รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน (7/7/2012)
รัฐบาล ตั้งเป้าการส่งออกเท่าเดิมโดยหาตลาดใหม่ทดแทน มุ่งช่วยเหลือกลุ่ม SME และ OTOP ยันน้ำในเขื่อนปีนี้อยู่ในระดับ 44% พอรองรับภัยทำท่วมและภัยแล้ง
วันนี้ (7 ก.ค. 55) เวลา 08.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ นายธีรัตถ์ รัตนเสวี
(พิธีกร) : สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน วันนี้ผมธีรัตถ์ รัตนเสวี รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ปัจจุบันนั้นมีหลายคนค่อนข้างที่จะหวั่นวิตกว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นใน กลุ่มประเทศยุโรปจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน ขณะเดียวกันความพร้อมของรัฐบาลในการที่จะรับมือกับน้ำที่จะมาในอีกไม่กี่ เดือนข้างหน้านั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง วันนี้ท่านนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่กับเรา ท่านนายกฯ สวัสดีครับ
นายกรัฐมนตรี : สวัสดีค่ะ
พิธีกร : เรียนถามว่ารัฐบาลวิตกมากน้อยแค่ไหนกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศยุโรปว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน
นายกรัฐมนตรี : ถ้าถามว่ารัฐบาลวิตกไหม เราเรียกว่าเราติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและไม่ประมาท แต่ขณะเดียวกันไม่อยากให้ตื่นตระหนกจนหยุดการลงทุนทุกอย่าง เพราะบางครั้งเราหยุดการลงทุนแทนที่เศรษฐกิจจะโตกลับยิ่งเกิดปัญหาใหญ่ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลทำคือเรามีการตั้งคณะทำงานในการติดตามการเคลื่อนไหวของ วิกฤตเศรษฐกิจโดยเฉพาะในยุโรป จากที่เรามาประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ จะดูทั้งส่วนของเศรษฐกิจโลกและในส่วนของประเทศไทยด้วย ซึ่งเราจะติดตาม ในการติดตามนี้เราใช้วิธีการคือเชิญรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจทั้งหมดซึ่งมี 9 กระทรวง และรวมถึงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานพัฒนาเศรษฐกิจการคลังของกระทรวงการคลังด้วยที่จะมาติดตาม สถานการณ์ร่วมกันเราเองจะมากำหนดเรียกว่าเป็นจุด Trigger point หรือจุดที่ติดตามเตือนว่าถ้าเลยจุดนี้เมื่อไหร่หรือจุดที่เรามีความเป็นห่วง เมื่อไหร่ในตัวเลขหรือการเจริญเติบโตที่ลดลงในทางที่ผิดปกติเราก็พร้อมที่จะ ออกนโยบายในการแก้ปัญหาได้เลย
พิธีกร : ที่ท่านนายกฯ บอกในตอนต้น ตอนนี้ไม่อยากที่จะบอกมาตรการที่ออกไว้ก่อนอาจจะไปชะลอการเจริญการเติบโตของ เศรษฐกิจลง แต่ว่าให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง 9 กระทรวง ธนาคารแห่งประเทศไทยต่าง ๆ เหล่านี้มาหารือร่วมกันว่าจุด Trigger point ถ้าถึงตรงนี้ควรจะมีการดำเนินการอย่างไร
นายกรัฐมนตรี : ยกตัวอย่าง วันนี้เราดูตัวเลขของทางเศรษฐกิจด้วยรวมของประเทศไทย วันนี้ตัวเลขหลังจากที่สถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วม ตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้น ถามว่าดีขึ้นจากอะไร ดูจากอัตราการส่งออกตัวเลขการส่งออกดีขึ้น แต่ยังไม่ได้เป็นจุดที่เราพึงพอใจ ถ้าถามว่าเส้นกราฟมีโอกาสที่หัวชันขึ้นแต่จะชันขึ้นอย่างไรนั้นต้องเนื่อง จากสถานการณ์ในยุโรปต่าง ๆ เข้ามาเราต้องติดตาม แต่ในการส่งออกมีอัตราของการส่งออกที่เราส่งออกไป สหภาพยุโรป (EU) โตขึ้นถึงร้อยละ 6.8
พิธีกร : ถึงแม้ว่าเราเป็นห่วงยุโรปว่าชะลอตัวลงแต่ว่ามีตัวเลข
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ อย่างเรื่องของอุตสาหกรรมการผลิตดีขึ้น ภาคการเกษตรก็ดีขึ้น และการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเราไปดูอีกว่าการท่องเที่ยวนั้นเป็นอย่างไร ตัวนักท่องเที่ยวจากยุโรปเข้ามาประเทศไทยก็ดีขึ้น เรียนว่ายังอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่ามีการเติบโตแต่อาจจะไม่สูงมากนัก ซึ่งเราต้องติดตามอยู่เพราะว่าประเทศกำลังฟื้นจากสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม นี้และเรามาดูอีกว่าในส่วนการติดตามต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น จุดที่เราจะดูอัตราการว่างงาน วันนี้อัตราการว่างงานมีประมาณ 3 แสนกว่าราย แต่ในส่วนนี้ก็มีจำนวนนักศึกษาที่จบใหม่ซึ่งต้องไปวิเคราะห์ว่าที่ว่าง งานอยู่ในอาชีพใดบ้าง แต่อัตราการจ้างงานก็ยังโตขึ้นแต่ถ้าเราโตขึ้น อย่างวันนี้มองว่าอัตราการจ้างงาน ถ้าไม่โตขึ้นเลยกี่เดือนติดต่อกัน เราต้องกลับมาดูว่าแปลว่าภาพรวมนี้เศรษฐกิจเริ่มหดตัว จะมีตัวสัญญาณบอกบางอย่าง ซึ่งทุกกระทรวงต้องบูรณาการกันในการที่จะติตตาม เมื่อเราเห็นสัญญาณแต่ละตัวหลาย ๆ ตัว ประกอบกันแล้ว เกิดมีแนวโน้มที่ลดลงเราต้องเตรียมหามาตรการแต่ส่วนหนึ่งที่จะเรียนคุณธีรัต ถ์ฯ ให้สบายใจว่า ในส่วนของสถานการณ์การเงิน การคลัง ของเรานั้นอยู่ในสภาพที่ดีอยู่และสภาพคล่องของธนาคารยังดีอยู่ เชื่อว่าตรงนี้มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น เราจะรองรับได้ แต่สิ่งที่เราอยากให้พี่น้องประชาชนหรือทางผู้ประกอบการนั้นคือ 1. การเตรียมตัวบนความไม่ประมาทแต่อย่าตกใจ ถ้าตกใจเรางดการลงทุนเลย อย่างเช่นผู้ที่ส่งออกที่เคยส่งออกตลาดยุโรป ไม่ส่งออกแล้วเปลี่ยนตลาดใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้เราเสียโอกาสบางครั้งเราอาจจะไปดูในเรื่องของความเสี่ยงมาก ขึ้น เช่น ถ้าเราส่งออกไปในกลุ่ม 5 ประเทศที่มีปัญหาในกลุ่มยูโรโซนอาจจะใช้วิธีคือ 1. ลดจำนวนสต๊อกหรือไปขายในประเทศอื่นในยุโรปก็ได้ หรือว่าดูมาตรการในการเงินที่ติดตามอย่างใกล้ชิด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราอยากให้ทำการปรับวิธีการซึ่งได้สั่งการกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์มีการทำ Workshop ในส่วนของภาคส่งออกด้วยที่จะมาร่วมช่วยกันในการแก้ไขปัญหาของผู้ส่งออกซึ่ง เราจะแบ่งเป็นรายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกที่เราจะเร่งด่วนที่จะเข้าไปดูแลช่วยเหลือคือในส่วนของ อัญมณี สิ่งทอ หรือภาคการเกษตร มีเรื่องของยางพาราสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่เราต้องเข้าไปช่วยกันทำงานอย่างใกล้ชิดว่าต้องการการสนับสนุน หรือการดูแลจากภาครัฐอย่างไรและเข้าใจปัญหา
พิธีกร : ท่านนายกฯ ได้ไป Workshop เรื่องของการส่งออกมายังคงตั้งเป้าไหมว่าการส่งออกของประเทศไทยในปีนี้ยัง เป็นตัวเลขเดิมที่เราได้ยินมาตลอดว่า 15%
นายกรัฐมนตรี : ขอใช้คำอย่างนี้ได้ไหมว่า เรายังตั้งเป้าเดิมคือการโต 15% แต่เราปรับวิธีการเพื่อให้การทำงานนั้นสอดคล้องกับสภาวะวันนี้และพยายามที่ จะลดความเสี่ยงและกระจายไปยังจุดอื่น ๆ ในการที่จะหาโอกาสของตลาดใหม่ที่จะทดแทน จะพยายามถือว่าเป้าหมายนี้ถามว่าท้าทายไหม ก็เป็นเป้าหมายที่ท้าทายแต่ไม่อยากอยู่ในบรรยากาศที่ทุกคนตกใจ และตัดเป้าหมด การเติบโตก็ไม่มีเราต้องทำของเราให้เต็มที่ก่อนและดูว่าเราทำได้เต็มที่ แล้วดีที่สุดอย่างไร
พิธีกร : มีการพูดถึงการจัดตั้งคณะทำงานต่าง ๆ เช่น การแก้ไขปัญหาเรื่องภาษีฯ กฎระเบียบต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นการช่วยทางหนึ่งด้วยที่ทำให้ผู้ส่งออกนั้นสามารถที่จะดำเนินการเรื่อง การของการส่งออกได้สะดวกมากขึ้น
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ เราตั้งคณะทำงานขึ้นมา 5 กลุ่มด้วยกัน เรียนโดยสรุปแล้วกันคือกลุ่มแรกเป็นคณะกรรมการที่แก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบ เช่น อัญมณี สิ่งทอ เพื่อหาแนวทางร่วมกันว่าจะต้องช่วยกันอย่างไร กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่การอำนวยความสะดวกหรือเรียกว่าโลจิสติกส์ ถ้าเรือต่าง ๆ เราจะทำอย่างไรให้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพได้ในระยะเวลาอันสั้นนี้ และคณะกรรมการที่หาโอกาสในตลาดใหม่ซึ่งเราได้บูรณาการกับกระทรวงการต่าง ประเทศ และทูตพาณิชย์ที่จะร่วมกันในการที่จะศึกษาติดตามว่าประเทศใดมีนโยบายในการ ส่งเสริมการลงทุนของเราที่ไปลงทุนที่อื่นบ้างเพื่อให้ภาคเอกชนนั้นได้มี โอกาสหาตลาดใหม่ ๆ ขณะเดียวกันปัญหาเรื่องของวัตถุดิบหรือแหล่งวัตถุดิบที่ถูกลงหรือที่มี ประสิทธิภาพก็ให้มองในส่วนของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วย อันนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการอยู่หลายชุดในการที่จะทำงานติดตามซึ่งการแก้ ปัญหาในการส่งออกของเราจะมีการนัดประชุมหารือกันเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามความคืบหน้า
พิธีกร : ถ้าเรามองเฉพาะการส่งออกเราอาจจะไม่บอกผู้ประกอบการแต่ว่าห่วงโซ่ ซึ่งอาจจะกลับมาถึงเป็น SME ในบ้านเราด้วย จะมีการเข้าไปดูแลถึงรายเล็ก ๆ ที่เป็น SME ด้วยไหม
นายกรัฐมนตรี : ดูค่ะ จริง ๆ แล้ววันนี้รัฐบาลให้ความสำคัญและการที่ลงมาดูในการช่วยเหลือในภาคของกลุ่ม SME ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่เป็นกลุ่มใหญ่และมีศักยภาพในการเติบโตในภาพรวมจะมี การติดตามในการช่วยเหลือกลุ่ม SME ด้วย ในขณะนี้เราดึงมาเฉพาะในส่วนของที่เร่งด่วนคือภาคส่งออกโดยเฉพาะในกลุ่มที่ มีการส่งออกของกลุ่มยุโรปที่คาดว่าอาจจะมีผลกระทบ ซึ่งเราจะไปศึกษาทั้งผลกระทบทางตรงและผลกระทบทางอ้อมเพื่อให้เข้าใจและ เตรียมการให้รอบครอบ
พิธีกร : หน่วยงานต่าง ๆ ที่เราคุยกันในตอนต้นทั้ง 9 กระทรวง และธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สสช.) เหล่านี้ได้มีการแบ่งปันข้อมูลอย่างไรในการประเมินสถานการณ์ด้วยไหม
นายกรัฐมนตรี : แบ่งปันค่ะ คือนอกจากจะแบ่งปันแล้วเราอาจจะต้องเอาข้อมูลมาบูรณาการรวมกันในการออกแบบ Template หรือออกแบบฟอร์มที่จะกรองเพื่อให้ทุกหน่วยงานนั้นมาใช้คู่กันเพื่อประกอบ ความเข้าใจ เช่น อัตราการว่างงานต้องไปดูเรื่องของอัตรานักศึกษาจบใหม่หรือไปดูในส่วนของโรง งานอุตสาหกรรมว่าวันนี้จริง ๆ แล้วเราผลิตบัณฑิตหรือผลิตแรงงานต่าง ๆ ตรงกับความต้องการหรือเปล่าเพราะว่าอย่างภาคอุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมที่ เติบโตค่อนข้างเร็ว เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่จะต้องเข้าไปดูว่าส่วนนี้ต้องการส่วนของฝ่ายเทคนิก แรงงานลักษณะอย่างไรและกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะช่วยกันในการบูรณาการในการ สร้างอาชีพกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร อันนี้คงต้องเอาทุกหน่วยงานมาบูรณาการร่วมกันเพื่อให้การทำงานนี้ตรงกลุ่ม เป้าหมายให้ชัดเจนขึ้น
พิธีกร : โดยร่วมตอนนี้คือยังไม่อยากให้ประชาชนตระหนกตกใจมากว่าวิกฤตยุโรปนั้นกระทบ กับประเทศไทยแล้ว เพราะตัวเลขที่ผ่านมาค่อนข้างดี พอเกิดวิกฤตเราเห็นว่าเงินเฟ้อก็ไม่สูงมากนัก ทุกอย่างอยู่ในกรอบที่เอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเราด้วย
นายกรัฐมนตรี : เรียนว่าไม่อยากให้ตกใจมากนัก เพราะต้องมาดูวิธีการที่อยู่ในกลุ่มที่ไม่ประมาทและลดความเสี่ยงลดสต๊อกต่าง ๆ อันนี้จะเป็นการเตรียมป้องกันเรียกว่าปลอดภัยไว้ก่อน
พิธีกร : ขณะเดียวกันการทำธุรกิจหรือว่าการทำให้ชุมชนเข้มแข็งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเรื่องของ OTOP ปีนี้รัฐบาลจะมีการผลักดันอย่างไรบ้าง
นายกรัฐมนตรี : OTOP ถือว่าเป็นนโยบายอย่างหนึ่งของรัฐบาลที่ต้องการที่จะเสริมอาชีพและสร้างงาน ซึ่งสิ่งที่เราได้มาคุยกันคือในส่วนของ OTOP เนื่องจากเรามีภูมิปัญญาไทย เรามีความรู้พื้นฐานทางด้านของสินค้าต่าง ๆ สินค้าOTOP มีพื้นฐานที่ดีแต่สิ่งที่ OTOP มีความต้องการที่จะรับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นคือว่าการทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ สามารถที่จะมีคุณภาพสูงขึ้นและสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้นการเข้าถึง แหล่งเงินทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มว่าสินค้าชิ้นเดียวกันถ้าเรารู้จักในการออกแบบที่ดี มีคุณภาพที่ดี วางการตลาดได้ดีเราจะขายได้ในราคาที่สูงขึ้น อันนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง และเรื่องของช่องทางการจัดจำหน่ายดังนั้นการทำ Workshop ในส่วนของกลุ่มสินค้า OTOP รัฐบาลได้มีการแบ่งในส่วนของสินค้าเราจะกำหนดในเรื่องของการพัฒนาให้ชัดเจน ว่าสินค้าแต่ละประเภท เช่น หมวดอาหาร หมวดเครื่องนุ่งห่ม หมวดสินค้าต่าง ๆ ที่เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ต่าง ๆ ที่เป็นสินค้าจากพื้นบ้านหรือของประดับต่าง ๆ เราจะทำอย่างไรในการที่จะออกแบบช่วยกันพัฒนาคิดค้นซึ่งจะบูรณาการกับทางด้าน ของศูนย์วิจัย และการทำงานในการที่จะพัฒนาในส่วนของสินค้านี้ให้มากขึ้นและรวมถึงให้กลุ่ม ของ OTOP นั้นเข้าถึงแหล่งเงินทุนซึ่งจะบูรณาการกับทางสถาบันการเงินต่าง ๆ ในการที่จะให้ช่วยเสริมในการที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุน อันนี้จะเป็นเรื่องของสินค้า ต่อไปเป็นเรื่องของกลุ่มนอกจากกลุ่ม OTOP นี้มีหลายกลุ่มและหลายประเภทในการที่เราจะทำการตลาดเราต้องเข้าใจในเรื่อง ของกลุ่มของผู้ประกอบการทั้งหมดจะแบ่งเป็นหลาย ๆ กลุ่ม โดยจะมองทางด้านของคุณภาพและปริมาณ อย่างบางกลุ่มจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพฝีมือดีแต่ไม่สามารถขยายได้มาก เราจะมองกลุ่มนี้วิธีการทำตลาดที่จะเรียกว่าเป็นกลุ่มเฉพาะที่มีความเด่น ความสวย ความงาม เรียกว่าเป็นดาวเด่น อันนี้เป็นกลุ่มหนึ่งที่ใช้งานฝีมือ วิธีการวางขาย วิธีการจัดจำหน่ายหรือวิธีการออกแบบจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง
พิธีกร : อันนั้นคือจะเป็นการเปลี่ยนแปลง OTOP 4 ดาว 5 ดาว แบบเมื่อสมัยก่อนหรือว่าเป็นการแบ่งสัดส่วนใหม่ของ OTOP หรือเปล่า
นายกรัฐมนตรี : OTOP แต่ละดาวยังอยู่เหมือนเดิมแต่สิ่งที่เราคิดเราจะคิดในมุมที่เรียกว่าการแก้ ปัญหา ถ้าเราแก้ภาพรวมเราต้องทำทุกคนเหมือนกันหมดแต่ในการทำงานเราต้องเข้าใจปัญหา แต่ละกลุ่ม เรามองว่าการแก้ปัญหาของ OTOP มีอยู่ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเรียกว่าเป็นกลุ่มดาวเด่น เป็นกลุ่มที่สามารถที่จะขยายกำลังการผลิตได้มากและมีคุณภาพฝีมือสูง กลุ่มนี้สามารถมีศักยภาพในการที่จะขายระดับประเทศ ขึ้นห้างสรรพสินค้า หรือส่งออกได้
พิธีกร : เรียกว่าเป็นดาวเด่นสู่สากล
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่อนุรักษ์คุณค่าคือกลุ่มที่เป็นงานฝีมือจริง ๆ ไม่สามารถที่จะใช้เครื่องจักรขยายได้ต้องทำจากฝีมือแรงงาน เช่น การแกะสลักเครื่องเงินสักชิ้นหนึ่งซึ่งสวยมากหรือว่าเครื่องเขินต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้เป็นกลุ่มที่เราต้องวางการตลาดอีกแบบหนึ่งที่จะเสริมในส่วนของ ความเป็น Premium หรือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นกลุ่มที่ต้องการพัฒนาคือเขาอาจจะมีกำลังการผลิตที่สูง สามารถผลิตได้มากแต่ต้องการการพัฒนาด้านคุณภาพก็ต้องมีในส่วนของการวิจัยที่ เข้ามาเสริมคุณภาพ แต่กลุ่มสุดท้ายนี้จะเป็นกลุ่มที่อาจจะไม่สามารถที่จะรองรับทั้งปริมาณและ คุณภาพ เราต้องเข้าไปทำความเข้าใจว่าเขาต้องการแหล่งเงินทุน ต้องการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการไหม แก้ปัญหาหนี้สินหรือแก้ปัญหาเรื่องความรู้การจัดการ อันนี้จะแบ่งวิธีการแก้ไขปัญหาเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน เพื่อให้ทำงานได้ในเชิงของรายละเอียดมากขึ้นจากนั้นมาดูในส่วนของการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย
พิธีกร : เป็นปัญหาใหญ่ มีคนมองว่า OTOP ผลิตอยู่ในชุมชนแล้วไม่รู้ว่าจะไปจำหน่ายอย่างไร จะให้ผลผลิตในจังหวัดเชียงใหม่ จะให้คนที่ภาคใต้รู้จักได้อย่างไร รัฐบาลมีการช่วยเหลือไหม
นายกรัฐมนตรี : ถ้าหลาย ๆ กลุ่ม ถ้าเขามีความสามารถเขาจะมีหน้าร้านของตนเอง ถ้าหากไม่มี OTOP จะไม่มีเงินในการที่จะไปเปิดหน้าร้านซึ่งภาครัฐจะเข้าช่วยด้วย ซึ่งเราจะดูทั้งเรื่องระบบขายตรงคือ MLM ในการที่จะประสานกับภาคเอกชนที่จะช่วยสินค้า OTOP ได้ไปขายตามบ้านหรือไปขายขึ้นห้างสรรพสินค้าที่จะขอความร่วมมือกับทางห้าง สรรพค้าที่มีมุมสินค้าพื้นบ้านของแต่ละจังหวัดเอามาขายให้คนไทย เช่น คนกรุงเทพฯ ได้เห็นสินค้าทางภาคใต้มีอะไรดี สินค้าทางภาคอีสานมีอะไรดี ซึ่งจะได้สามารถหาซื้อได้จะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เราจะเข้ามาในการที่จะ เสริมช่วยรวมถึงการทำการตลาดให้กับ OTOP ด้วย
พิธีกร : มีความพยายามที่จะดึงบริษัทไปรษณีย์ไทยเข้ามาช่วยด้วยทั้งมีการจัดจำหน่ายสินค้า OTOP ออนไลน์ด้วย
นายกรัฐมนตรี : อันนี้ก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งคือเราจะต้องการขายตรง คือขายผ่านทางหน้าร้าน ขายผ่านทางหน้า MLM หรือขายตรงที่มีตัวแทน หรือจะดูทั้งระบบที่ขายผ่านทางออนไลน์ที่ดูตามเว็บไซต์และสามารถสั่งซื้อได้ ก็จะบูรณาการใช้ไปรษณีย์เป็นผู้ที่ทำการจัดสั่งสินค้าให้
พิธีกร : และการเชื่อมโยงสินค้า OTOP กับการท่องเที่ยว ท่านนายกรัฐมนตรีเคยคุยกับผมไว้เหมือนกันว่าท่านนายกฯ ไปญี่ปุ่นมาและมีการเห็นว่