วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

"ยิ่งลักษณ์" กล่าวปาฐกถา สรุปปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำ

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ
“ก้าวต่อไป ...รัฐบาลเพื่อไทย : มุ่งมั่น ตั้งใจ รับใช้ประชาชน”
28 กรกฎาคม 2555 - น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ก้าวต่อไป ...รัฐบาลเพื่อไทย : มุ่งมั่น ตั้งใจ รับใช้ประชาชน” ในการสัมนา "ทิศทางการทำงานการเมืองของพรรคเพื่อไทย" ที่ โรงแรมแอมบาสเดอร์ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับปัญหาในการบริหารจัดการน้ำในปี 2554 ดังนี้

ปัญหาในการบริหารจัดการน้ำในปี 2554


1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change)
จากผลของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้ช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2554 มีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 30 ปีถึง ร้อยละ 32 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุ 5 ลูกด้วยกัน (ไหหม่า, นกเตน, ไห่ถาง, เนสาด, นาลแก)

2. ความไม่พร้อมทั้งในส่วนของ infrastructure และ การบริหารจัดการ
  • ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่าง ไม่ได้มีการบริหารจัดการปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ช่วงรัฐบาลที่แล้วจึงทำให้อ่างเก็บน้ำหลักๆ เช่น เขื่อนสิริกิต์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำมากถึงจุดวิกฤติของเขื่อนจึงทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำที่เพิ่มเป็นจำนวนมากได้ นอกจากนี้ยังจะต้องมีการระบายน้ำออกเพิ่มอีกด้วย
  • แก้มลิง ในส่วนของพื้นที่รับน้ำนองก็ไม่ได้มีการบริหารจัดการ หรือจัดเตรียมพื้นที่สำหรับรองรับน้ำไว้ ทำให้ไม่สามารถรับน้ำปริมาณมากจากพายุและน้ำที่ระบายออกจากอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ
  • การระบายน้ำ ในส่วนของการบริหารจัดการการระบายน้ำ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธภาพเนื่องการคลองไม่ได้มีการขุดลอกและมีสิ่งกีดขวาง เช่นสิ่งก่อสร้างและผักตบชวา เป็นต้น
  • เครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำ นอกจากจะมีจำนวนไม่เพียงพอแล้ว เครื่องที่ได้มีการติดตั้งไปแล้วยังไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากชำรุดหรือใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ (Full Load)
  • นิคมอุตสาหกรรมและเขตเศรษกิจที่สำคัญ การเตรียมการเพื่อป้องกันน้ำท่วมมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะคันกั้นน้ำรอบนิคมอุตสาหกรรม ที่ไม่ได้ถูกออกแบบไว้เพื่อรองรับน้ำปริมาณมากเช่นปีที่แล้ว

3. การบริหารจัดการขาดการบูรณาการ (มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
  • ขาดการบูรณาการในการบริหารจัดการน้ำ นอกจากจะไม่พร้อมในส่วนของ Infrastructure hardware soft ware แล้ว การบริหารจัดการยังไม่ได้มีการบูรณาการ โดยขอยกตัวอย่างในส่วนของการระบายน้ำ มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทานรับผิดชอบในส่วนของแผนการและแนวทางการระบาย ผู้ว่าราชการจังหวัด (กระทรวงมหาดไทย) ที่ดูแลพื้นที่โดยเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการเจรากับมวลชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำนอกจากนี้ ยังมีในส่วนของกระทรวงคมนาคมที่จะต้องดูแลในส่วนของเส้นทางคมนาคมที่เป็นอุปสรรดต่อการระบายน้ำ ดังนั้นการขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการบริหารจัดการ
  • การพยากรณ์และระบบคลังข้อมูลในส่วนของการพยากรณอากาศเพื่อใช้ในการเตือนภัยและช่วยตัดสินใจกำหนดมาตรการการบริหารจัดการน้ำ ส่วนราชการได้มีการดำเนินการอยู่แล้วโดยมีข้อมูลและเครื่องมือค่อนข้างพร้อม ทั้งนี้ ปัญหาหลักคือการขาดการบูรณาการ โดยขอยกตัวอย่างในส่วนของการเตรียมการเชื่อมคลังข้อมูลในการพยากรณ์จะต้องมีการเชื่อมทั้งหมด 12 หน่วยงานประกอบไปด้วย 1. กรมชลประทาน 2. กรมอุตุนิยมวิทยา 3.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 4. กรมทรัพยากรน้ำ  5. กรมอุทกศาสตรของกองทัพเรือ 6. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 7. กรมพัฒนาที่ดิน 8. กรมเจ้าท่า 9. กรมทรัพยากรธรณี 10.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน) 11. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 12. กรุงเทพมหานคร
  • ขาดการสื่อสารกับประชาชนอย่างเป็นเอกภาพ อีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญในช่วงน้ำท่วมปีที่แล้วคือการขาดการสื่อสารต่อพี่น้องประชาชนอย่างเป็นเอกภาพโดย ซึ่งก็เป็นผลต่อเนื่องจากการการขาดการบริหารจัดการแบบบูรณาการของทุกหน่วยงาน หรือขาด Single Command จึงทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความสับสนจากข้อมูลที่มาจาดหลายแล่ง และไม่สามารถเตรียมพร้อมรองรับน้ำท่วมได้ดีเท่าที่ควร
4. ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ
  • ในช่วงที่อยู่ระหว่างภาวะวิกฤติ เป็นช่วงก่อนที่ พ.ร.บ.งบประมาณ 2555 จะประกาศใช้ (8 ก.พ. 55) รัฐบาลไม่สามารถใช้งบประมาณ งบกลาง 120,000 ล้านบาทได้ในช่วงดังกล่าว ทำให้ต้องบริหารจัดการแก้ไขปัญหาโดยใช้งบประมาณ 54 พลางก่อน ในส่วนของงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งเป็นงบประมาณที่ต้องใช้ในการบริหารราชการเรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องอุทกภัยด้วย โดยก่อนที่ พ.ร.บ. จะประกาศใช้ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอุทกภัยไปทั้งสิ้น 74,745.4323 ล้านบาท
  • เนื่องจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ความต้องการงบประมาณเพื่อเยียวยา ฟื้นฟู ซ่อมแซม มีจำนวนมาก (มากกว่า 120,000 ล้านบาท) รัฐบาลจึงได้ใช้กลไกในการเร่งรัดติดตามการดำเนินงาน และเรียกคืนเงินงบประมาณที่เหลือจ่าย หรือคาดว่าจะใช้ไม่ทัน เพื่อนำมาจัดสรรให้กับหน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องในการฟื้นฟูซ่อมแซมและเตรียมการป้องกันอุทกภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้
5. สถานะปัจจุบัน
จากปัญหาที่ได้ประสบในปีที่แล้ว รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อป้องกันและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนให้ทันฤดูน้ำหลาก โดยมีการตั้ง กนอช. / กบอ. / สบอช. เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยทั้งระบบให้เกิดเอกภาพ (Single Command Center)
  • เตรียมรับมือสถานการณ์อุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้น โดย ต้นน้ำ– (ปลูกป่า / หญ้าแฝก / สร้างฝาย / บริหารจัดการน้ำในเขื่อน) กลางน้ำ (จัดหาพื้นที่รองรับน้ำ 2 ล้านไร่/ ขุดลอกแก้มลิง / สร้างอาคาร บังคับน้ำ) และ ปลายน้ำ
  • ป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ โดยการสร้างและเสริมคันกั้นน้ำปิดล้อม 3 ชั้น
  • เร่งระบายน้ำ ออกทาง 2 ฝั่ง ตะวันออกและตะวันตก และแนวดิ่ง โดยการเร่งรัดการขุดลอกคูคลอง ซ่อมแซมประตูระบายน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ
  • การบูรณาการคลังข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ประมวลข้อมูล การแจ้งเตือนภัย โดย จัดทำ website 3 Tier (T1 – ประชาชน / สื่อ , T2 – ผู้บริหาร / พื้นที่ , T3 – เทคนิค)
  • เตรียมจัดงานแถลงข่าว + นิทรรศการเรื่องน้ำในช่วงเดือนสิงหาคมนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น