วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เปิดคำปาฐกถา นายกฯยิ่งลักษณ์ “เพื่อไทย เพื่อประชาธิปไตย เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย”

(28 กรกฎาคม 2555 โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้จอมเทียน) - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ทยอยเข้าร่วมงานสัมมนา “ทิศทางการทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทย” ที่พัทยา อย่างคึกคัก ขณะที่นายกรัฐมนตรีจะร่วมปาฐกถาพิเศษ ในช่วงบ่าย 




การสัมมนาพรรคเพื่อไทย ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียนพัทยา จังหวัดชลบุรี บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ทั้งนี้ การสัมมนา “ทิศทางการทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทย” ในช่วงเช้า หลังจากพิธีเปิดการสัมมนา “ทิศทางการทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทย” โดยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคแล้ว จากนั้นจะเป็นการสัมมนาในหัวข้อ “1 ปีรัฐบาลเพื่อไทย : ผลสำเร็จและความพึงพอใจ” โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 

สำหรับในช่วงบ่าย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ก้าวต่อไป...รัฐบาลเพื่อไทย : มุ่งมั่น ตั้งใจ รับใช้ประชาชน” โดยมีเนื้อหาดังนี้


"เรียนท่านหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ท่านผู้อำนวยการและท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยทุกท่านค่ะ ก่อนอื่นขออนุญาตใช้เวลาของท่านร่วมกันไว้อาลัยให้กับ ส.ส.สถาพร มณีรัตน์ ซึ่งท่านเป็น ส.ส.ที่ทำงานร่วมกับพรรคมาเป็นเวลานานและขออนุญาตทุกท่านยืนพร้อมใจกันไว้อาลัย ขอบคุณค่ะ"

ที่ผ่านมารัฐบาลเจอปัญหาความยุ่งยากอะไร เราจะฝ่าฟันเดินหน้ารับใช้ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างไร ที่ท่านเลขาธิการนายกรัฐมนตรีบอกว่าวันที่ 23 สิงหาคม จะครบหนึ่งปี ดิฉันคิดว่าเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ความท้าทายต่างๆ ก็มีมาเยอะมาก แบ่งเป็นหลายๆ เรื่องที่จะเรียนให้ท่านสมาชิกฟังว่า เรื่องแรกตั้งแต่วันที่เริ่ม วันที่ 23 สิงหาคม ปีที่ผ่านมา วันที่ดิฉันลงหาเสียงในนามสมาชิกบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ก็เจอภาวะอุทกภัย วันแรกก็ยังบริหารประเทศไม่ได้ก็ลงพื้นที่สิ่งที่เจอคือภาวะแรกของรัฐบาลเลย ยังไม่ได้ดูแลพี่น้องประชาชนก็ต้องมาเจออุทกภัย วันนั้นต้องเรียนท่านว่าเรารู้สึกเป็นความทุกข์ใจของคนทั้งประเทศ เป็นภาระอันหนักอื้ง แบกไว้ สิ่งที่เราเจอบรรยากาศต่างๆ มาอีกทีน้ำก็เต็มแล้วจะระบายทิ้งที่ไหนก็ไม่ได้ เพราะน้ำเต็มหมดแล้ว นี้คือสิ่งแรกที่เราเจอในตอนแรก

ลำดับที่สองก็คือ การบริหารจัดการน้ำ ประตูระบายน้ำ สิ่งที่ต่างๆ เหล่านี้ ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่พร้อมจะรับมือกับอุทกภัยเช่นนี้มาก่อน ท่านคงจำได้ประตูระบายน้ำ พอเจอมวลน้ำขนาดใหญ่ ประตูระบายพัง เครื่องสูบน้ำ ท่านคงจำได้ดี เห็นเต็มเลย แต่ใช้ได้เพียงสองตัว การระบายน้ำแม้ว่าพร่องน้ำในเขื่อนไประบายน้ำไปเจออะไรก่อน แก้มลิง แก้มลิงที่เป็นแหล่งเก็บน้ำของท่านไม่มีพื้นที่ระบายน้ำออก ก็ใช้วิธีการเก็บน้ำไว้ รวมถึงคูคลองต่างๆ ที่มีผักตบชวา และสิ่งกีดขวางต่างๆ ไม่สามารถระบายได้อย่างเต็มที่ เป็นเหตุให้น้ำล้นจากคลองและไปท่วมบ้านเรือนของประชาชน เราสั่งเครื่องสูบน้ำจนเต็มหมดแล้วทุกพื้นที่ ที่ขายอยู่ทั่วไปก็เล็กไป ก็นำเข้า เป็นมหาอุทกภัยที่เป็นกันทั้งภูมิภาค ท่านก็ทราบ เราก็พยายามจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชน อาหารไม่ขาด แต่จุดกระจายสินค้าถูกปิด เพราะถนนขาด เข้าไม่ได้ ทำให้สินค้า ต่างๆ ขาด นี้คือปัญหาที่เราเจอ

ท่านลองคิดดูนะค่ะว่าสิ่งที่ท่านได้ฟังว่าการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ ทำไมจึงไม่เป็นเอกภาพ เพราะเรายังไม่ได้เชื่อมข้อมูล ในเรื่องเกี่ยวกับน้ำ และผลกระทบของการพยากรณ์อากาศด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวกับน้ำมี  12 หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องมากประมาณ 10 ก็ตั้งแต่กรมชลปะทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมพัฒนาที่ดิน กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรธรณี และสถาบันสาระสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและกรุงเทพมหานคร แน่นอนค่ะ เอกภาพการฟื้นฟูของ 12 หน่วยงานที่จะต้องมาบูรณาการกัน และต้องทำงานพร้อมๆ กันเพื่อรวมข้อมูลที่จะเตือนภัยพี่น้องประชาชนตรงนี้เป็นความยากลำบากเพราะว่าเราไม่สามารถจะแก้ได้ในเวลาทันที ข้อมูลจากส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ตรง แน่นอนเราเอาออกแต่น้ำในเขื่อน ท่านต้องไปดูน้ำในคลอง ทำไมน้ำในคลองล้นหนัก เพราะว่าแนวคันกันน้ำรอบบริเวณฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา น้ำจากทะเลเข้ามา นี้คือสิ่งที่ต้องเรียนว่าเป็นอุปสรรค

แต่ก็ต้องบอกว่าสิ่งที่เราขาดต้องขอบคุณท่านๆที่นี้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่าน หน่วยงานราชการ และประชาชน พร้อมใจกันค่ะ สิ่งที่ได้กลับมาคือ ความสามัคคีและมีน้ำใจของคนไทยทั้งประเทศที่ร่วมตัวกัน ช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ไปได้ เชื่อว่าสิ่งที่เราได้รับกลับมา น้ำใจของคนไทยที่ช่วยกัน นี้คือสิ่งที่เชื่อว่าท่านจะได้รับความสุขเช่นเดียวกันดิฉัน เราอยู่มาได้เพราะความรักที่คนไทยมีให้กัน ดิฉันก็หวังว่าด้วยความรักอันนี้เราจะร่วมพลังกัน สำหรับเรื่องของน้ำนอกจากงบประมาณที่เรานำมาใช้ งบประมาณปี 2555 เดือนกุมภา จนถึงเดือนนี้ เดือน กรกฎา 6 เดือนนะค่ะที่ท่านจะนำปัญหาที่ผ่านมาในในอดีตมาแก้ปัญหาภายในฝนนี้ก่อน เรายังไม่คุยถึงฝนหน้า ฝนนี้ต้องพร่องน้ำในเขื่อนก่อน จากก่อนนั้นน้ำจะเกินพิกัดอยู่ 45.55 ก็น่าจะซับน้ำประมาณ 15,000 ล้านลูกบาศก์เมตร


เรื่องที่สองการเร่งพื้นที่ต้นน้ำปลูกป่า เป็นสิ่งที่เราต้องทำ สิ่งที่เราต้องทำคือปลูกหญ้าแฝก เราจะสร้างฝ่าย สร้างป่าชะลอน้ำ จำนวน 2,800 แห่ง นะคะ ก็จะช่วยชะลอน้ำได้บ้าง ไม่ให้กระทบกับพี่น้องภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง นอกจากนี้เราก็ได้มีการเร่งดำเนินการฟื้นฟูในส่วนของแก้มลิงที่มีอยู่แล้ว เราจะเปิดพื้นที่แก้มลิงให้มีการระบายออก รวมกับการหาพื้นที่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อการเกษตร       และการซ่อมแซมประตูระบายน้ำทั้งหมด เพื่อให้ได้ 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงการขุดลอกคูคลอง ท่านสมาชิกช่วยรัฐบาลได้โดยการช่วยเป็นหูเป็นตา ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานทั้งหมดเสร็จภายในเวลา

รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมก็จะมีการปรับ การคมนาคมขนส่งเพื่อกระจายสินค้า ดิฉันเองก็มีหลักในการที่จะระบาย  พื้นที่ตอนปลายก็จะระบายน้ำอย่างเต็มที่ ขุดลอกคูคลอง ด้านกรมเจ้าท่า และการเร่งในการเปิดพื้นที่การระบายน้ำทั้งตะวันออกและตะวันตกด้วย สิ่งที่ผ่านมายกตัวอย่าง พื้นที่ชั้นนอกป้องกันเป็น 3 ชั้นเลย รวมไปถึงแหล่งเศรษฐกิจและแหล่งอุตสาหกรรม เราทำแบบนี้ทุกท่านอาจจะรู้สึกกังวลใจ โดยเฉพาะพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่าการระบายทั้งตะวันออกและตะวันตก ผ่านคูคลองลงประตูระบายน้ำผ่านกรุงเทพมหานคร เราจะผ่านมันไป จุดติดตั้งต่างๆ ทั้งปทุมธานีและนนทบุรีอยู่ในใจดิฉันตลอดมา ที่เราเห็นน้ำพื้นที่หลังบิ๊กแบ็คทั้งหมดจะถูกติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบายน้ำ ทุกอย่างจะถูกนำขึ้นเว็บไซต์หมดภายใต้การบริหารงานของเรา

เรียนต่อว่าเรื่องของการยกระดับการป้องกัน อย่างเช่นในชั้นนอก ฝั่งตะวันออก เราจะตัดทางยกระดับตั้งแต่เขื่อนพระราม 6 มาตามแนวคลองระพีพัฒน์แยกใต้ คลอง 3 ฝั่งตะวันตกก็จะปรับปรุงคันน้ำยกระดับถนนบริเวณริมคลองและแม่น้ำท่าจีน จำได้ปีที่ผ่านมา กรณีที่น้ำไหลทะลักเข้ามาก็จะซ่อมแซมถนนเรียบคลอง ชั้นในเป็นชั้นที่มีแนวคันราชดำริ แล้วจะเสริมยาวต่อไปฝั่งตะวันออกชั้นใน และเสริมคันน้ำจากปากคลองตรงแถวประตูจุฬาลงกรณ์ คลอง 7 เลียวมาตามถนนนิมิตใหม่ บรรจบกับแนวคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริไปจนถึงคลองกิ่งแก้วนะค่ะ เราก็จะซ่อมแซมถนนริมคลอง ตามทางรถไฟ ต้องเรียนว่าภายในเดือนสิงหาเราจะมีเว็บไซต์ให้ทุกท่านเข้าไปดูผ่านซีซีทีวี และการวัดระดับน้ำในจุดที่สำคัญ

สิ่งที่จะปรับปรุงเพิ่มคือ การจัดการงบประมาณที่หลายท่านได้เห็น เช่น      การตั้งคณะกรรมการ กตอ. เราจะทำงานรวมกับ ปภ. พื้นที่ เพราะหลายท่านจะเห็นว่าการจัดการอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่สำคัญ เราจะมีศูนย์ส่วนหน้า เราจะมีทุกจังหวัด ทั้งหมด รัฐบาลจะทำการตั้งศูนย์ส่วนหน้าไว้ทุกพื้นที่ โดยจะมีศูนย์ส่วนหน้าในการสั่งงานทั้งหมดวันนี้เราจะเริ่มในส่วนของน้ำต่อไปเราเริ่มกับทุกๆ อุทกภัย ประชาชนจะได้สบายใจ ภาวะปกติก็จะเป็นระดับนายอำเภอ ภาวะที่ร้ายก็จะเป็นระดับผู้ว่าราชการจังหวัด สุดท้ายก็จะเป็นนายกฯ ที่ผ่านมาท่านสมาชิก็ได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนมาเยอะ  ศูนย์นายกฯ อยู่ที่ไหน โรงพยาบาลมีเท่าไหร่ ก็เรียนให้ทราบว่าปลายเดือนสิงหาคม จะเปิดเว็บไซต์  ถ้าร่วมกันทำอย่างเต็มที่เราก็จะฝ่าอุปสรรคนี้ไปได้

หลังจากเจอเรื่องของอุทกภัยของชาติแล้ว เรื่องเศรษฐกิจก็หดตัว ไตรมาสสุดท้ายจะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น 0.1 รัฐบาลก็จะทำอย่างไรให้มันฟื้นตัวเร็วที่สุด ก็ขอเน้นย้ำว่าสัดส่วนการส่งออกและสัดส่วนที่อยู่ในประเทศก็ต้องการความแข็งแรงในประเทศ เพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เราจะทำอย่างไรให้ประชาชนทุกจังหวัดมีรายได้ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่าย ตามนโยบายที่เรามี 16 นโยบายที่เราจะต้องทำให้เสร็จภายในวันที่ 3 สิงหาคม ก็จะเดินหน้าต่อไป เราจะตอบโจทย์นโยบายของพรรค “ลดรายจ่าย ขยายโอกาส และก็สร้างรายได้” 3 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป     และต้องกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ คิดว่าจะทำให้พี่น้องประชาชนมีรายได้ดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ตามที่คาดหวังไว้ที่ 5.5 % ก็ต้องฝากท่านสมาชิกทุกท่านในการเข้าไปร่วมทำงานและรับฟังแลกเปลี่ยนกับพี่น้องประชาชน รับฟังความทุกยากของพี่น้องประชาชน และเป็นสิ่งที่พรรคให้ความสำคัญในการเข้าไปดูแล ต้องเรียนว่าเศรษฐกิจในประเทศต้องใช้เวลา การทำโครงสร้าง เน้นย้ำภาคการเกษตร จะทำอย่างไรให้เพิ่มพูน

วันก่อนดิฉันมีโอกาสได้ไปต่างจังหวัดก็เห็นว่าผลไม้เริ่มมาก แต่ผลไม้ที่มีคุณภาพดีส่งออกกลับมีน้อย ผลไม้ที่เหลือสิ่งที่พี่น้องประชาชนประสพอยู่คุณภาพไม่สูง ต้องคิดและเอาไปแก้ว่าจะต้องทำยังไงว่าการปลูกกับการขายจะสัมพันธ์กันน้อยเกินไป ราคาก็สูงมากเกินไป ราคาตก ทุกอย่างต้องปรับระหว่างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน เราจะทำควบคู่กันก็คือ จะนำในเรื่องของการพัฒนาแหล่งน้ำและนำการเพิ่มผลผลิตของภาคการเกษตรเข้ามาด้วย SME และดิฉันไม่ลืมสินค้าโอท็อป การทำงานของท้องถิ่น ท่านจะเห็นว่าโอท็อปวันนี้เราจะมีของดีมาก แต่บางครั้งเรามีของดีแต่ยากจน ทำให้คนมองไม่ออกว่าที่ไหนบ้างมีของดีมีจุดเด่น ที่ต้องทำคือ ต้องปรับปรุงคุณภาพและปริมาณ เราต้องเสริมสร้างและเร่งทำ ตรงไหนดีอยู่แล้วเราจะเร่งส่งออก ถ้าโอท็อปที่ไหนไม่มีจุดเด่นเราจะใช้กลไกของต่างประเทศช่วยนำผู้ซื้อมาหาผู้ขาย บางโครงการอาจรวมกันทำ เช่น อาจรับงานผลิตเสื้อผ้าของต่างประเทศชื่อดัง เย็บส่งออก สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราก็ต้องทำ เราต้องเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้การตลาด ยกตัวอย่างเช่นกระเป๋าที่มาจากฝักตบชวาพี่น้องประชาชนสานได้สวยมากแต่ถ้าเพิ่มคุณภาพนิดหนึ่ง อย่างเช่น สร้างความแข็งแรง บวกกับความสวยก็จะขายได้เป็นหมื่น การสร้างรายได้เพิ่มการสร้างกลไกการตลาด การตลาดสินค้าโอท็อปก็เราเน้นเป็นกลุ่มๆ เราจะเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่าย เราจะประสานกับทางด้านของโมเดิร์นเทรด หรือทางห้าง เพื่อให้มีสินค้าไทยอยู่ในทุกที่ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนขายของได้ เราจะเข้าไปร่วมกันทำงานและภาครัฐต้องร่วมมือกันในการสั่งซื้อของและใช้สินค้าโอท็อป เป็นสิ่งที่เราจะช่วยให้สินค้าโอท็อปได้เติบโต นี้เป็นเรื่องเศรษฐกิจในประเทศ

เรียนว่า วันนี้การทำงานที่ผ่านมา 11 เดือน แต่จะรู้ว่าไปซัก 3 เดือน จะทำงานซัก 6 เดือน ตอนนี้ไปแล้ว 17 ประเทศค่ะ ก็เดินทางอยู่ 17 ประเทศ ต้องเรียนว่า ทุกครั้งที่เดินทาง เราไปเปิดการค้าการลงทุนซึ่งตอนนี้กระทรวงอุตสาหกรรมเรียนว่ายอดผู้ที่จะมาลงทุนเพิ่มขึ้น ณ วันนี้เราทำงานอยู่ 6 เดือน เป็นสิ่งที่น่าชื่นใจว่าระยะยาวจะมีผู้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยและต้องเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนของคนไทย และต้องมองถึงการเปิดประชาคมอาเซียน หลายท่านก็คงจะคุ้นเคยคำนี้ดี แต่สิ่งที่เราจะทำต่อไปอีก 3 ปีข้างหน้าคือสร้างความแข็งแรง เตรียมความพร้อม ที่ผ่านมาได้มีโอกาสทำเวิร์คช็อปประเทศในอาเซียนแต่ละกระทรวง   เราก็จะนำแต่ละกระทรวงไป และจะมาบูรณาการต่างๆ วาระเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเรื่องของการพัฒนา แต่สุดท้ายเราจะมาทำตามจังหวัดด้วยนะค่ะ ท่านสมาชิกจะช่วยเราได้ในการที่จะรับฟังข้อเสนอต่างๆจากประชาชน เพราะว่าถ้าเราเปิดการค้าเสรีแล้วในแต่ละจังหวัดต้องการพัฒนาอย่างไร สิ่งที่เราต้องเตรียมความพร้อม จากภาครัฐ สู่ภาคเอกชน โดยการทำเวิร์คช็อปตามจังหวัด และทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ

วันนี้รัฐบาลได้รับการตอบรับในการเดินทางไปเยือนต่างประเทศ 17 ประเทศ เพราะรัฐบาลนี้ได้รับการยอมรับจากประชาชนและเลือกโดยประชาชน เรียนทุกท่านไว้ตรงนี้ด้วย โดยเฉพาะยุโรปที่เราไม่ได้เดินทางไปเยือนประมาณ 7 ปี ต่างชาติให้ความสนใจมาก การเคารพในเสียงของประชาชน เราให้ประเทศเดินไปภายใต้กรอบของนิติรัฐ ความเสมอภาคและยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน นี้เป็นจุดที่จะเกิดเศรษฐกิจขึ้น เขาพร้อมจะมาลงทุนในประเทศไทย มั่นใจว่าจะได้รับความเสมอภาค ต้องเรียนว่าเราเดินหน้าและได้รับการตอบรับจากต่างประเทศ เพราะเราได้การยอมรับจากประชาชน ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ต้องเรียนว่าการเมืองปีนี้ ตัวดิฉันเองถือว่ามี 2 บทบาท บทบาทที่ 1 เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย อีกบทบาทหนึ่ง คือ บทบาทของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องดูแลประชาชนทั้งประเทศ เป็นทั้งความภูมิใจ เราต้องทำยังไง ถึงจะประคองเรื่องของส่วนรวมให้มากที่สุด อาจจะมีหลายครั้งอาจจะมองในมุมมองว่ารัฐบาลนี้ตัดสินใจไม่ดี ตัดสินใจช้าบ้าง ถอยบ้าง เรียนยืนยันว่าจุดยืนของเราไม่ถอยค่ะ แต่ที่บอกว่าช้าหรือถอยนั้น ก็เพื่อลดความขัดแย้ง แต่ต้องการเห็นการมีส่วนร่วมและความมีประชาธิปไตยอย่างแท้จริงค่ะ

ในการทำงานการเมือง ดิฉันยึดหลักความสมดุล ถามว่าทำไมยึดหลักความสมดุล เพราะว่าเรามีหลายบทบาท แต่บทบาทที่สำคัญคือ เราต้องทำให้พี่น้องประชาชนมีความสุข จุดยืนที่เราสัญญาไว้กับพี่น้องประชาชนเราต้องดู จุดยืนเรื่องความเป็นประชาธิปไตย เราต้องทำก็คือเราจะทำอย่างไรเพื่อลดความขัดแย้ง อย่างที่บอก จุดยืนไม่ถอย แต่ถอยเพื่อลดความขัดแย้ง แต่จะเร่งเดินหน้าเพื่อสร้างความเข้าใจของพี่น้องประชาชน ต้องเรียนว่าการเมืองนี้ สิ่งที่เป็นเป้าหมายของทั้งพรรค และรัฐบาลก็เชื่อว่าเป็นเป้าหมายในการให้ประเทศเดินไปข้างหน้า การสร้างความสามัคคีปรองดองขึ้น  ดิฉันคิดว่าวันนี้ไม่มีคนไหนในประเทศจะปฏิเสธ แต่วิธีการต่างหากที่เราจะต้องช่วยกันคิด เพื่อจะได้เดินหน้า เร่งให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วม

ถามว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ดี ก็เปรียบเสมือนที่เราบอกว่าเราจะสร้างบ้านใหม่ด้วยกัน เราจะเดินไปด้วยกัน เราจะทำอย่างไร เราจะประคองความเข้าใจที่ตรงกัน เราอย่าลืมเป้าหมายว่าจะทำอย่างไร ให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย เกิดปรองดอง ต้องช่วยๆ กันเพื่อสร้างความมั่นใจ ดิฉันเพียงคนเดียวก็คงทำไม่สำเร็จ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ เราจะพร้อมใจกัน

สิ่งหนึ่งต้องเรียนว่าบทบาทของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดิฉันก็เป็น ส.ส. คนหนึ่ง ต้องเรียนว่าดิฉันต้องดูแลความรู้สึกของพี่น้องประชาชน เราควรทำความเข้าใจและชี้แจงต่อประชาชน แม้ทำงานบริหารก็อย่าลืมลงไปดูแลพื้นที่ ดูแลประชาชน ต้องมาประชุม และต้องร่วมกันทำงานในสภาเพื่อช่วยกันทำให้กลไกของสภา เป็นกลไกของประชาธิปไตย อันนี้ก็เป็นบทบาทถ้าเราทำได้ดี การเลือกตั้งครั้งหน้า ประชาชนก็จะไว้ใจเรา นี้คือสิ่งที่เราต้องทำต่อใช่ไหมค่ะ

ดังนั้นดิฉันก็ขอเรียนสรุปย่อๆ อยากเรียนท่านสมาชิกว่าการที่เราจะทำงานร่วมกัน การที่จะทำให้ประเทศเดินหน้าได้อย่างมั่นคงและสมบูรณ์ ดิฉันมองว่าสิ่งที่เราต้องทำด้วยกันก็คือมุ่งมั่นทำงานเพื่อรับใช้ประชาชน สร้างสมดุลเพื่อลดความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจในการมีส่วนร่วม พร้อมกับก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและถาวรต่อไปค่ะ ขอขอบคุณท่านสมาชิกทุกท่านค่ะ

"ยิ่งลักษณ์" กล่าวปาฐกถา สรุปปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำ

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ
“ก้าวต่อไป ...รัฐบาลเพื่อไทย : มุ่งมั่น ตั้งใจ รับใช้ประชาชน”
28 กรกฎาคม 2555 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ก้าวต่อไป ...รัฐบาลเพื่อไทย : มุ่งมั่น ตั้งใจ รับใช้ประชาชน” ในการสัมนา "ทิศทางการทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทย" ที่ โรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับปัญหาในการบริหารจัดการน้ำในปี 2554 ดังนี้

ปัญหาในการบริหารจัดการน้ำในปี 2554


1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change)
จากผลของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้ช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2554 มีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 30 ปีถึง ร้อยละ 32 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ 5 ลูกด้วยกัน (ไหหม่า, นกเตน, ไห่ถาง, เนสาด, นาลแก)

2. ความไม่พร้อมทั้งในส่วนของ infrastructure และ การบริหารจัดการ
  • ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่าง ไม่ได้มีการบริหารจัดการปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ช่วงรัฐบาลที่แล้วจึงทำให้อ่างเก็บน้ำหลักๆ เช่น เขื่อนสิริกิต์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำมากถึงจุดวิกฤติของเขื่อนจึงทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำที่เพิ่มเป็นจำนวนมากได้ นอกจากนี้ยังจะต้องมีการระบายน้ำออกเพิ่มอีกด้วย
  • แก้มลิง ในส่วนของพื้นที่รับน้ำนองก็ไม่ได้มีการบริหารจัดการ หรือจัดเตรียมพื้นที่สำหรับรองรับน้ำไว้ ทำให้ไม่สามารถรับน้ำปริมาณมากจากพายุและน้ำที่ระบายออกจากอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ
  • การระบายน้ำ ในส่วนของการบริหารจัดการการระบายน้ำ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธภาพเนื่องการคลองไม่ได้มีการขุดลอกและมีสิ่งกีดขวาง เช่นสิ่งก่อสร้างและผักตบชวา เป็นต้น
  • เครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำ นอกจากจะมีจำนวนไม่เพียงพอแล้ว เครื่องที่ได้มีการติดตั้งไปแล้วยังไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากชำรุดหรือใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ (Full Load)
  • นิคมอุตสาหกรรมและเขตเศรษกิจที่สำคัญ การเตรียมการเพื่อป้องกันน้ำท่วมมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะคันกั้นน้ำรอบนิคมอุตสาหกรรม ที่ไม่ได้ถูกออกแบบไว้เพื่อรองรับน้ำปริมาณมากเช่นปีที่แล้ว

3. การบริหารจัดการขาดการบูรณาการ (มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
  • ขาดการบูรณาการในการบริหารจัดการน้ำ นอกจากจะไม่พร้อมในส่วนของ Infrastructure hardware soft ware แล้ว การบริหารจัดการยังไม่ได้มีการบูรณาการ โดยขอยกตัวอย่างในส่วนของการระบายน้ำ มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทานรับผิดชอบในส่วนของแผนการและแนวทางการระบาย ผู้ว่าราชการจังหวัด (กระทรวงมหาดไทย) ที่ดูแลพื้นที่โดยเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการเจรากับมวลชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำนอกจากนี้ ยังมีในส่วนของกระทรวงคมนาคมที่จะต้องดูแลในส่วนของเส้นทางคมนาคมที่เป็นอุปสรรดต่อการระบายน้ำ ดังนั้นการขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการบริหารจัดการ
  • การพยากรณ์และระบบคลังข้อมูลในส่วนของการพยากรณอากาศเพื่อใช้ในการเตือนภัยและช่วยตัดสินใจกำหนดมาตรการการบริหารจัดการน้ำ ส่วนราชการได้มีการดำเนินการอยู่แล้วโดยมีข้อมูลและเครื่องมือค่อนข้างพร้อม ทั้งนี้ ปัญหาหลักคือการขาดการบูรณาการ โดยขอยกตัวอย่างในส่วนของการเตรียมการเชื่อมคลังข้อมูลในการพยากรณ์จะต้องมีการเชื่อมทั้งหมด 12 หน่วยงานประกอบไปด้วย 1. กรมชลประทาน 2. กรมอุตุนิยมวิทยา 3.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 4. กรมทรัพยากรน้ำ  5. กรมอุทกศาสตรของกองทัพเรือ 6. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 7. กรมพัฒนาที่ดิน 8. กรมเจ้าท่า 9. กรมทรัพยากรธรณี 10.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน) 11. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 12. กรุงเทพมหานคร
  • ขาดการสื่อสารกับประชาชนอย่างเป็นเอกภาพ อีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญในช่วงน้ำท่วมปีที่แล้วคือการขาดการสื่อสารต่อพี่น้องประชาชนอย่างเป็นเอกภาพโดย ซึ่งก็เป็นผลต่อเนื่องจากการการขาดการบริหารจัดการแบบบูรณาการของทุกหน่วยงาน หรือขาด Single Command จึงทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความสับสนจากข้อมูลที่มาจาดหลายแล่ง และไม่สามารถเตรียมพร้อมรองรับน้ำท่วมได้ดีเท่าที่ควร
4. ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ
  • ในช่วงที่อยู่ระหว่างภาวะวิกฤติ เป็นช่วงก่อนที่ พ.ร.บ.งบประมาณ 2555 จะประกาศใช้ (8 ก.พ. 55) รัฐบาลไม่สามารถใช้งบประมาณ งบกลาง 120,000 ล้านบาทได้ในช่วงดังกล่าว ทำให้ต้องบริหารจัดการแก้ไขปัญหาโดยใช้งบประมาณ 54 พลางก่อน ในส่วนของงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งเป็นงบประมาณที่ต้องใช้ในการบริหารราชการเรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องอุทกภัยด้วย โดยก่อนที่ พ.ร.บ. จะประกาศใช้ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอุทกภัยไปทั้งสิ้น 74,745.4323 ล้านบาท
  • เนื่องจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ความต้องการงบประมาณเพื่อเยียวยา ฟื้นฟู ซ่อมแซม มีจำนวนมาก (มากกว่า 120,000 ล้านบาท) รัฐบาลจึงได้ใช้กลไกในการเร่งรัดติดตามการดำเนินงาน และเรียกคืนเงินงบประมาณที่เหลือจ่าย หรือคาดว่าจะใช้ไม่ทัน เพื่อนำมาจัดสรรให้กับหน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องในการฟื้นฟูซ่อมแซมและเตรียมการป้องกันอุทกภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้
5. สถานะปัจจุบัน
จากปัญหาที่ได้ประสบในปีที่แล้ว รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อป้องกันและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนให้ทันฤดูน้ำหลาก โดยมีการตั้ง กนอช. / กบอ. / สบอช. เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยทั้งระบบให้เกิดเอกภาพ (Single Command Center)
  • เตรียมรับมือสถานการณ์อุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้น โดย ต้นน้ำ– (ปลูกป่า / หญ้าแฝก / สร้างฝาย / บริหารจัดการน้ำในเขื่อน) กลางน้ำ (จัดหาพื้นที่รองรับน้ำ 2 ล้านไร่/ ขุดลอกแก้มลิง / สร้างอาคาร บังคับน้ำ) และ ปลายน้ำ
  • ป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ โดยการสร้างและเสริมคันกั้นน้ำปิดล้อม 3 ชั้น
  • เร่งระบายน้ำ ออกทาง 2 ฝั่ง ตะวันออกและตะวันตก และแนวดิ่ง โดยการเร่งรัดการขุดลอกคูคลอง ซ่อมแซมประตูระบายน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ
  • การบูรณาการคลังข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ประมวลข้อมูล การแจ้งเตือนภัย โดย จัดทำ website 3 Tier (T1 – ประชาชน / สื่อ , T2 – ผู้บริหาร / พื้นที่ , T3 – เทคนิค)
  • เตรียมจัดงานแถลงข่าว + นิทรรศการเรื่องน้ำในช่วงเดือนสิงหาคมนี้

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

“ยิ่งลักษณ์” ประกาศ "จุดยืนไม่ถอย" กลางวงสัมมนาพรรคเพื่อไทย เผยเหตุตัดสินใจช้าเพื่อลดความขัดแย้ง

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ก้าวต่อไป ...รัฐบาลเพื่อไทย : มุ่งมั่น ตั้งใจ รับใช้ประชาชน” ในการสัมนา "ทิศทางการทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทย"  ที่ โรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า การเมืองวันนี้  ตนเองมี 2 บทบาท คือ เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และเป็นนายกรัฐมนตรี ดูแลประชาชน ซึ่งมีทั้งความภูมิใจและทำอย่างไรที่จะประครองส่วนรวม เพราะหลายครั้งรัฐบาลถูกมองว่า ตัดสินใจช้า หรือถอย แต่ตนขอยืนยันว่าจุดยืนของเราไม่ถอย แต่สิ่งที่ช้า ดูเหมือนถอยนั้น เป็นไปเพื่อลดความขัดแย้ง ต้องการการมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

จึงยึดหลักความสมดุลในการทำงานการเมืองเพราะเรามีหลายบทบาทแม้แต่ ส.ส. ก็มีหลายบทบาท เราจะทำอย่างไรให้ดีที่สุด รักษาจุดยืนที่ให้สัญญากับประชาชน ต้องดำรงอยู่ แต่เราต้องลดบรรยากาศความขัดแย้งและประสานความเข้าใจ

น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวย้ำอีกว่าจุดยืนไม่ถอย แต่ลดความขัดแย้ง เร่งเดินหน้าทำความเข้าใจ ประชาชน โดยสิ่งที่เป็นเป้าหมายของพรรคและรัฐบาลตรงกัน ต้องทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้า แต่เราต้องช่วยกันคิดวิธีการ อยากเห็นประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้กฎหมาย ซึ่งเปรียบเหมือนการสร้างบ้านใหม่ด้วยกัน ประครองความเข้าใจ ต้องตั้งเป้าหมาย ความเป็นประชาธิปไตย ความเข้าใจกัน ให้เกิดการปรองดอง ซึ่ง รัฐบาลทำฝ่ายเดียวไม่สำเร็จ ต้อง ส.ส. และ ประชาชนร่วมมือด้วย

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ตนเองเป็น ส.ส. คนหนึ่ง ต้องดูแลความทุกข์สุขประชาชน แม้จะทำงานบริหารก็ต้องลงพื้นที่ดูแลประชาชน พวกเราต้องทำให้สภาเป็นกลไกประชาธิปไตยทำงานร่วมกันอย่างแข็งแรง การเลือกตั้งครั้งหน้าประชาชนจะไว้ใจให้เราทำงานต่อ ซึ่งการจะทำงานร่วมกัน ต้องมุ่งมั่นทำงานเพื่อรับใช้ประชาชน สร้างสมดุล ลดความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วมเพื่อก้าวไปด้วยกัน

น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวถึงการเริ่มเข้ารับตำแหน่งเมื่อปีที่แล้วว่าวันที่ 23 ส.ค. เมื่อปีที่ผ่านมา เจอภาวะ อุทกภัยน้ำท่วมต้องรับมือลงพื้นที่ก่อนแถลงรัฐสภา เป็นภาวะพูดไม่ออก เพราะน้ำท่วมไม่รู้จะระบายไปไหน นี่คือสิ่งที่เจอในวันแรก สิ่งที่เจอในวันที่ 2 คือ โครงสร้างต่างๆ ประตูระบายน้ำ ไม่ได้มีความพร้อมรับมหาอุทกภัย เครื่องสูบน้ำก็ใช้ได้ทุกเครื่อง เพราะติดปัญหาการบริหาร รวมทั้งคูคลองต่างๆ มีสิ่งกีดขวางไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างเต็มที่ วันนั้น เราสั่งเครื่องสูบน้ำต้องสั่งนำเข้า เพราะทุกพื้นที่เป็นเครื่องเล็กเกินไป สินค้าขนส่งไม่ได้

สาเหตุที่ทำไมการทำงานจึงไม่เป็นเอกภาพเพราะข้อเท็จจริงขณะนั้นยังไม่มีการเชื่อมข้อมูลน้ำและการพยากรณ์อากาศซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับน้ำถึง  12 หน่วยงาน อย่างไรก็ตาม การฟันฝ่าอุปสรรคสามารถผ่านไปได้ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ต้องขอขอบคุณสมาชิกทุกคน และทุกภาคส่วนที่ร่วมกันทำงาน ภายในเดือนสิงหาคมนี้ จะมีเวบไซต์ ที่มีข้อมูลทางเทคนิค และมีการจัดการซิงเกิลคอมมานด์ สังเกตการณ์ระดับน้ำด้วยกล้องวงจรปิด เพื่อเตรียมรับมือการแก้ปัญหาน้ำท่วม 

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวด้วยว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออก ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ พยายามไม่พึ่งพาเศรษฐกิจโลก ทำอย่างไรจะลดค่าใช้จ่าย ประชาชน ดังนั้น หลายนโยบายจะลดรายจ่าย สร้างรายได้ ขยายโอกาส ให้แก่ประชาชน 3 สิ่งนี้ จะทำควบคู่เพื่อตอบโจทย์ เศรษฐกิจในประเทศ

การเคารพในเสียงประชาชน เดินภายใต้กรอบนิติรัฐ การมีเสรีภาพ จะมีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะต่างชาติ จะมั่นใจในการลงทุน ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้รับการตอบรับจากต่างประเทศ เพราะเราได้รับการยอมรับจากประชาชน


อ้างอิง-ภาพประกอบ มติชน / News Center

"ยิ่งลักษณ์" เผยเตรียมมอบบัตรเครดิตเกษตร ใน ครม.สัญจรที่สุรินทร์


นายกรัฐมนตรีกล่าวชี้แจงผลการปฏิบัติงานตลอดทั้งสัปดาห์ผ่านรายการ"รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" โดยยืนยันทุกหน่วยงานภาครัฐเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว และกล่าวเชื่อมั่นว่าภายใน 6 สัปดาห์นับจากนี้โรคมือเท้าปากจะคลี่คลายลง และเตรียมเดินหน้านโยบายแจกบัตรเครดิตเกษตรในสุดสัปดาห์นี้

ช่วงแรกของรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน" นายกรัฐมนตรี กล่าวเชิญชวนประชาชนร่วมแสดงความจงรักภักดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา หลังจากนั้นได้ชี้แจงผลการปฏิบัติหน้าที่ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ได้หารือปูทางความร่วมมือทวิภาคีกับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า และลงนามความร่วมมือพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายมายังท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ของไทย เพื่อเพิ่มกลุ่มการลงทุน และ เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะเปิดประตูสู่อาเซียน

นายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า ทุกหน่วยงานของไทยมีความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว โดยจะบูรณาการร่วมกัน 3 เสาหลัก คือ ด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมสังคม และความมั่นคง พร้อมทั้งกำชับให้กระทรวงเดินหน้าพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับงานและภาษาในอนาคต รวมถึงประสานภาคเอกชนและประชาชนให้มีความก้าวหน้าพร้อมกัน

นายกรัฐมนตรี ชี้แจงด้วยว่า โรคมือ เท้า ปาก เริ่มมีอัตราการแพร่ระบาดลดลงแล้ว โดยคาดว่า อีก 6 สัปดาห์ จะคลี่คลายได้ ซึ่งได้กำชับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ดูแลและให้ความรู้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการล้างมือก่อนจับต้องอาหาร

นอกจากนั้นยังได้ระบุว่า ที่จะเดินทางลงพื้นที่ประชุม ครม.สัญจร ที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อทำงานร่วมกับพื้นที่และภาคเอกชน โดยย้ำที่จะเริ่มนโยบายแจกบัตรเครดิตเกษตรกรด้วยการมอบให้ตัวแทนทั้ง 19 จังหวัดภาคอีสานในสุดสัปดาห์นี้

นายกฯย้ำความสัมพันธ์ไทย-พม่าร่วมมือพัฒนาด้านการค้าและเศรษฐกิจ



น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ถึงการเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการของ นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า เมื่อ 22-24 ก.ค.ว่า  มีการหารือทวิภาคีและเซ็นต์เอ็มโอยูความร่วมมือท่าเรือน้ำลึกทวาย ที่ถือว่าเป็นประโยชน์มาก เชื่อว่าท่าเรือดังกล่าวจะเชื่อมต่อประเทศต่างๆ และเชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง   ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมโดยเฉพาะกลุ่มส่งออก และจะพัฒนาท่าเรือน้ำลึกต่อไปยังประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน

"การพัฒนาท่าเรือน้ำลึก จะเกิดโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม เกิดการค้าการลงทุนเป็นประโยชน์ทั้งสองประเทศที่จะทำให้เกิดการค้าการลงทุน ถือว่าเป็นการข่าวที่ดีของสองประเทศ และเมียนมาร์เองก็จะเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐาน และเตรียมเชื่อมการพัฒนาระหว่าง 2 ประเทศ ด้วยการช่วยเหลือด้านการพัฒนาแรงงาน ปฏิรูปเศรษฐกิจ และการแลกเปลี่ยนด้านพลังงาน และในปี 56  จะเป็นปีครบรวมความสัมพันธ์ไทย-พม่าครบรอบ 64 ปี จะมีการจัดกิจกรรมในเรื่องการเชื่อมความสัมพันธ์ของไทยกับพม่าด้วย

นอกจากนี้ ปี 57 เมียนมาร์รับหน้าที่เป็นประธานอาเซียน ไทยก็จะเข้าไปช่วยเตรียมความพร้อม รวมไปถึงการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจต่างๆ

นอกจากนี้ การเปิดด่านพรมแดนเป็นหนึ่งในหัวข้อของการหารือทวิภาคีนอกจากการเซ็นต์เอ็มโอยู  ทางรัฐบาลไทยและพม่าเตรียมเปิดด่านตามแนวชายแดน ยกระดับด่านสำคัญ 3 ด่าน เพื่อพัฒนาด้านเศรฐกิจและการค้าบริเวณแนวชายแดนให้ดียิ่งขึ้น  ที่กิ่วผาวอก จ.เชียงใหม่  บ้านห้วยต้นนุ่น จ.แม่ฮ่องสอน และบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ซึ่งจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและหว่างประชาชนและการค้าขายและการพัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้น

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

"ยิ่งลักษณ์" เผย ต่างชาติชมรัฐบาลไทยเป็นประชาธิปไตย ชูผ้าไทยสู่เวทีโลก

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จัดรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ที่สวนสาธารณะของหอไอเฟล ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งการเดินทางมายุโรปในครั้งนี้เพื่อเป็นการติดตามเศรษฐกิจของยุโรป และรับฟังข้อเท็จจริงวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยเดินทางมาเยือนทั้งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นคู่ค้าสำคัญ เป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกมาก ซึ่งรัฐบาลไทยต้องการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ยุโรปประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจไทยต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุน ซึ่งทั้งสองประเทศให้ความสำคัญในการเยือนของรัฐบาลไทย ที่มาจากรัฐบาลประชาธิปไตย เพราะทั้งสองประเทศให้ความสำคัญกับสันติภาพของประชาธิปไตย



สำหรับการหารือกับรัฐบาลเยอรมนั้นได้มีข้อตกลงในความร่วมมือของทั้งสองประเทศทั้งเรื่องของอาชีวะศึกษาที่จะมีการพัฒนาร่วมกันในอนาคต ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสีเขียวการใช้พลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้เยอรมนีจะส่งเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้กับไทย ในเรื่องของการพัฒนาความสดของสินค้าทางการเกษตร เพื่อให้มีคุณภาพสดใหม่อยู่เสมอ ทำให้เรามีโอกาสในการส่งสินค้าสร้างมูลค่าในการส่งออกมากขึ้น ขณะเดียวกันได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนของเยอรมนีในการลงทุนประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้พบกับคนไทยในเยอรมนีเพราะถือเป็นประเทศที่คนไทยอยู่มากรองจากสหรัฐอเมริกา

ส่วนที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น รัฐบาลไทยมีโอกาสได้ให้ข้อมูลด้านนโยบายกับนักธุรกิจของฝรั่งเศสในการเดินหน้าประเทศไทยอย่างไรบ้าง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ยังเน้นเรื่องของการเปิดตลาดจิวเวอรี่ และครัวไทยสู่ครัวโลกด้วย เพราะคนฝรั่งเศสและเยอรมนีเริ่มสนใจในอาหารไทยมากขึ้น ดังนั้นการเดินทางมาเยือนของรัฐบาลในช่วงนี้ถือว่ามาถูกจังหวะ และเวลา และเป็นการแสดงความเห็นใจ เป็นห่วงยุโรปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Fun Anywhere!

Tablet will draw attention from students who are fascinated with games and entertainment back to education.




One factor causing Thai students have lower educational effectiveness is that most Thai students pay much attention on games and entertainment. In addition, Thai society is changing to nuclear family that parents spend most of their times on making money and spend such money and technology to nurture their children in several ways, for example, buying TV or computer games for their children because they think that these things will make their children play safely at their homes. Consequently, Thai students’ attention on education is decreasing. 

Tablet will change Thailand’s education paradigm because tablet will catch attention of students to education. When we say that mot students are interested in games and entertainment, the correct way to solve educational problems of students are using what students interested to be the tool, i.e., making education to be in form of games and entertainment. Tablet is the represent of such method.

The development of Thai education must begin from the basus of education because it is the beginning of lifetime learning.One problem that should be solved immediately is the problem of basic skills development for knowledge implementation. Students have to be able to develop their learning to be other creative things. Any instruction through only text and theories will make students lack of developed thinking process and IQ. We don’t just tell students to learn but they don’t know how to do wityh their real life. Tablet is the tool that can support this idea.

Tablet is the tool used for managing and changing instruction attracting students to be more interested in and amused with learning because they can learn from sound and video as well as activities in classroom and outdoor activities silmateneously. One thing that tablet is better than PC and laptop is portability that students will be able to bring tablets with them for learning in several places, for example, students can bring tablets with them to learn plants in the surrounding area of their school in the concept of “Fun Anywhere” or teachers may bring students to learn Thai intonation marks via tablet under school’s trees. Students will learn happily and enjoy with their learning. Importantly, this will foster students to lern everywhere besides classrooms.

ศธ.ฟันธงแท็บเล็ตคือเครื่องมือที่จะช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการในด้านการอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น



ปัญหาของการศึกษาไทย ส่วนหนึ่งคือความแตกต่างระหว่างสังคม ทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาหรือแหล่งเรียนรู้อื่นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก สิ่งที่เห็นชัดเจนคือช่องว่างทางการศึกษาระหว่างเด็กในเมืองและเด็กในชนบท ที่ความพร้อมทั้งด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน รวมไปถึงครู ยังไม่เพียงพอ ดังนั้นการพัฒนาการศึกษาของเด็กในชนบทให้มีคุณภาพจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการพยายามเสมอมานอกเหนือไปจากเด็กในชนบทแล้ว เด็กในเมืองก็ไม่ใช่จะได้รับโอกาสในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาเสมอไป เช่น เด็กๆโรงเรียนดาราคาม เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดเวทีเสวนาสัญจรมายังที่นี่ ภายใต้หัวข้อ “แท็บเล็ตช่วยตอบปัญหาการศึกษาไทยได้อย่างไร” ด้วยหวังว่าแท็บเล็ตจะเป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาส และพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเปิด รวมทั้งร่วมเสวนาบนเวที และเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตในห้องเรียนของโรงเรียนดาราคามด้วย และได้ประกาศภารกิจสำคัญของโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทยว่า เด็กป.1 จะอ่านออกเขียนได้อย่างเป็นรูปธรรมในปีการศึกษา 2555 นี้นี่คือโอกาส ที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้เท่าเทียม เด็กป.1 ทั่วประเทศไทยต้องอ่านออกเขียนได้เหมือนกัน ต้องเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้เช่นเดียวกันหมด

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวเสริมว่า แท็บเล็ตคือเครื่องมือที่จะช่วยให้เด็กได้มีพัฒนาการในด้านการอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น (Literacy driven) ซึ่งต้องยอมรับว่าเด็กไทยในระดับประถมศึกษาตอนต้นอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามเกณฑ์ที่พึงประสงค์ยังมีอยู่มาก

นอกจากนี้ ครูประทีป อึ้งทรงธรรม(ฮาตะ) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป ผู้อุทิศตนทำงานเพื่อเด็กมาอย่างมากมาย หนึ่งในผู้ร่วมเสวนากล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งของการที่เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ คือการขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนการสอน ดังนั้น หากแท็บเล็ตเข้าถึงเด็กป.1 เด็กจะมีอุปกรณ์ที่จะช่วยในการเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ด้วยบทเรียน e-book มัลติมีเดีย และแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาจำนวนมาก

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แท็บเล็ตวันละ 10 สลึง คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม





ผมได้มีโอกาสติดตามโครงการ One Table Per Child ซึ่งขณะนี้ควรจะอยู่ในระหว่างรอรับเครื่องเพื่อนำไปแจกกับนักเรียนชั้นประถม 1 ในฐานะที่ผมมีประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนมากว่า 10 ปี จึงมีคนมักจะถามความเห็นผมเสมอๆว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับโครงการนี้ ส่วนใหญ่ผมก็จะยิ้มๆและตอบว่าดีครับ ถ้าทำดีๆจะดีมากเลยนะครับ ในช่วงเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมา โครงการนี้ก็เป็นโครงการที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างสูง แต่เท่าที่ฟังๆดูก็จะเป็นการพูดถึงตัวเครื่องแท็บเล็ตซะเป็นส่วนใหญ่ ว่า จอเล็กไปหรือไม่ ใช้ android จะดีหรือ ถ้าดีควรจะใช้ android version อะไร ความเร็วเท่าไหร่ คุณสมบัติของเครื่องที่มีอยู่ในข้อกำหนดจะพอเพียงไหม มีบางกลุ่มก็จะกล่าวถึงสื่อการเรียนรู้บ้าง แต่จะพูดกว้างๆว่า “ถ้าแจกแท็บเล็ตแล้วไม่มีบทเรียน ก็อย่าแจกซะดีกว่า” เรื่องสุดท้ายที่เป็นห่วงกันมากก็คือ นักเรียนชั้นประถม 1 เด็กเกินไปหรือเปล่า ทำไมไม่แจก นักเรียนชั้นโตกว่านี้ หลังจากเฝ้าดูอยู่นานก็เลยอยากจะออกความเห็นบ้าง ลองอ่านดูนะครับ รับรองว่าเข้าใจง่าย จะไม่มีคำว่า GB IOS android หรือ wifi เลยสักคำ 



ผมตั้งหัวข้อเรื่องนี้ไว้ว่า แท็บเล็ตวันละ 10 สลึง คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะผมเชื่อของผมอย่างนั้นจริงๆ ก่อนจะเล่าถึงเหตุผลที่ผมคิดว่าคุ้ม ผมขออธิบายที่มาของ คำว่า 10 สลึงกันก่อน ผมก็เอามาจาก จำนวนงบประมาณต่อตัวที่รัฐบาลลงทุนซื้อเครื่องแท็บเล็ตที่เห็นประกาศว่าตัวละ 81 ดอลล่าห์หรือ 2,430 บาท หารด้วยเวลาที่นักเรียนจะใช้เครื่องซึ่งกำหนดไว้ 3 ปี แล้วหารออกมาเป็นจำนวนวัน ปัดเศษขึ้นนิดหน่อยเผื่อเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆในโครงการ ออกมาประมาณ 2.50 บาทต่อวัน เผอิญ 2.50 บาทในสมัยตอนผมอยู่ประถม 1 เขาเรียกกันว่า 10 สลึง ผมก็เลยขอคำว่า 10 สลึงแทน 2.50 บาท คงไม่ว่ากัน

คราวนี้ลองมาดูกันว่าที่ผมบอกว่า แท็บเล็ตวันละ 10 สลึง คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม ผมมีเหตุผลอย่างไรผมจะบรรยายให้ฟัง คุ้มที่ 1 คือการคุณครูจะมีเครื่องมือช่วยสอนที่มีประสิทธิภาพอยู่ในมือตลอดเวลาเมื่อต้องการ หลายท่านคงอาจจะไม่ทราบว่า ประเทศเรากำลังประสบปัญหาของการขาดครู โดยเฉพาะครูที่จบไม่ตรงวุฒิกับวิชาที่สอนเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลกระทบในลักษณะนี้จะมีไม่มากกับนักเรียนชั้นเล็ก แต่จะมีมากเป็นทวีคูณกับเด็กโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชั้น มัธยม 1 เป็นต้นไป ถึงอย่างไรก็ตามก็มิได้แปลว่าปัญหาการขาดครูจะไม่มีผลกระทบกับการเรียนการสอนชั้นประถม 1 โครงการ One Tablet Per Child จริงๆแล้วเขาแจกแท็บเล็ตให้ครูด้วย เพราะฉะนั้นจะเรียกว่า One Tablet Per Teacher ด้วยก็คงไม่ผิด ยิ่งไปกว่านั้น ในเครื่องแท็บเล็ตแต่ละเครื่อง เขาได้บรรจุสื่อช่วยสอน ไว้ให้ครูได้ใช้ในเวลาสอน เนื่อหาสาระช่วงใดตอนใดที่สอนยาก นักเรียนเข้าใจลำบาก ครูที่มีประสบการณ์น้อยจะสามารถใช้สื่อช่วยสอนที่ถูกออกแบบกลั่นกรองอย่างดีจากครูผู้ทรงคุณวุฒิในสาระการเรียนรู้นั้นๆ ไปใช้สอนในห้องเรียนได้อย่างสะดวก ซึ่งนอกเหนือจากวิธีสอนแล้ว สื่อที่บรรจุในเครื่องแท็บเล็ตยังประกอบด้วยตัวอย่าง และแบบฝึกหัดต่างๆให้ครูสามารถมอบหมายให้นักเรียนทำได้อย่างสะดวก เมื่อครูสามารถทำการสอนได้ง่ายขึ้นแล้ว ครูก็จะมีเวลามาใส่ใจเด็กในเรื่องอื่นๆ เช่น ศิลธรรม และ จริยธรรม เป็นต้น ถ้าผมถามท่านว่า เพื่อให้ครู ป 1 ของลูกของท่านมีเครื่องมือช่วยสอนที่จะทำให้ลูกของท่านสามารถเรียนได้รู้เรื่องมากขึ้น และมีเวลามาเอาใจใส่ดูแลบุตรหลานท่านเพิ่มเติม โดยจ่ายเงินวันละ 50 สตางค์ ท่านจะจ่ายไหมครับ อย่าเพิ่งรีบร้อนตอบ ฟังให้จบก่อนก็ได้


คุ้มที่ 2 คือการที่คุณครูสามารถประยุกต์ใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียนที่สนุกสนานได้อย่างง่ายดาย ในเครื่องแท็บเล็ต นอกเหนือจากสื่อช่วยสอนแล้ว เขายังได้บรรจุกิจกรรมต่างๆที่เหมาะกับเด็กชันประถม 1 ตามสาระการเรียนรู้อย่างครบถ้วน ซึ่งในปัจจุบันนี้ครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้คิดวิธีและสร้างอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมขึ้นเองในโรงเรียน คุณภาพของสื่อก็จะหลากหลายขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถของครูแต่ละคน ต่อจากนี้ไปครูก็จะสามารถจัดกิจกรรมในชั้นเรียนได้อย่างง่ายดาย สนุกสนาน และถูกต้องตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ผมได้นำกิจกรรมในแท็บเล็ตนี้ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถม 1 มาแล้ว ได้ผลดีมาก และขอบอกเพิ่มเติมด้วยว่า โรงเรียนที่ผมไปทดลองใช้ไม่ได้อยู่ในเมืองนะครับ เป็นโรงเรียนที่เขาเรียกว่าโรงเรียนชายขอบที่จังหวัดเชียงราย ถ้ามีโอกาสคราวหน้าจะเอารูปให้ดู เห็นแววตาเด็กแล้วชื่นใจ


คุ้มที่ 3 คือการที่ลูกๆจะได้มีโอกาสทำการบ้านกับพ่อแม่ผ่านแท็บเล็ต นอกเหนือจากสื่อที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เขายังได้บรรจุการบ้านแนวใหม่ ผมเรียกว่า Interactive Homework การบ้านนี้ได้ถูกออกแบบผสมผสานกับเนื้อหาสาระที่เป็นมาตรฐานของกระทรวงศึกษาในระดับชั่วโมงต่อชั่วโมง ซึ่งมีหลายรูปแบบทั้งแบบถามตอบซึ่งจะเหมือนข้อสอบในปัจจุบัน และแบบ Edutainment เป็นการทำการบ้านแบบสนุกสนานแต่ได้ความรู้ การบ้านทั้ง 2 ประเภทได้ถูกออกแบบให้ผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมกับบุตรหลานได้ด้วย เป็นการเพิ่มเติมกิจกรรมในครอบครัวที่เป็นประโยชน์ และผู้ปกครองก็จะสามารถเห็นถึงความก้าวหน้าของบุตรหลานของตนเองด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขอย่างทันท่วงที

คุ้มที่ 4 แท็บเล็ตจะเป็นเครื่องมีอกระตุ้นให้เกิดระบบการศึกษาที่ประเทศไทยของเรากำลังต้องการเป็นที่สุด การศึกษาที่ว่านี้คือ “การเรียนให้รู้วิธีที่จะเรียนรู้” หรือ Learn How To Learn เนื่องจากมนุษย์เราเมื่อพ้นจากการเป็นเด็ก จบการศึกษาจากโรงเรียน รวมไปถึงระดับอุมศึกษาแล้ว ทุกคนจะต้องออกไปต่อสู้ในชีวิตจริง สิ่งที่จำเป็นที่สุดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ก็คือการที่เราจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง วิธีการเรียนการสอนแบบ “ฟัง จด ท่อง สอบ” จึงไม่ได้ช่วยอะไรเลย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรทางการศึกษาได้พยายามอย่างมากที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาของไทยให้เป็นแบบ “การเรียนให้รู้วิธีที่จะเรียนรู้” แน่นอนว่ามิได้เป็นเรื่องง่ายและต้องใช้เวลา อุปกรณ์แท็บเล็ตจะเป็นตัวจักรสำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้ฝันของเราเป็นจริงเร็วขึ้น เนื่องจากธรรมชาติของการเรียนรู้ด้วยการใช้อุปกรณ์ IT เป็นธรรมชาติที่เอื้อต่อการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเด็กเอง การเรียนรู้จะเปลี่ยนจาก “ฟัง จด ท่อง สอบ” เป็น “ฟัง คิด ค้น เข้าใจ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องการในการทำงานในชีวิตจริง

สุดท้าย คุ้มที่ 5 คือการที่เด็กไทยจะเป็นผู้ใหญ่ไทยที่มีความพร้อมทางด้าน Information Technology ในระดับที่เรียกว่า “เป็นธรรมชาติ” จากการที่เขาเหล่านั้นมีโอกาสได้ใช้อุปกรณ์ IT ในกิจวัตรประจำวัน ทุกวัน เป็นเวลา 12 ปี ผมรับประกันได้เลยว่า เด็กไทยเหล่านี้เมื่อเรียนจบไป เขาจะมีศักยภาพทาง IT เหนือกว่าคนในรุ่นเราอย่างเทียบกันไม่ได้เลยทีเดียว ความสามารถในการใช้และเข้าถึง Information Technology อย่างเป็นธรรมชาตินี้ เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จในการทำงานในอนาคตอย่างปฏิเสธไม่ได้

เอาละครับ คราวนี้ถ้าผมถามท่านว่า เพื่อให้ลูกของท่านได้ประโยชน์จากการแจกแท็บเล็ต 5 ประการที่กล่าวมาข้างต้น ได้มีโอกาสเรียนรู้ในระบบการศึกษาเทียบเท่ากับประเทศที่เจริญแล้ว และมีศักยภาพสามารถสู้ใครๆก็ได้ในเวทีระดับโลกในอนาคต โดยจ่ายเงินวันละ 2.50 บาท ท่านจะจ่ายไหมครับ ……… คราวนี้เชื่อผมแล้วใช่ไหมครับว่า แท็บเล็ตวันละ 10 สลึง คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม

บทความโดย ดร. วราวิทย์ กำภู ณ อยุธยา
นักวิจัยด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยลาดกระบัง

นายกรัฐมนตรีเยือนยุโรปย้ำเป็นหุ้นส่วนแก้ปัญหาเศรษฐกิจ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นต่อพัฒนาทั้งด้านประชาธิปไตยและศักยภาพที่โดดเด่นของไทย


นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 17-21 กรกฎาคม 2555  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อพัฒนาการประชาธิปไตยและศักยภาพทางเศรษฐกิจไทย การพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขัน และบทบาทสำคัญของไทยในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งกำลังจะเป็นประชาคมอาเซียนที่มีพลวัตรและศักยภาพด้านเศรษฐกิจที่โดดเด่น

การเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2555 ตามคำเชิญของรัฐบาลเยอรมนี นับเป็นการเยือนครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 และถือเป็นประเทศแรกของการเยือนภูมิภาคยุโรป ในโอกาสที่ไทยกับเยอรมนีกำลังฉลองวาระครบรอบ 150 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ในปีพ.ศ. 2555
โดยสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ถือเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลก มีเครือข่ายธุรกิจที่กว้างขวาง และเป็นประเทศอุตสาหกรรมและนวัตกรรมชั้นนำของโลก จึงมีอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจในยุโรป และเป็นประเทศผู้ขับเคลื่อนและกำหนดทิศทางของสหภาพยุโรป ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญที่นายกรัฐมนตรีจะพบหารือกับผู้นำหญิงของเยอรมนี นางอังเกลา แมร์เคล ที่มีบทบาทสำคัญต่อการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับวิกฤติที่เกิดขึ้น การคาดการณ์สถานการณ์ และย้ำบทบาทของไทยในฐานะหุ้นส่วนที่พร้อมสนับสนุนเยอรมนี ต่อการแก้ปัญหาและสร้างเสริมประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้ง หารือถึงแนวทางความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานสีเขียว และอุตสาหกรรมสาขาต่างๆที่สามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ เพื่อการเติบโตไปพร้อมกัน

สำหรับการเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2555 ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันกับเยอรมนีนั้น นายกรัฐมนตรีจะมุ่งเน้นการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับฝรั่งเศสในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งมีแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 (ค.ศ.2012-2014) โดยการหารือกับนายฟรองซัวส์ ออลองด์ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิกฤติที่เกิดขึ้น แนวโน้ม และนโยบายของฝรั่งเศสต่อการแก้ปัญหา และตอกย้ำความร่วมมือทวิภาคี เช่น การหาแนวทางเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุน การขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆ และที่สำคัญการสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น การเข้าร่วมในโครงการพัฒนาเครือข่ายในภูมิภาค

ทั้งนี้ การเดินทางเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นประเทศที่สำคัญในภูมิภาคยุโรปที่มีมูลค่าการค้าการลงทุนสูง และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือกับไทยในภูมิภาคยุโรป  จึงนับเป็นโอกาสและช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่ภาคเอกชนของไทย จะได้ใช้โอกาสดังกล่าวแสวงหาลู่ทางการขยายความร่วมมือ การค้าการลงทุน รวมทั้งการเจรจาแก้ปัญหาและลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ในการนี้ จึงมีภาคเอกชนไทยจาก 5 สาขาที่มีการค้าและการลงทุนอยู่ในภูมิภาคยุโรป และมีแผนการขยายการลงทุน ได้แก่ สาขาเกษตรอาหาร อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ สาขาพลังงาน แฟชั่น และการแพทย์ ร่วมคณะเดินทางเยือนด้วย รวมทั้ง เพื่อผลักดันกลไกความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและเอกชนอีกด้วย

กำหนดการเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ของ นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

18 กรกฎาคม 2555 - นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2555 และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2555 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ กระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่น พร้อมส่งเสริมและเสริมสร้างความร่วมมือ

นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการสำคัญ ดังนี้
การเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2555
วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555
14.00 น.   -  นายกรัฐมนตรีและคณะออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเครื่องบินของบริษัท   การบินไทย จำกัด (มหาชน) เที่ยวบินพิเศษที่ TG 8837 ไปยังกรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
20.10 น.   -  เดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงเบอร์ลิน (เวลาที่กรุงเบอร์ลินช้ากว่ากรุงเทพฯ ๕ ชั่วโมง)       
วันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2555
08.00 น.   -  นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายกับทีมประเทศไทย ณ โรงแรม Adlon Kempinski ซึ่งเป็นโรงแรม
                 ที่พัก
09.00 น.   -  นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมหารือกับภาคเอกชนไทย
11.45 น.   -  นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ณ ทำเนียบนายกรัฐมนตรีเยอรมัน             (Chancellery)
  -  นายกรัฐมนตรีเยอรมันเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ (Working Lunch)
              -  การแถลงข่าวร่วม
14.00 น.   -  กลุ่ม ส.ส. Friends of Thailand เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี
15.45 น.   -  นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมกิจกรรมส่งเสริมการขายอาหารไทย (in-store promotion) ในห้างสรรพสินค้า KaDeWe
16.00 น.   -   นักธุรกิจชั้นนำของเยอรมันเข้าพบหารือกับนายกรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
17.00 น.   -   ผู้แทนมูลนิธิการเมืองเยอรมนีที่มีกิจกรรมในไทยเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี
18.25 น.   -   นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานกล่าวเปิดงานเลี้ยงรับรองเพื่อฉลองวาระครบรอบ ๑๕๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตฯ และงานสัมมนานักธุรกิจไทย-เยอรมนี (กิจกรรม Business Matching) ณ อาคารสภาหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมเยอรมัน
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2555
08.15 น.   -   นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงานสัมมนาอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยในเยอรมนี
09.00 น.   -   นายกรัฐมนตรีพบชุมชนไทยในกรุงเบอร์ลิน ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
10.00 น.   -   นายกรัฐมนตรีและคณะออกเดินทางไปเมืองมิวนิค รัฐบาวาเรีย (ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง ๑๕ นาที)
12.00 น.   -   นายกรัฐมนตรีหารือคณะนักธุรกิจเยอรมนีระหว่างอาหารกลางวัน (Working Lunch)
14.00 น.   -   คณะนักธุรกิจเยี่ยมชมเทคโนโลยีชีวภาพและโครงการ Smart Grid ของเทศบาลนครมิวนิก   (นายกรัฐมนตรีอาจร่วมเยี่ยมชมโครงการ Smart Grid หากเสร็จสิ้นภารกิจทันเวลา)
17.20 น.   -   นายกรัฐมนตรีพบชุมชนไทยในรัฐบาวาเรีย
19.00 น.   -   นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานมิวนิค โดยเครื่องบินของบริษัท      การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไปยังกรุงปารีส (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที)
การเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2555
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2555
20.40 น.  -    นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางถึงท่าอากาศยาน ORLY กรุงปารีส โดยฝ่ายฝรั่งเศสจะเชิญ นายกรัฐมนตรีและคณะทางการเข้าสู่เรือนรับรองเกียรติยศ (Pavillon d’Honneur) จากนั้น จะเดินทางต่อไปยังโรงแรมที่พัก Le Westin Paris Vendöme
วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม 2555   
09.00 น.   -  นายกรัฐมนตรีหารือกับทีมประเทศไทยและภาคเอกชนไทย ในระหว่างการรับประทานอาหารเช้า (working breakfast) ณ โรงแรมที่พัก
11.00 น.   -  พบหารือกับประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส ณ ทำเนียบประธานาธิบดี ฝรั่งเศส (Palais de l’Elysée)
12.30 น.  -  พบหารือกับนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ณ ห้องทำงานของนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสทำเนียบนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (Hðtel Matignon)   
             -  นายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลง ณ ห้อง Salon ทำเนียบนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส คือ ความตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาและการวิจัย
             -  นายกรัฐมนตรีร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวัน (working lunch) โดยมีนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส
                เป็นเจ้าภาพ ณ ห้อง Salon ทำเนียบนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส
15.00 น.  -  นักธุรกิจชั้นนำของฝรั่งเศสเข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับนายกรัฐมนตรี ณ โรงแรมที่พัก
16.00 น.  -  ศึกษาดูงานเรื่องการบริหารจัดการเมืองกรุงปารีส ณ Pavillon d’Arsenal
วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2555
10.00 น.  -  พบชุมชนชาวไทยในฝรั่งเศส
18.00 น.  -  นายกรัฐมนตรีและคณะ ออกเดินทางจากท่าอากาศยาน ORLY กรุงปารีส โดยเครื่องบินของ
                บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (A 340-500) เที่ยวบินพิเศษที่ TG 8839 กลับประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2555
10.15 น.  -  เดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

******************************
                                                

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Thai PM to attend business road shows in Germany, France



BANGKOK, 16 July 2012 – The Prime Minister will attend business road shows in Germany and France during July 17-21 to boost foreign investors’ confidence. 

According to Industry Minister Pongsawat Sawatdiwat, Prime Minister Yingluck Shinawatra will join the Board of Investment (BOI) entourage during the road show in Berlin and Paris to encourage more investments in Thailand from the European investors. 

Mr. Pongsawat explained that over the past 10 years, German investors have invested 82 billion baht and French investors have also invested 10 billion baht in Thailand. He added the entourage will promote business opportunities after the ASEAN Economic Community (AEC) is formed in 2015 to the European leading entrepreneurs. 

The minister said although Europe is faced with a huge economic crisis, Germany and France remain European’s economic powerhouses. 

Under the plan, Ms. Yingluck will meet German and French business leaders to discuss opportunities with them.

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ททท. ตั้งเป้าเพิ่มนักท่องเที่ยวระดับกลางและบน-เจาะรัสเซีย จีน เกาหลี ออสเตรเลีย



รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน วันเสาร์ที่ 14 ก.ค. นี้เป็นการสัมภาษณ์ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในช่วงแรก ส่วนช่วงที่สอง เป็นการสัมภาษณ์นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และช่วงที่สาม เป็นการสัมภาษณ์ นายสุรพล เศวตเศรณี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เกี่ยวกับแผนการตลาดด้านการท่องเที่ยวเพื่อไปสู่เป้าหมายรายได้ปี 2558 ที่ 2 ล้านล้านบาท

นายสุรพล กล่าวถึง แผนทำการตลาดด้านท่องเที่ยวสู่เป้าหมาย 2 ล้านล้านบาท ว่า "มีการเตรียมกลยุทธ์ด้านการตลาดให้สอดรับนโยบายเข้าสู่เป้าหมาย โดยตลาดต่างประเทศต้องทำรายได้ 1.4 ล้านล้านบาทในปี 2558  ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องในประเทศ  เราจะดูว่าตลาดใด มีความพร้อมทางเศรษฐกิจและนิยมเดินทางมาในประเทศไทย ก็มีการจัดโฟกัสเป้าหมาย เช่น รัสเซีย จีน เกาหลี และออสเตรเลีย เป็นตลาดที่ขนาดตลาดใหญ่ โอกาสเติบโตดี ไม่มีผลกระทบเรื่องเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญมาก ก็จะส่งเสริมเรื่องการรับรู้ให้มากขึ้น และดึงหรือนำเสนอเรื่องของกลุ่มที่สนใจเป็นพิเศษ เช่น กอล์ฟ สปา ฮันนีมูน ชอปปิ้ง  ส่วนตลาดที่ต้องรักษาไว้ เช่น มาเลเซีย ญี่ปุ่น  รวมทั้งในยุโรปที่ยังมีหลายประเทศที่เดินทางมาไทยได้ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยบวกมาตลอด โอกาสรักษาตลาดยังมีมาก"

"นอกจากนั้น มุ่งเน้นขยายกลุ่มเป้าหมายระดับกลางและระดับบนให้มากขึ้น  ในอดีตมีนักท่องเที่ยวระดับธรรมดา 47%  ระดับกลาง 30% กว่า และระดับบน 18% มองว่าจะขยายกลุ่มระดับบนให้ได้สัก 25% ส่วนกลุ่มนิช(เฉพาะ)  ฐานก็ไม่เล็กแล้วสำหรับประเทศไทย เช่น กลุ่มกอล์ฟที่เข้ามาประมาณ 5% จาก 19 ล้านคน ที่เดินทางเข้ามาเล่นกอล์ฟในประเทศไทย"

กิตติรัตน์เผยสถานการณ์วิกฤติยุโรปทรงตัว เน้นเปิดตลาดใหม่แอฟริกา-ยุโรปตะวันออก



14 กรกฎาคม 2555 - นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน" ว่าสถานการณ์วิกฤตในยุโรปล่าสุดยังทรงตัว ประเทศต่างๆที่ประสบปัญหายังคงต้องพยายามแก้ไขปัญหาอยู่ เห็นได้จากการประชุมผู้นำในยุโรปในการระดมสรรพกำลังและการเพิ่มทุน ซึ่งก็ส่งผลบวกให้ความรู้สึกได้พอควร แต่ขณะเดียวกันก็เห็นว่าประเทศต่างๆ ดำเนินนโยบายอย่างรอบคอบให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศพร้อมเผชิญปัญหาในยุโรป

"ไทยเองก็ประกาศดำเนินนโยบายไว้ในเรื่องของการรักษาเสถียรภาพ เชื่อว่ามาตรการที่ทำมาแล้วเริ่มส่งผลดีต่อในประเทศ ประเทศคู่ค้า การค้าชายแดน และการค้าในระบบหลัก ยังติดตามอยู่และติดตามด้วยความเป็นห่วงเป็นใย แต่ก็ยังไม่ได้มีอะไรที่บ่งชี้ว่าจะลุกลามมีปัญหา เพราะได้บอกแล้วว่าในยุโรปเองก็มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ เราก็ต้องเตรียมตัวแต่ก็ต้องเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกันและกัน"

"ในส่วนของมาตรการที่ดำเนินการ มีธนาคารของรัฐที่อยู่ในความดูแลของรัฐบาล เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ธ.เอสเอ็มอี  ธนาคารออมสิน ที่มีการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ และองค์กรที่มีหน้าที่ในการค้ำประกันสินเชื่อก็มีการดูแลการค้ำประกันสินเชื่อต่างๆ องค์กรเหล่านี้มีความพร้อมในการดูแลต่างๆ ในอดีตเรามีการตั้งกองทุนต่างๆ แต่เราไม่ค่อยมีกลไก ความจำเป็นในการตั้งกองทุนบางทีก็มีแค่หลักพันหลักหมื่น แต่ขณะนี้มีความพร้อมในเรื่องของกลไกที่จะดูแลได้"

"ในส่วนของอุตสาหกรรมต่างๆเราก็มีการดูแล ด้วยการแบ่งเป็นเซ็คเมนท์ เช่น สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มไม่สูง ไปจนถึงสินค้าที่มีการออกแบบยอดเยี่ยมและขายได้สูง ก็จะมีการเวิร์คชอปที่แตกต่างกัน ในส่วนของสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ อัญมณี ก็จะมีการประชุมแยกหารือกัน หลังจากที่หารือรวมไปแล้ว ก็จะดูแลเพื่อให้ความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น"

ส่วนการเปิดตลาดใหม่นั้น รองนายกฯและรมว.คลัง กล่าวว่า "ในส่วนของตลาดเดิมๆก็ยังมีการเติบโตดี ส่วนการที่ประเทศในเอเชียมีการลดเป้าการขยายตัว ก็คือ ไม่ได้ขยายตัวมากอย่างที่เคย แต่ยังส่งออกและเติบโตได้ ส่วนตลาดเกิดใหม่ที่ยังไม่ได้เข้าไปทำงานกันเข้มแข็งกันมากนัก เช่น ทวีปแอฟริกาที่คาดว่ากำลังซื้อจะดีขึ้นในอนาคตก็เป็นตลาดที่ควรได้รับการเอาใจใส่ เรามีตลาดในยุโรปตะวันออก ขณะนี้ประเทศเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป การจ้างงาน กำลังซื้อดีขึ้น ซึ่งต้นเดือนส.ค.นี้ก็จะมีการประชุมเอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าทีมไทยแลนด์"

นายกฯยิ่งลักษณ์ เดินทางกลับไทย หลังเยือนกัมพูชา


นายกรัฐมนตรี นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
(13 กรกฎาคม 2555) - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ นายบุญทรง เตริยาภิรมณ์ รมว.พาณิชย์ ฯ เดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมืองกรุงเทพฯ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อกล่าวปาฐกถาต่อนักธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียนและร่วมงานเลี้ยงรับรอง ณ โรงแรม Le Meridien เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยนายกฯและคณะจะเข้าหารือแบบทวิภาคีกับคณะของกัมพูชา นำโดย สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่โรงแรม Sokha Angkor


นายกรัฐมนตรี นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ พล.อ.เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า
เวลา 17.55 น.นายกฯและคณะเดินทางต่อไปยังโรงแรม Le Meridien เพื่อเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรอง (VVip Reception และ Cocktail Reception) ร่วมกับนางฮิลลารี่ คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ เวลา 19.15 น. นายกฯจะเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำต่อการประชุมนักธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน และกล่าวสุนทรพจน์ โดยมีนาย Alexander Feldman ประธาน USABC กล่าวเปิดงาน ต่อด้ายนางฮิลลารี่จะกล่าวสุนทรพจน์ต่อ และตามด้วยนางสาวยิ่งลักษณ์ พล.อ.เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่า สมเด็จฮุนเซนและปิดท้ายด้วย นายMyron Brilliant ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สภาหอการค้าอเมริกา กล่าวปิดงาน และเวลา 21.00น. นายกฯจะเดินทางกลับด้วยเครื่องบินแอมแบร์จากท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐกลับถึงท่าอากาศยานดอนเมืองในเวลาประมาณ 23.00 น.

น.ส.สาวศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลว่า การประชุมนักธุรกิจสหรัฐฯ - อาเซียน ภายใต้หัวข้อ Commitment to Connectivity (C2C) จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักธุรกิจของสหรัฐฯที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียน และนักธุรกิจของอาเซียน ได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนในเวทีสัมมนาเพื่อแสวงหาแนวทางความร่วมมือและการค้าการลงทุนกับภาครัฐบาลของแต่ละประเทศในอาเซียน อันจะเป็นการส่งเสริมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยมีภาคเอกชนชั้นนำจากสหรัฐและจากประเทศอาเซียนผู้แทนจากภาครัฐบาลจากประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนเข้าร่วมด้วย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า การกล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำต่อนักธุรกิจสหรัฐฯ และผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาความเชื่อมโยงในอาเซียน (ASEAN Connectivity) เพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนอกเหนือจากการเพิ่มพูนศักยภาพตลาดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Market) ยังรวมถึงการร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา ทั้งเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียแปซิฟิก ที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นในปัจจุบัน พร้อมทั้งเชิญชวนภาคเอกชนสหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ประชาคมอาเซียนในด้านต่างๆ

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ย้ำให้เห็นถึงบทบาทของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน และการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเชื่อมโยงทั่วภูมิภาค เพื่อการคมนาคม ติดต่อ สื่อสาร และการท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การจัดการความมั่นคงตามแนวชายแดน การพัฒนาแนวเชื่อมโยงการขนส่งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge) จากท่าเรือน้ำลึกทวายในเมียนมาร์ สู่ท่าเรือแหลมฉบังของไทย รวมทั้ง ความสำคัญของภูมิภาคอาเซียนต่อโลก ที่มีความพร้อมในการเป็นฐานการลงทุนของเอกชนทั่วโลก จากปัจจัยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ทั้งพลังงานและอาหาร แรงงานฝีมือ และเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งการได้รับความสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจาอย่างสหรัฐฯ ก็จะยิ่งเพิ่มศักยภาพของอาเซียนในอนาคตต่อไป

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ย้ำชัด! แท็บเล็ตต้องเด็กป.1 ช่วยเด็กอ่านออกเขียนได้


(12 กรกฎาคม 2555 โรงแรมตรัง,กรุงเทพฯ) - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00น. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ “แท็บเล็ต ทำไมต้องเด็กป.1” โดยมี ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิริมย์ศานดิ์ นายกสมาคมจิตแพทย์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ณัฐภัทร อิทธรัตนสุนทร กรรมการผู้จัดการ บ.เอเชีย มีเดียร์ซอฟท์ จำกัด เป็นผู้ร่วมเสวนา และ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีคณาจารย์ในสังกัด สพฐ. และผู้ที่สนใจเข้าร่วมเสวนาจำนวนมาก

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จัดเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “แท็บเล็ต ทำไมต้องเด็กป.1” เพื่อตอบข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในการแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กป.1 หรือเด็กในวัย 6-7 ปีทั่วประเทศ ซึ่งการเสวนาจัดขึ้นเป็นลักษณะ 2 ภาษา ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน โดยมี ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเสวนาและสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ร่วมเสวนาบนเวทีด้วย นอกจากนี้ ยังมี รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รวมทั้ง นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายกสมาคมจิตแพทย์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต มาให้คำแนะนำถึงการใช้เทคโนโลยีแท็บเล็ตเพื่อการศึกษากับเด็กในช่วงวัย 6-7 ปี รวมทั้งการกำกับดูแลของคุณครูและพ่อแม่ผู้ปกครอง จากนี้ นายณัฐภัทร อิทธรัตนสุนทร กรรมการผู้จัดการ บ.เอเชีย มีเดียร์ซอฟท์ จำกัด บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์และธุรกิจด้านการฝึกอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้มาร่วมแสดงทัศนะเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารการเรียนการสอนยุคใหม่ รวมทั้งการพัฒนาเนื้อหาดิจิตอลเพื่อการศึกษา รวมทั้งการปรับตัวในยุคเทคโนโลยีที่ไม่สามารถหลึกเลี่ยงได้ แต่ต้องรู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ 

ด้าน  ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ กล่าวว่า การนำแท็บเล็ตมาใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ อาจจะมีการใช้ในช่วงชั้นที่แตกต่างกันไป มีหลายกรณีที่เราได้พบเห็น ดดยเฉพาะที่ชิคาโก้ สหรัฐอเมริกา ได้มีการใช้แท็บเล็ตมาแล้ว และเริ่มใช้ในนักเรียนเกรด 1 ซึ่งหลักการแนวคิดของเขาน่าสนใจ คือ ต้องการให้นักเรียนได้มีพัฒนาการในเรื่องของ Literacy นั้น คือการอ่านออกเขียนได้ หรือ Literacy Driven หมายความว่าต้องการขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้หนังสือได้โดยเร็วที่สุด ในมุมมองทรี่ลึกไปกว่านั้น คือ เน้นการแสดงออกทางความคิด เพราะฉะนั้น เมื่อเราใช้ถูกวิธีจะทำให้ครูได้เรียนรู้ในเรื่องกระบวนการคิดของนักเรียนแต่ละคน จึงโยงมาถึงเรื่องของการเรียนรู้รายบุคคล และการประเมินผลตามสภาพจริง คือ นักเรียนจะแสดงออกทางความคิดความรู้สึกโดยอธิบายสิ่งที่นักเรียนค้นพบเล่าเป็นเรื่องๆได้ เพราะฉะนั้นครูก็จะรู้กระบวนการคิดของนักเรียนว่าคิดอย่างไรจึงได้คำตอบเช่นนี้

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รัฐตั้งเป้าส่งออกเท่าเดิมโดยหาตลาดใหม่แทน มุ่งช่วย SME OTOP



รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน (7/7/2012)

รัฐบาล ตั้งเป้าการส่งออกเท่าเดิมโดยหาตลาดใหม่ทดแทน มุ่งช่วยเหลือกลุ่ม SME และ OTOP ยันน้ำในเขื่อนปีนี้อยู่ในระดับ 44% พอรองรับภัยทำท่วมและภัยแล้ง

วันนี้ (7 ก.ค. 55) เวลา 08.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ นายธีรัตถ์ รัตนเสวี 


(พิธีกร) : สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน วันนี้ผมธีรัตถ์ รัตนเสวี รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ปัจจุบันนั้นมีหลายคนค่อนข้างที่จะหวั่นวิตกว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นใน กลุ่มประเทศยุโรปจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน ขณะเดียวกันความพร้อมของรัฐบาลในการที่จะรับมือกับน้ำที่จะมาในอีกไม่กี่ เดือนข้างหน้านั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง วันนี้ท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่กับเรา ท่านนายกฯ สวัสดีครับ
นายกรัฐมนตรี : สวัสดีค่ะ


พิธีกร : เรียนถามว่ารัฐบาลวิตกมากน้อยแค่ไหนกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศยุโรปว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน
นายกรัฐมนตรี : ถ้าถามว่ารัฐบาลวิตกไหม เราเรียกว่าเราติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและไม่ประมาท แต่ขณะเดียวกันไม่อยากให้ตื่นตระหนกจนหยุดการลงทุนทุกอย่าง เพราะบางครั้งเราหยุดการลงทุนแทนที่เศรษฐกิจจะโตกลับยิ่งเกิดปัญหาใหญ่ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลทำคือเรามีการตั้งคณะทำงานในการติดตามการเคลื่อนไหวของ วิกฤตเศรษฐกิจโดยเฉพาะในยุโรป จากที่เรามาประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ จะดูทั้งส่วนของเศรษฐกิจโลกและในส่วนของประเทศไทยด้วย ซึ่งเราจะติดตาม ในการติดตามนี้เราใช้วิธีการคือเชิญรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจทั้งหมดซึ่งมี 9 กระทรวง และรวมถึงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานพัฒนาเศรษฐกิจการคลังของกระทรวงการคลังด้วยที่จะมาติดตาม สถานการณ์ร่วมกันเราเองจะมากำหนดเรียกว่าเป็นจุด Trigger point หรือจุดที่ติดตามเตือนว่าถ้าเลยจุดนี้เมื่อไหร่หรือจุดที่เรามีความเป็นห่วง เมื่อไหร่ในตัวเลขหรือการเจริญเติบโตที่ลดลงในทางที่ผิดปกติเราก็พร้อมที่จะ ออกนโยบายในการแก้ปัญหาได้เลย


พิธีกร : ที่ท่านนายกฯ บอกในตอนต้น ตอนนี้ไม่อยากที่จะบอกมาตรการที่ออกไว้ก่อนอาจจะไปชะลอการเจริญการเติบโตของ เศรษฐกิจลง แต่ว่าให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง 9 กระทรวง ธนาคารแห่งประเทศไทยต่าง ๆ เหล่านี้มาหารือร่วมกันว่าจุด Trigger point ถ้าถึงตรงนี้ควรจะมีการดำเนินการอย่างไร
นายกรัฐมนตรี : ยกตัวอย่าง วันนี้เราดูตัวเลขของทางเศรษฐกิจด้วยรวมของประเทศไทย วันนี้ตัวเลขหลังจากที่สถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วม ตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้น ถามว่าดีขึ้นจากอะไร ดูจากอัตราการส่งออกตัวเลขการส่งออกดีขึ้น แต่ยังไม่ได้เป็นจุดที่เราพึงพอใจ ถ้าถามว่าเส้นกราฟมีโอกาสที่หัวชันขึ้นแต่จะชันขึ้นอย่างไรนั้นต้องเนื่อง จากสถานการณ์ในยุโรปต่าง ๆ เข้ามาเราต้องติดตาม แต่ในการส่งออกมีอัตราของการส่งออกที่เราส่งออกไป สหภาพยุโรป (EU) โตขึ้นถึงร้อยละ 6.8 


พิธีกร : ถึงแม้ว่าเราเป็นห่วงยุโรปว่าชะลอตัวลงแต่ว่ามีตัวเลข
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ อย่างเรื่องของอุตสาหกรรมการผลิตดีขึ้น ภาคการเกษตรก็ดีขึ้น และการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเราไปดูอีกว่าการท่องเที่ยวนั้นเป็นอย่างไร ตัวนักท่องเที่ยวจากยุโรปเข้ามาประเทศไทยก็ดีขึ้น เรียนว่ายังอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่ามีการเติบโตแต่อาจจะไม่สูงมากนัก ซึ่งเราต้องติดตามอยู่เพราะว่าประเทศกำลังฟื้นจากสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม นี้และเรามาดูอีกว่าในส่วนการติดตามต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น จุดที่เราจะดูอัตราการว่างงาน วันนี้อัตราการว่างงานมีประมาณ 3 แสนกว่าราย แต่ในส่วนนี้ก็มีจำนวนนักศึกษาที่จบใหม่ซึ่งต้องไปวิเคราะห์ว่าที่ว่าง งานอยู่ในอาชีพใดบ้าง แต่อัตราการจ้างงานก็ยังโตขึ้นแต่ถ้าเราโตขึ้น อย่างวันนี้มองว่าอัตราการจ้างงาน ถ้าไม่โตขึ้นเลยกี่เดือนติดต่อกัน เราต้องกลับมาดูว่าแปลว่าภาพรวมนี้เศรษฐกิจเริ่มหดตัว จะมีตัวสัญญาณบอกบางอย่าง ซึ่งทุกกระทรวงต้องบูรณาการกันในการที่จะติตตาม เมื่อเราเห็นสัญญาณแต่ละตัวหลาย ๆ ตัว ประกอบกันแล้ว เกิดมีแนวโน้มที่ลดลงเราต้องเตรียมหามาตรการแต่ส่วนหนึ่งที่จะเรียนคุณธีรัต ถ์ฯ ให้สบายใจว่า ในส่วนของสถานการณ์การเงิน การคลัง ของเรานั้นอยู่ในสภาพที่ดีอยู่และสภาพคล่องของธนาคารยังดีอยู่ เชื่อว่าตรงนี้มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น เราจะรองรับได้ แต่สิ่งที่เราอยากให้พี่น้องประชาชนหรือทางผู้ประกอบการนั้นคือ 1. การเตรียมตัวบนความไม่ประมาทแต่อย่าตกใจ ถ้าตกใจเรางดการลงทุนเลย อย่างเช่นผู้ที่ส่งออกที่เคยส่งออกตลาดยุโรป ไม่ส่งออกแล้วเปลี่ยนตลาดใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้เราเสียโอกาสบางครั้งเราอาจจะไปดูในเรื่องของความเสี่ยงมาก ขึ้น เช่น ถ้าเราส่งออกไปในกลุ่ม 5 ประเทศที่มีปัญหาในกลุ่มยูโรโซนอาจจะใช้วิธีคือ 1. ลดจำนวนสต๊อกหรือไปขายในประเทศอื่นในยุโรปก็ได้ หรือว่าดูมาตรการในการเงินที่ติดตามอย่างใกล้ชิด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราอยากให้ทำการปรับวิธีการซึ่งได้สั่งการกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์มีการทำ Workshop ในส่วนของภาคส่งออกด้วยที่จะมาร่วมช่วยกันในการแก้ไขปัญหาของผู้ส่งออกซึ่ง เราจะแบ่งเป็นรายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกที่เราจะเร่งด่วนที่จะเข้าไปดูแลช่วยเหลือคือในส่วนของ อัญมณี สิ่งทอ หรือภาคการเกษตร มีเรื่องของยางพาราสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่เราต้องเข้าไปช่วยกันทำงานอย่างใกล้ชิดว่าต้องการการสนับสนุน หรือการดูแลจากภาครัฐอย่างไรและเข้าใจปัญหา


พิธีกร : ท่านนายกฯ ได้ไป Workshop เรื่องของการส่งออกมายังคงตั้งเป้าไหมว่าการส่งออกของประเทศไทยในปีนี้ยัง เป็นตัวเลขเดิมที่เราได้ยินมาตลอดว่า 15% 
นายกรัฐมนตรี : ขอใช้คำอย่างนี้ได้ไหมว่า เรายังตั้งเป้าเดิมคือการโต 15% แต่เราปรับวิธีการเพื่อให้การทำงานนั้นสอดคล้องกับสภาวะวันนี้และพยายามที่ จะลดความเสี่ยงและกระจายไปยังจุดอื่น ๆ ในการที่จะหาโอกาสของตลาดใหม่ที่จะทดแทน จะพยายามถือว่าเป้าหมายนี้ถามว่าท้าทายไหม ก็เป็นเป้าหมายที่ท้าทายแต่ไม่อยากอยู่ในบรรยากาศที่ทุกคนตกใจ และตัดเป้าหมด การเติบโตก็ไม่มีเราต้องทำของเราให้เต็มที่ก่อนและดูว่าเราทำได้เต็มที่ แล้วดีที่สุดอย่างไร


พิธีกร : มีการพูดถึงการจัดตั้งคณะทำงานต่าง ๆ เช่น การแก้ไขปัญหาเรื่องภาษีฯ กฎระเบียบต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นการช่วยทางหนึ่งด้วยที่ทำให้ผู้ส่งออกนั้นสามารถที่จะดำเนินการเรื่อง การของการส่งออกได้สะดวกมากขึ้น
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ เราตั้งคณะทำงานขึ้นมา 5 กลุ่มด้วยกัน เรียนโดยสรุปแล้วกันคือกลุ่มแรกเป็นคณะกรรมการที่แก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบ เช่น อัญมณี สิ่งทอ เพื่อหาแนวทางร่วมกันว่าจะต้องช่วยกันอย่างไร กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่การอำนวยความสะดวกหรือเรียกว่าโลจิสติกส์ ถ้าเรือต่าง ๆ เราจะทำอย่างไรให้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพได้ในระยะเวลาอันสั้นนี้ และคณะกรรมการที่หาโอกาสในตลาดใหม่ซึ่งเราได้บูรณาการกับกระทรวงการต่าง ประเทศ และทูตพาณิชย์ที่จะร่วมกันในการที่จะศึกษาติดตามว่าประเทศใดมีนโยบายในการ ส่งเสริมการลงทุนของเราที่ไปลงทุนที่อื่นบ้างเพื่อให้ภาคเอกชนนั้นได้มี โอกาสหาตลาดใหม่ ๆ ขณะเดียวกันปัญหาเรื่องของวัตถุดิบหรือแหล่งวัตถุดิบที่ถูกลงหรือที่มี ประสิทธิภาพก็ให้มองในส่วนของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วย อันนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการอยู่หลายชุดในการที่จะทำงานติดตามซึ่งการแก้ ปัญหาในการส่งออกของเราจะมีการนัดประชุมหารือกันเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามความคืบหน้า


พิธีกร : ถ้าเรามองเฉพาะการส่งออกเราอาจจะไม่บอกผู้ประกอบการแต่ว่าห่วงโซ่ ซึ่งอาจจะกลับมาถึงเป็น SME ในบ้านเราด้วย จะมีการเข้าไปดูแลถึงรายเล็ก ๆ ที่เป็น SME ด้วยไหม
นายกรัฐมนตรี : ดูค่ะ จริง ๆ แล้ววันนี้รัฐบาลให้ความสำคัญและการที่ลงมาดูในการช่วยเหลือในภาคของกลุ่ม SME ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่เป็นกลุ่มใหญ่และมีศักยภาพในการเติบโตในภาพรวมจะมี การติดตามในการช่วยเหลือกลุ่ม SME ด้วย ในขณะนี้เราดึงมาเฉพาะในส่วนของที่เร่งด่วนคือภาคส่งออกโดยเฉพาะในกลุ่มที่ มีการส่งออกของกลุ่มยุโรปที่คาดว่าอาจจะมีผลกระทบ ซึ่งเราจะไปศึกษาทั้งผลกระทบทางตรงและผลกระทบทางอ้อมเพื่อให้เข้าใจและ เตรียมการให้รอบครอบ


พิธีกร : หน่วยงานต่าง ๆ ที่เราคุยกันในตอนต้นทั้ง 9 กระทรวง และธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สสช.) เหล่านี้ได้มีการแบ่งปันข้อมูลอย่างไรในการประเมินสถานการณ์ด้วยไหม
นายกรัฐมนตรี : แบ่งปันค่ะ คือนอกจากจะแบ่งปันแล้วเราอาจจะต้องเอาข้อมูลมาบูรณาการรวมกันในการออกแบบ Template หรือออกแบบฟอร์มที่จะกรองเพื่อให้ทุกหน่วยงานนั้นมาใช้คู่กันเพื่อประกอบ ความเข้าใจ เช่น อัตราการว่างงานต้องไปดูเรื่องของอัตรานักศึกษาจบใหม่หรือไปดูในส่วนของโรง งานอุตสาหกรรมว่าวันนี้จริง ๆ แล้วเราผลิตบัณฑิตหรือผลิตแรงงานต่าง ๆ ตรงกับความต้องการหรือเปล่าเพราะว่าอย่างภาคอุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมที่ เติบโตค่อนข้างเร็ว เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่จะต้องเข้าไปดูว่าส่วนนี้ต้องการส่วนของฝ่ายเทคนิก แรงงานลักษณะอย่างไรและกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะช่วยกันในการบูรณาการในการ สร้างอาชีพกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร อันนี้คงต้องเอาทุกหน่วยงานมาบูรณาการร่วมกันเพื่อให้การทำงานนี้ตรงกลุ่ม เป้าหมายให้ชัดเจนขึ้น


พิธีกร : โดยร่วมตอนนี้คือยังไม่อยากให้ประชาชนตระหนกตกใจมากว่าวิกฤตยุโรปนั้นกระทบ กับประเทศไทยแล้ว เพราะตัวเลขที่ผ่านมาค่อนข้างดี พอเกิดวิกฤตเราเห็นว่าเงินเฟ้อก็ไม่สูงมากนัก ทุกอย่างอยู่ในกรอบที่เอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเราด้วย
นายกรัฐมนตรี : เรียนว่าไม่อยากให้ตกใจมากนัก เพราะต้องมาดูวิธีการที่อยู่ในกลุ่มที่ไม่ประมาทและลดความเสี่ยงลดสต๊อกต่าง ๆ อันนี้จะเป็นการเตรียมป้องกันเรียกว่าปลอดภัยไว้ก่อน


พิธีกร : ขณะเดียวกันการทำธุรกิจหรือว่าการทำให้ชุมชนเข้มแข็งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเรื่องของ OTOP ปีนี้รัฐบาลจะมีการผลักดันอย่างไรบ้าง
นายกรัฐมนตรี : OTOP ถือว่าเป็นนโยบายอย่างหนึ่งของรัฐบาลที่ต้องการที่จะเสริมอาชีพและสร้างงาน ซึ่งสิ่งที่เราได้มาคุยกันคือในส่วนของ OTOP เนื่องจากเรามีภูมิปัญญาไทย เรามีความรู้พื้นฐานทางด้านของสินค้าต่าง ๆ สินค้าOTOP มีพื้นฐานที่ดีแต่สิ่งที่ OTOP มีความต้องการที่จะรับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นคือว่าการทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ สามารถที่จะมีคุณภาพสูงขึ้นและสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้นการเข้าถึง แหล่งเงินทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มว่าสินค้าชิ้นเดียวกันถ้าเรารู้จักในการออกแบบที่ดี มีคุณภาพที่ดี วางการตลาดได้ดีเราจะขายได้ในราคาที่สูงขึ้น อันนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง และเรื่องของช่องทางการจัดจำหน่ายดังนั้นการทำ Workshop ในส่วนของกลุ่มสินค้า OTOP รัฐบาลได้มีการแบ่งในส่วนของสินค้าเราจะกำหนดในเรื่องของการพัฒนาให้ชัดเจน ว่าสินค้าแต่ละประเภท เช่น หมวดอาหาร หมวดเครื่องนุ่งห่ม หมวดสินค้าต่าง ๆ ที่เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ต่าง ๆ ที่เป็นสินค้าจากพื้นบ้านหรือของประดับต่าง ๆ เราจะทำอย่างไรในการที่จะออกแบบช่วยกันพัฒนาคิดค้นซึ่งจะบูรณาการกับทางด้าน ของศูนย์วิจัย และการทำงานในการที่จะพัฒนาในส่วนของสินค้านี้ให้มากขึ้นและรวมถึงให้กลุ่ม ของ OTOP นั้นเข้าถึงแหล่งเงินทุนซึ่งจะบูรณาการกับทางสถาบันการเงินต่าง ๆ ในการที่จะให้ช่วยเสริมในการที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุน อันนี้จะเป็นเรื่องของสินค้า ต่อไปเป็นเรื่องของกลุ่มนอกจากกลุ่ม OTOP นี้มีหลายกลุ่มและหลายประเภทในการที่เราจะทำการตลาดเราต้องเข้าใจในเรื่อง ของกลุ่มของผู้ประกอบการทั้งหมดจะแบ่งเป็นหลาย ๆ กลุ่ม โดยจะมองทางด้านของคุณภาพและปริมาณ อย่างบางกลุ่มจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพฝีมือดีแต่ไม่สามารถขยายได้มาก เราจะมองกลุ่มนี้วิธีการทำตลาดที่จะเรียกว่าเป็นกลุ่มเฉพาะที่มีความเด่น ความสวย ความงาม เรียกว่าเป็นดาวเด่น อันนี้เป็นกลุ่มหนึ่งที่ใช้งานฝีมือ วิธีการวางขาย วิธีการจัดจำหน่ายหรือวิธีการออกแบบจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง


พิธีกร : อันนั้นคือจะเป็นการเปลี่ยนแปลง OTOP 4 ดาว 5 ดาว แบบเมื่อสมัยก่อนหรือว่าเป็นการแบ่งสัดส่วนใหม่ของ OTOP หรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี : OTOP แต่ละดาวยังอยู่เหมือนเดิมแต่สิ่งที่เราคิดเราจะคิดในมุมที่เรียกว่าการแก้ ปัญหา ถ้าเราแก้ภาพรวมเราต้องทำทุกคนเหมือนกันหมดแต่ในการทำงานเราต้องเข้าใจปัญหา แต่ละกลุ่ม เรามองว่าการแก้ปัญหาของ OTOP มีอยู่ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเรียกว่าเป็นกลุ่มดาวเด่น เป็นกลุ่มที่สามารถที่จะขยายกำลังการผลิตได้มากและมีคุณภาพฝีมือสูง กลุ่มนี้สามารถมีศักยภาพในการที่จะขายระดับประเทศ ขึ้นห้างสรรพสินค้า หรือส่งออกได้


พิธีกร : เรียกว่าเป็นดาวเด่นสู่สากล
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่อนุรักษ์คุณค่าคือกลุ่มที่เป็นงานฝีมือจริง ๆ ไม่สามารถที่จะใช้เครื่องจักรขยายได้ต้องทำจากฝีมือแรงงาน เช่น การแกะสลักเครื่องเงินสักชิ้นหนึ่งซึ่งสวยมากหรือว่าเครื่องเขินต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้เป็นกลุ่มที่เราต้องวางการตลาดอีกแบบหนึ่งที่จะเสริมในส่วนของ ความเป็น Premium หรือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นกลุ่มที่ต้องการพัฒนาคือเขาอาจจะมีกำลังการผลิตที่สูง สามารถผลิตได้มากแต่ต้องการการพัฒนาด้านคุณภาพก็ต้องมีในส่วนของการวิจัยที่ เข้ามาเสริมคุณภาพ แต่กลุ่มสุดท้ายนี้จะเป็นกลุ่มที่อาจจะไม่สามารถที่จะรองรับทั้งปริมาณและ คุณภาพ เราต้องเข้าไปทำความเข้าใจว่าเขาต้องการแหล่งเงินทุน ต้องการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการไหม แก้ปัญหาหนี้สินหรือแก้ปัญหาเรื่องความรู้การจัดการ อันนี้จะแบ่งวิธีการแก้ไขปัญหาเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน เพื่อให้ทำงานได้ในเชิงของรายละเอียดมากขึ้นจากนั้นมาดูในส่วนของการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย


พิธีกร : เป็นปัญหาใหญ่ มีคนมองว่า OTOP ผลิตอยู่ในชุมชนแล้วไม่รู้ว่าจะไปจำหน่ายอย่างไร จะให้ผลผลิตในจังหวัดเชียงใหม่ จะให้คนที่ภาคใต้รู้จักได้อย่างไร รัฐบาลมีการช่วยเหลือไหม 
นายกรัฐมนตรี : ถ้าหลาย ๆ กลุ่ม ถ้าเขามีความสามารถเขาจะมีหน้าร้านของตนเอง ถ้าหากไม่มี OTOP จะไม่มีเงินในการที่จะไปเปิดหน้าร้านซึ่งภาครัฐจะเข้าช่วยด้วย ซึ่งเราจะดูทั้งเรื่องระบบขายตรงคือ MLM ในการที่จะประสานกับภาคเอกชนที่จะช่วยสินค้า OTOP ได้ไปขายตามบ้านหรือไปขายขึ้นห้างสรรพสินค้าที่จะขอความร่วมมือกับทางห้าง สรรพค้าที่มีมุมสินค้าพื้นบ้านของแต่ละจังหวัดเอามาขายให้คนไทย เช่น คนกรุงเทพฯ ได้เห็นสินค้าทางภาคใต้มีอะไรดี สินค้าทางภาคอีสานมีอะไรดี ซึ่งจะได้สามารถหาซื้อได้จะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เราจะเข้ามาในการที่จะ เสริมช่วยรวมถึงการทำการตลาดให้กับ OTOP ด้วย


พิธีกร : มีความพยายามที่จะดึงบริษัทไปรษณีย์ไทยเข้ามาช่วยด้วยทั้งมีการจัดจำหน่ายสินค้า OTOP ออนไลน์ด้วย
นายกรัฐมนตรี : อันนี้ก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งคือเราจะต้องการขายตรง คือขายผ่านทางหน้าร้าน ขายผ่านทางหน้า MLM หรือขายตรงที่มีตัวแทน หรือจะดูทั้งระบบที่ขายผ่านทางออนไลน์ที่ดูตามเว็บไซต์และสามารถสั่งซื้อได้ ก็จะบูรณาการใช้ไปรษณีย์เป็นผู้ที่ทำการจัดสั่งสินค้าให้


พิธีกร : และการเชื่อมโยงสินค้า OTOP กับการท่องเที่ยว ท่านนายกรัฐมนตรีเคยคุยกับผมไว้เหมือนกันว่าท่านนายกฯ ไปญี่ปุ่นมาและมีการเห็นว่าเขาได้มีการนำ OTOP มาลิงค์กับการท่องเที่ยวมีการคืบหน้าอย่างไรบ้างครับ
นายกรัฐมนตรี : จริง ๆ ตอนนี้ว่าจะปิดไว้ก่อนแต่พอดีคุณธีรัตถ์ถาม ก็จะบอกไว้เล็กน้อยเพราะเราก็คิดเหมือนกันเรามองว่าในส่วนการท่องเที่ยวมี หลายสถานที่ที่สำคัญและท่องเที่ยวก็มีรถไฟสายท่องเที่ยวเราก็อยากเห็นรถไฟ ที่เคยเล่าให้พี่น้องประชาชนฟังในรายการว่าในประเทศญี่ปุ่นเขามีสินค้า OTOP ขึ้นมา เราก็อยากเห็นสินค้า OTOP นี้ขายบนรถไฟสายท่องเที่ยวและตามสถานีรถไฟเราจะบูรณาการในเชิงที่เรียกว่า ท่องเที่ยวเชิงการสร้างภูมิปัญญาไทย


พิธีกร : เราจะเฝ้ารอว่าจะออกมาเป็นอย่างไร
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ ใช่ค่ะ


พิธีกร : กิจกรรมที่เรามักจะเห็นว่า OTOP มีกี่ OTOP ใหญ่ ๆ ยังคงมีอยู่
นายกรัฐมนตรี : มีอยู่ค่ะ แต่จะพยายามที่จะเสริมในมุมมองของการสร้างมูลค่าเพิ่มและเรื่องของการเพิ่ม ช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับสินค้า OTOP ด้วยจะได้ไม่รอแต่การจัดกิจกรรมอย่างเดียว ซึ่งรายได้แต่ละปีก็จะไม่นิ่ง


พิธีกร : ต้องรอเป็นช่วง ๆ ใช่ไหม
นายกรัฐมนตรี : ถ้าเรามีหน้าร้านที่ชัดเจนทาง OTOP จะได้มีโอกาสในการแข่งขันและก็มีช่องทางมากขึ้น


พิธีกร : แต่ว่าพอพูดถึงสินค้า OTOP จะทำให้นึกถึงการบริหารจัดการโครงการต่าง ๆ ในชุมชน รัฐบาลได้ริเริ่มกองทุนหมู่บ้าน SML เหล่านั้น มีการตั้งคำถามว่าการคิดโครงการหรือว่าการเดินหน้าโครงการ SML ทำได้ช้ามากมีการเบิกจ่ายหรือไม่ค่อยเห็นผลงานออกมาเลยเกิดอะไรเกิดอะไรขึ้น กับ SML ตอนนี้
นายกรัฐมนตรี : ส่วนของ SML เราได้มีการประกาศเปิดตัวแล้วเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงใจตรงกันจริง ๆ แล้ว SML เราขยายให้กับแต่ละชุมชนที่เรียกว่า size ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ตามปริมาณขนาดของชุมชน ซึ่งแต่ละชุมชนเราได้มีการโอนเงินให้กับชุมชนแล้ว ซึ่งหลักที่อยากให้เกิดความเข้าใจตรงกันคือเงินก้อนนี้เป็นเงินที่พี่น้อง ประชาชนแต่ละชุมชนสามารถทำประชาคมในหมู่บ้านของตนเองที่จะตัดสินใจในการใช้ เงินก้อนนี้ในการแก้ปัญหาของชุมชน


พิธีกร : แสดงว่าเอาเงินที่อยู่ในชุมชนแล้วไม่ใช่ว่าอำนาจหน้าที่ของจังหวัดหรืออำเภอ ที่จะไปสั่งว่าคุณต้องทำกิจกรรมนั้น แต่ว่าจะต้องเกิดขึ้นจากคนในหมู่บ้านรวมตัวกันทำประชาคมขึ้นมา
นายกรัฐมนตรี : ถูกต้องค่ะ ในหมู่บ้านรวมตัวกันทำประชาคมกันเพื่อเลือกคณะกรรมการพอได้คณะกรรมการนี้ผู้ ที่จะเสนอโครงการก็จะต้องทำประชาคมในหมู่บ้านเองว่าอยากจะเสนอโครงการอะไร ที่จะนำเงินเหล่านี้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในชุมชนเอง ซึ่งอันนี้ที่เรียกว่าเป็นสิทธิและเป็นเงินของชุมชนทางภาครัฐหรือส่วนราชการ จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวมีหน้าที่ในการช่วยอำนวยความสะดวกให้กลไกนี้ทำงานได้ คล่องขึ้น ซึ่งพี่น้องประชาชนสามารถที่จะติดต่อได้จากเบอร์ของกองทุน SML ได้ในการสอบถามหรือแจ้งได้ว่าติดขัดอย่างไร เพราะจริง ๆ แล้วเป็นนโยบายที่พี่น้องประชาชนเรียกร้องและอยากให้มีขึ้น ดิฉันเองมองว่าการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะเศรษฐกิจในช่วงนี้ต้องการการแก้ไข ฟื้นฟูซึ่งภาครัฐอาจจะมองไม่เห็นในการแก้ไขปัญหาระดับชุมชน เราถึงมีนโยบายไม่ว่าจะเป็นนโยบายกองทุนหมู่บ้าน หรือนโยบาย SML เพื่อที่จะให้พี่น้องประชาชนแก้ไขปัญหาในชุมชนเอง เรียกว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยของชุมชน


พิธีกร : ของชุมชนว่าชุมชนอยากจะเห็นโครงการอะไร ซึ่งการวัดความสำเร็จของกองทุนที่ประชาชนจัดกิจกรรมหรือทำประชาคมขึ้นมาเองจะวัดจากอะไร
นายกรัฐมนตรี : คือ 1. วัดจากจำนวนผู้ที่มาขอโครงการหรือการที่ยอมรับและที่สำคัญคือการที่เรา บอกว่าให้เป็นประชาคมเพราะว่าการวัดจากการยอมรับ ซึ่งกลไกนี้จะเป็นกลไกของการยอมรับถ้าสมมุติว่าทุกคนที่อยู่ในหมู่บ้านทำ โครงการที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนแน่นอนจะมีเสียงที่เรียกร้องหรือคัดค้าน เกิดขึ้น อันนี้จะเรียกว่ากลไกที่เราให้พี่น้องประชาชนใช้เงินอย่างเต็มที่และเรียก ว่ามีความเป็นประชาธิปไตยในการที่จะตัดสินใจใช้เงินของชุมชนอย่างตรงกับความ ต้องการ


พิธีกร : เพราะฉะนั้นยืนยันว่าภาครัฐจะไม่เข้าไปยุ่งกับเงินก้อนนั้นแน่นอน
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ
พิธีกร : จังหวัดจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง อำเภอต่าง ๆ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ใช้ตรงนั้น
นายกรัฐมนตรี : ไม่ใช่ค่ะ เป็นของประชาชนที่จะตัดสินใจได้เลยค่ะ


พิธีกร : เพราะฉะนั้นถ้ามีข้อติดขัดเรามีเบอร์โทรศัพท์ขึ้นไว้บนหน้าจอ เบอร์  02-100-2409 ต่อ 2410 หรือ 2462 หรือจะส่งเป็นจดหมายมาที่ ตู้ ปณ. 11 ปณฝ. ห้าแยกปากเกร็ด นนทบุรี 11121 ช่วงนี้ผมขอพักสักครู่ ช่วงต่อไปกลับมาคุยกับท่านนายกรัฐมนตรีกันต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการบริหารจัดการรับมืออุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นใน ปีนี้ สักครู่หนึ่งกลับมาครับ