วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

เผยแนวทาง "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ดับไฟใต้ เน้นความมั่นคง-เร่งพัฒนา-ผลักดันการศึกษา

22 กันยายน 2555 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นแห่งชาติหรือ สมช. จัดรายรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน"โดยชี้แจงถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

พล.อ.ยุทธศักดิ์  กล่าวว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ ให้ สมช.ร่างแผนบริหารและพัฒนา ประจำปี 2555 ถึง 2557  ซึ่งเป็นแผนสืบเนื่องจากรัฐบาลที่แล้ว มาสำเร็จในปีนี้ โดยเสนอวุฒิสภาและผ่านเรียบร้อยแล้ว โดยมีออกมาเป็น 9 ยุทธศาสตร์ และได้ถูกแปลงโดย กอรมน.มาเป็น 6 ข้อ ศอ.บต ออกมาเป็น 9 ข้อ ซึ่งทาง สมช.เห็นว่า เมื่อแต่ล่ะหน่วยแปลงยุทธศาสตร์ ไม่เหมือนกัน จึงสร้างเป็นยุทธศาสตร์ 6 ข้อ เพื่อให้ทุกหน่วยได้นำมาใช้ร่วมกันออกมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

"ในส่วนของรัฐบาล ได้จัดตั้งหน่วยคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กปต.เพื่อขับเคลื่อน ประเมินผล ผลักดันการทำงานของหน่วยต่าง ๆ แต่เมื่อดำเนินการไปแล้ว ยังมีช่องว่าง ก็จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศปก.กปต. ขึ้นมา" พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าว

พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการหารือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ สส.ภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องปัญหาภาคใต้  ได้ให้ข้อคิดเห็น 9 ข้อ ซึ่งบางเรื่องกำลังทำอยู่ บางเครื่องกำลังเตรียมการ หลายเรื่องรับไปพิจารณาแก้ไข การหารือครั้งนี้ ได้ข้อคิดอย่างมาก รวมทั้ง ความคิดเห็นของ สส ภาคใต้ ที่ชี้แจงให้เห็นว่าแต่ละพื้นที่ มีปัญหาอะไร ที่จะขอให้รัฐบาลเข้าไปแก้ไข ทั้งนี้ กอ.รมน.และ ศอ.บต.รับจะประสานกับ สส.ฝ่ายค้าน และพร้อมที่จะพบปะประสานงานตอลดเวลาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

พล.ท.ภรดา กล่าวว่า การตั้ง ศปก.กปต.ไม่ซ้ำซ้อนกับ กปต.แต่จะทำงานควบคู่กันและสนับสุนน กปต.ให้มีประสิทธิภาพ หน่วยงานนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี

สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557 ประกอบด้วย 9 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้

ประเด็นที่ 1. การ พัฒนาการบริหารด้วยการมีส่วนร่วมและบูรณาการแก้ไขปัญหาพื้นที่พิเศษ
ประเด็นที่ 2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน ชุมชน ในการร่วมสร้างสันติสุข 
ประเด็นที่ 3. คือการสร้างพื้นที่และสภาพแวดล้อมเพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี ประเด็นที่ 4. การส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ภาษา ศิลปะพหุวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 
ประเด็นที่ 5. การ เพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ สิทธิมนุษยชน การอำนวยความเป็นธรรม การบังคับใช้กฎหมาย การส่งเสริมนำหลักศาสนาหรือความยุติธรรมในชุมชน ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรง
ประเด็นที่ 6. การเสริมสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มประสิทธิในการพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้อง กับศักยภาพของพื้นที่ วิถีชีวิตและความต้องการของประชาชน
ประเด็นที่ 7. การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต การท่องเที่ยว กีฬาและผู้ด้อยโอกาส
ประเด็นที่ 8. การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน
ประเด็นที่ 9. การเสริมสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

สำหรับเป้าหมายยุทธศาสตร์ร่วมของกอ.รมน. และศอ.บต. มีจำนวน 29 ข้อ คือ

1.พื้นที่เศรษฐกิจในเมืองสำคัญ และสถานที่สถานที่ชุมนุมสาธารณะ ปลอดพ้นจากความเสี่ยงของเหตุการณ์รุนแรงขนาดใหญ่เช่น เหตุระเบิดขนาดใหญ่ หรือพร้อมกันหลายจุด 
2.หมู่บ้าน/ชุมชนที่เป็นพื้นที่เขตอิทธิพลของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ลดจำนวนลงในพื้นที่เดิมและไม่ขยายเพิ่มในพื้นที่ใหม่
 3.ศาสนสถาน ศาสนบุคคล และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการคุ้มครอง/เฝ้าระวังให้ปลอดภัยจากเหตุรุนแรง 
4.เจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนประเพณี และผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมและรวดเร็ว 
5.คดีหรือเหตุการณ์ที่เป็นข้อสงสัยของประชาชนและต่างประเทศได้รับการเร่งรัดและนำ ไปสู่กระบวนการตรวจสอบโดยทันที เพื่อค้นหาความจริงให้ได้ข้อยุติและชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบอย่างต่อ เนื่องและทั่วถึง 
6.การดำเนินคดีความมั่นคงมีประสิทธิภาพ ทั้งกระบวนการรวบรวมพยานหลักฐานที่รัดกุมและโปร่งใสผู้ต้องหาได้รับการคุ้ม ครองสิทธิตามกฎหมาย และสามารถนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว 
7.กระบวน การยุติธรรมทางเลือกได้รับการสนับสนุน โดยให้ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา และชุมชน สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งและการระงับข้อพิพาท ผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบได้รับการเยียวยาที่เป็นธรรม 
8.ผู้ ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ได้รับการเยียวยาด้วยกระบวนการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งระดับปัจเจกครอบครัว และชุมชนที่ได้รับ รวมทั้ง ลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรง ตลอดจนสร้างความไว้วางใจ 
9.ประชาชนมีความเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นจริงในพื้นที่ผ่านเวทีการสื่อสารที่ส่งเสริมการพูดคุย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
10.จำนวน กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทาง และทักษะการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีด้วยวิธีการต่างๆเช่นการจัดหลัก สูตรอบรม หรือการสัมมนาเพิ่มมากขึ้นและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม
 11.การ ลงทุน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องมั่นคง สอดคล้องศักยภาพของพื้นที่ วิถีชีวิต ตรงกับความต้องการของประชาชน และมีผลต่อการสร้างอาชีพ และการกระจายรายได้ที่ทั่วถึงให้กับประชาชน ส่งผลให้อัตราการว่างงานในระดับหมู่บ้านลดลงอย่างต่อเนื่อง 
12.การ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ เทคโนโลยี ศักยภาพแรงงาน ทั้งต้นน้ำปลายน้ำ ครอบคลุมทั้งพื้นที่ ในประเทศและรอต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 
13.สถาบัน การศึกษาของรัฐและเอกชนได้รับการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรการศึกษาและครูทั้ง สายสามัญและศาสนาอย่างครบถ้วน และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานกลางของประเทศ
 14.เด็ก เยาวชน และผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษา ได้รับความรู้ การเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพ โดยการพัฒนา สร้างแหล่งเรียนรู้ และสนับสนุนระบบการศึกษานอกโรงเรียน 
15.ประชาชน ในพื้นที่เสี่ยนงได้รับหลักประกันของการมีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อการดำรงชีพและสร้างรายได้ที่พอเพียง ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย 
16.ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขและการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเต็มประสิทธิภาพ 
17.ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติตามประเพณีและศาสนา เป็นพลังสร้างสรรค์สังคมพหุวัฒนธรรมและเป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งภายนอกและภายในรวมทั้งเกิดความรู้สึกและความภาคภูมิใจในการเป็นพลเมืองไทย 
18.การฟื้นฟูอนุรักษ์ รักษาอัตลักษณ์ทางภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนมนพื้นที่เพิ่มขึ้น 
19.เด็กและเยาวชนมีความรู้ภาษาไทย ภาษามลายูและภาษามลายูถิ่นและภาษาต่างประเทศที่สำคัญในทุกระดับการศึกษา 
20.ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนนักการศึกษาสื่อมวลชน สตรีเด็กและเยาวชน มีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชนเพิ่มขึ้น 
21.ประชาชนได้รับข้อมูลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านและเป็นจริง และตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาในเชิงสร้างสรรค์ 
22.ประเด็นปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ถูกหยิบยกเป็นวาระระหว่างประเทศ อาทิ เวทีขององค์การความร่วมมืออิสลาม(OIC)และสหประชาชาติ 
23.ประชาชนในโลกมุสลิมและต่างประเทศมีความเข้าใจและสนับสนุนการพัฒนารวมทั้งแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือของประชาคมอาเซียนและกิจการฮัจญ์ 
24.หน่วยงานของรัฐมีประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกการจัดพื้นที่และกระบวนการสื่อสาร พุดคุย เพื่อลดและป้องกันการขยายตัวของความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนและระหว่างประชาชนกับประชาชนเพิ่มขึ้น 
25.จำนวนเวทีส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพูดคุยระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการแสวงหารูปแบบการกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีบทบาทและส่วนร่วมที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีมากขึ้น
26.ผู้มีความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ต่างจากรัฐ มีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลได้รับหลักประกันความปลอดภัยจากรัฐอย่างทั่วถึง 
27.กลไกขับเคลื่อนการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
28.ประชาชนมีส่วนร่วมในการนำนโยบายยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล 
29.เจ้าหน้าที่ทุกระดับต้องมีความเข้าใจนโยบายและยุทธศาสตร์ไปในทิศทางเดียวกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม
รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน 22 กันยายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น