วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ย้ำชัด! แท็บเล็ตต้องเด็กป.1 ช่วยเด็กอ่านออกเขียนได้


(12 กรกฎาคม 2555 โรงแรมตรัง,กรุงเทพฯ) - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00น. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ “แท็บเล็ต ทำไมต้องเด็กป.1” โดยมี ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิริมย์ศานดิ์ นายกสมาคมจิตแพทย์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ณัฐภัทร อิทธรัตนสุนทร กรรมการผู้จัดการ บ.เอเชีย มีเดียร์ซอฟท์ จำกัด เป็นผู้ร่วมเสวนา และ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีคณาจารย์ในสังกัด สพฐ. และผู้ที่สนใจเข้าร่วมเสวนาจำนวนมาก

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จัดเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “แท็บเล็ต ทำไมต้องเด็กป.1” เพื่อตอบข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในการแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กป.1 หรือเด็กในวัย 6-7 ปีทั่วประเทศ ซึ่งการเสวนาจัดขึ้นเป็นลักษณะ 2 ภาษา ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน โดยมี ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเสวนาและสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ร่วมเสวนาบนเวทีด้วย นอกจากนี้ ยังมี รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รวมทั้ง นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายกสมาคมจิตแพทย์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต มาให้คำแนะนำถึงการใช้เทคโนโลยีแท็บเล็ตเพื่อการศึกษากับเด็กในช่วงวัย 6-7 ปี รวมทั้งการกำกับดูแลของคุณครูและพ่อแม่ผู้ปกครอง จากนี้ นายณัฐภัทร อิทธรัตนสุนทร กรรมการผู้จัดการ บ.เอเชีย มีเดียร์ซอฟท์ จำกัด บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์และธุรกิจด้านการฝึกอบรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้มาร่วมแสดงทัศนะเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารการเรียนการสอนยุคใหม่ รวมทั้งการพัฒนาเนื้อหาดิจิตอลเพื่อการศึกษา รวมทั้งการปรับตัวในยุคเทคโนโลยีที่ไม่สามารถหลึกเลี่ยงได้ แต่ต้องรู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ 

ด้าน  ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ กล่าวว่า การนำแท็บเล็ตมาใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ อาจจะมีการใช้ในช่วงชั้นที่แตกต่างกันไป มีหลายกรณีที่เราได้พบเห็น ดดยเฉพาะที่ชิคาโก้ สหรัฐอเมริกา ได้มีการใช้แท็บเล็ตมาแล้ว และเริ่มใช้ในนักเรียนเกรด 1 ซึ่งหลักการแนวคิดของเขาน่าสนใจ คือ ต้องการให้นักเรียนได้มีพัฒนาการในเรื่องของ Literacy นั้น คือการอ่านออกเขียนได้ หรือ Literacy Driven หมายความว่าต้องการขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้หนังสือได้โดยเร็วที่สุด ในมุมมองทรี่ลึกไปกว่านั้น คือ เน้นการแสดงออกทางความคิด เพราะฉะนั้น เมื่อเราใช้ถูกวิธีจะทำให้ครูได้เรียนรู้ในเรื่องกระบวนการคิดของนักเรียนแต่ละคน จึงโยงมาถึงเรื่องของการเรียนรู้รายบุคคล และการประเมินผลตามสภาพจริง คือ นักเรียนจะแสดงออกทางความคิดความรู้สึกโดยอธิบายสิ่งที่นักเรียนค้นพบเล่าเป็นเรื่องๆได้ เพราะฉะนั้นครูก็จะรู้กระบวนการคิดของนักเรียนว่าคิดอย่างไรจึงได้คำตอบเช่นนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น