น สุภาพสตรีที่สามีอาจจะเสียชีวิตเป็นหญิงหม้ายจะดูแลอย่างไรในการดำรงชีวิตอยู่
การให้อาชีพ
และวิธีการสร้างอาชีพต้องไปดูอีกว่าบางครั้งบางพื้นที่ไม่สะดวกในการเดินทางจะทำอย่างไรให้อยู่ที่บ้านและมีรายได้
สร้างรายได้ขึ้นมา และเพิ่มพูนความรู้
รวมถึงคุณภาพชีวิตเรื่องของการดูแลสาธารณูปโภคต่าง ๆ
และอาจจะนำในเรื่องของการศึกษา กีฬา และในเรื่องของดนตรีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้
เพื่อให้คุณชีวิตผู้ที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีความรู้สึกที่ดีขึ้น
พิธีกร : คือไม่ใช่ว่าอยู่ในความหวาดกลัวแต่ว่าอยากจะให้คนที่อยู่ในพื้นที่ที่อาจจะมีความรุนแรงเกิดขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
และรัฐบาลเอาหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องลงไปใช้ในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตขึ้นมา
นายกรัฐมนตรี : เป็นการเรียนยืนยันว่ารัฐบาลให้ความสำคัญทั้งในส่วนของการดูแลด้านความมั่นคง
และการพัฒนา สิ่งที่เราดูนอกเหนือจากนั้นในการที่ได้เชิญเจ้าหน้าสภาพัฒน์
สำนักงบประมาณ และหน่วยงานอื่น ๆ นั้น
เพื่อที่จะมาคุยกันว่าในส่วนของการวางแผนระยะยาวเรื่องของการที่จะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจในส่วนของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมีการพัฒนาที่ดีขึ้น
ทั้งเรื่องของถนน โลจิสติกส์ต่าง ๆ ซึ่งก็พบว่าในหลาย ๆ
ที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและยังเป็นสถานที่ที่สามารถมีผู้คนมาท่องเที่ยว
แต่กลับไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์ให้คนรับรู้
ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีปัญหาแต่อาจจะมีบางพื้นที่เท่านั้นที่เราต้องเข้าไป
ในบางพื้นที่ที่ปลอดภัยอยากให้ได้มีโอกาสใช้ชีวิตเป็นปกติบ้าง
พิธีกร : คือมีการสร้างได้ให้กับชุมชนมีการเชิญนักท่องเที่ยวจากจังหวัดต่าง
ๆ ไปเที่ยวดูว่าพื้นที่ภาคใต้ไม่ได้น่ากลัวหรือมีความรุนแรงแบบที่หลายคนคิด
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ
ต้องดูในเรื่องของสถานที่บางสถานที่เราคิดว่าดูแล้วนั้นสามารถไปได้ต้องประสานงานกับฝ่ายความมั่นคงในการดูแลความปลอดภัยต่าง
ๆ เหล่านี้ก็จะทำให้คนที่เดินทางมารู้สึกสบายใจขึ้น
พิธีกร : กว่าครึ่งเรื่องของปากท้องของประชาชนในพื้นที่
บางชุมชนจะรู้สึกว่ามีความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไปประกอบอาชีพมีการแก้ปัญหาอย่างไรบ้างไหมครับ
นายกรัฐมนตรี :
บางส่วนคงต้องไปสำรวจเส้นทางว่าเส้นทางไหนเป็นเส้นทางที่อาจจะเปลี่ยวหรืออันตราย
คงต้องดูเรื่องไฟ สาธารณูปโภคในการตัดเส้นถนนต่าง ๆ
ให้เดินทางได้ปลอดภัยขึ้นหรือบางที่ที่ในชุมชนมีโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
คงต้องไปช่วยดูในเรื่องของการปลอดภัยเพื่อให้คนมาทำงานและสามารถกลับบ้านได้
หรือว่ามีที่พักอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยคงต้องไปดูในรายละเอียด
ซึ่งเบื้องต้นดิฉันได้มอบหมายให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัด แม่ทัพภาค 4 และ กอ.รมน.
ลงไปทำงานในรายละเอียดพื้นที่และเราคงจะเข้าไปทำความเข้าใจและแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ว่าจะต้องใช้ส่วนไหนบ้าง
กระทรวงไหนบ้างที่เข้าไปเสริมในการทำงาน
พิธีกร : คือ มีการดูแลเชิงมนุษยธรรม
ให้ความเป็นอยู่เขาที่ดีขึ้น ทรัพย์สินปลอดภัยมากขึ้น
แต่เรื่องของการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ในพื้นที่มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง
นายกรัฐมนตรี :
การบังคับใช้กฎหมายมีหลายส่วนคือเรื่องของคดีความต้องมีหน่วยงานภายใต้กระทรวงยุติธรรมในการติดตามเรื่องคดีความ
แต่ที่สำคัญต้องให้ความยุติธรรมและความเป็นธรรม
และการบังคับใช้กฎหมายนี้ก็ต้องเป็นไปอย่างละมุนละม่อมด้วยวิธีทางกฎหมายและสันติวิธี
อันนี้เป็นสิ่งที่ดิฉันเน้นย้ำว่าการดูแลพี่น้องประชาชนต้องดูแลให้เกิดความเป็นธรรมและมีความสงบ
เชื่อว่าถ้าเราช่วยกันในการที่จะร่วมกันให้กำลังใจ สร้างพลังต่าง ๆ ให้กับคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งวันนี้กำลังใจพี่น้องประชาชนค่อนข้างดี
ดิฉันเชื่อว่าพลังตรงนี้จะนำสันติสุขกลับคืนมา
พิธีกร :
ซึ่งก็เป็นแนวทางที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบเอาไว้และพยายามปรับใช้ให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
เพราะอย่างที่ท่านบอกในตอนต้นว่าปัญหาภาคใต้คงไม่มีสูตรสำเร็จที่เบ็ดเสร็จในการแก้ปัญหาแต่ว่าเป็นปัญหาระยะยาวและละเอียดอ่อน
แต่ถ้าทุกภาคส่วนร่วมมือกันช่วยเหลือกันน่าจะทำให้พี่น้องอยู่ได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ
อ้างอิงเพิ่มเติม นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตรวจเยี่ยมและติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.449601628417631.108576.105044319540032&type=3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น